10 June 2009

เทคนิคทางภาษาสำหรับนักจัดรายการวิทยุ

โดย นายซูฮัยมีย์ อาแว นักจัดรายการ ผู้ประกาศ หรือผู้ดำเนินรายการวิทยุมีหน้าที่ถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึกจากบท จากความนึกคิดที่มีอยู่ให้ไปถึงผู้ฟังด้วยภาษา และน้ำเสียงที่ดี ถูกต้อง ไพเราะและมีเสน่ห์ที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อการสื่อสารที่ดี และมีประสิทธิภาพ งานท้าทายของผู้ประกาศหรือผู้ดำเนินรายการ คือ การพูดตามบท หรืออ่านบทออกมาให้มีประสิทธิภาพที่สุดโดยเฉพาะบทที่ผู้อื่นเขียน นักจัดรายการ ผู้ประกาศหรือผู้ดำเนินรายการจะเป็นตัวกลางเชื่อมในการสื่อสารจากผู้เขียนไปยังผู้ฟัง โดยการโยงความคิดของผู้เขียนไปสู่ผู้ฟัง เสมือนกับนักจัดรายการกำลังสนทนาอย่างใกล้ชิดกับผู้ฟัง ใช้ความสามารถทุกอย่างเพื่อดึงดูดผู้ฟังให้คงอยู่สนทนาหรือตั้งใจฟังรายการจนจบรายการ เทคนิคในการสื่อสารที่สำคัญประการหนึ่งคือ การสื่อสารด้วยภาษาให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด สามารถเข้าใจได้ง่าย และตรงประเด็นที่สุด ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยภาษาใดก็ตาม แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการตลอดรายการ นักจัดรายการสามารถสอดแทรกมุกหรือลูกเล่นได้ในบางช่วงเวลาที่เห็นสมควรแต่ไม่ควรมากจนทำให้หมดความน่าเชื่อถือ ภาษาที่เป็นที่นิยมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา คือภาษามลายู แม้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในแง่ของสำเนียงที่ใช้ในแต่ละท้องถิ่น แต่ในบริบททางภาษายังคงเป็นภาษามลายูเช่นเดิม ซึ่งภาษามลายูที่ใช้ในแต่ละท้องถิ่นนั้นมักจะเรียกว่า “ภาษามลายูปัตตานี” การแบ่งคำนิยามระหว่าง “ภาษามลายูปัตตานี” กับ “ภาษามลายูกลาง”ไม่เป็นหลักการที่เป็นแก่นสารทางภาษาแต่อย่างใดไม่ หากเป็นการแบ่งตามความเข้าใจที่ว่าหากเป็นภาษามลายูปัตตานีจะต้องไม่มีตัวสะกด หรือ อาจมีเพียงตัว “ฮ” เท่านั้น เช่น เน๊าะ ตะโม๊ฮฺ ตะปอ ตะเล๊ฮฺ ฯลฯ ซึ่งมักจะพบปัญหามากในการถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือ หรือ เพื่อการเขียนบท และอีกประการหนึ่ง คือเป็นภาษาที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันของแต่ละพื้นที่ และแต่ละระดับความรู้ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะให้ความสำคัญกับวัตถุ -ประสงค์ของการสื่อสาร หรือเน้นความเข้าใจต่อกันมากกว่าความถูกต้องตามรากศัพท์ทางภาษา สำหรับคนที่มีพื้นฐานความรู้ทางสามัญระดับสูง หรืออยู่ในสังคมเมืองมักจะใช้ภาษามลายูผสมผสานเข้ากับภาษาไทยตามที่ตนถนัด ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อผู้ฟังที่อาวุโสในท้องถิ่นที่ขาดพื้นฐาน ความรู้ในภาษาไทยซึ่งผู้ฟังกลุ่มนี้พึ่งพาสื่อวิทยุมากกว่าสื่อโทรทัศน์ ส่วนภาษามลายูกลางนั้นมักจะเชื่อว่าเป็นภาษามาเลเซีย หรือ ภาษาทางการที่ใช้ในตำรับตำราซึ่งคนทั่วไปไม่อาจสื่อสารกันได้นั้น เป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อนและไม่ตรงกับความเป็นจริงมากนัก เพราะกระบวนการทางภาษานั้นมีพลวัตรที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีนักปราชญ์ชาวปัตตานีในศตวรรษที่ 17 นามอุโฆษหลายท่าน เช่น เชคดาวูด อัล-ฟาตอนีย์ เชคอัฮหมัด อัล-ฟาตอนีย์ เป็นผู้ใช้ภาษามลายูได้ดีที่สุด และเป็นต้นแบบของภาษามลายูในแหลมมลายู และหมู่เกาะชวาจนเป็นที่อ้างอิงสำหรับผู้ใช้ภาษามลายูนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “ญะวีย์” ที่เป็นคำในภาษาอาหรับมาจากรากศัพท์ของคำว่า “ชวา” หมายถึงชาวมลายูบนเกาะชวา ซึ่งเกาะชวาเคยเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นแก่ชาวมลายูทั่วทุกภูมิภาคมาก่อน ชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และสิงคโปร์ยอมรับในความเป็นมาตรฐานในภาษามลายูของคนปัตตานีเหล่านี้ว่าถูกต้องทางภาษาศาสตร์ ตำราหลายเล่มยังคงเป็นที่นิยมทั่วโลกซึ่งมีคำว่า“ฟาตอนีย์” ระบุที่มาของผู้เขียนไว้ ชาวปัตตานีใช้ภาษามลายูอันเดียวกันนี้ในการสื่อสารตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน เพียงแต่ปัจจุบันความนิยมที่จะใช้ตำราเก่า ๆ เหล่านั้นมาศึกษามีน้อยลง จึงส่งผลทำให้การอ้าง -อิงทางภาษาเปลี่ยนทิศทางไปตามทิศทางและค่านิยมทางการศึกษา เอกสารการอบรมในครั้งนี้ผู้บรรยายใช้ภาษามลายูที่สามารถสื่อสารกันได้ทุกพื้นที่ เพื่อยกระดับนักจัดรายการขึ้นสู่ความเป็นสากลมากขึ้น เป็นนักจัดรายการที่สามารถเขียน หรืออ่านบทได้ถูกต้องตามมาตรฐานของภาษามลายูสากล ความรู้ความสามารถที่พึงมีของนักจัดรายการ 1) คำศัพท์ทางเทคนิค และคำศัพท์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ดังตัวอย่าง 1.1) การใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 แทนผู้พูด นักจัดรายการสามารถใช้คำที่เหมาะสมเช่น Saya , Hamba 1.2) การใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 แทนผู้ฟัง นักจัดรายการสามารถใช้คำที่เหมาะสมเช่น Saudara Saudari, Tuana Puan, Pakcik Makcik, Ayah Ibu … 1.3) การแนะนำรายการ หัวข้อสนทนา และผู้ร่วมสนทนา เช่น Sekarang jam 8.00 Malam , Sila ikuti rancangan “Jendela Masyarakat” bersama saya Ustaz Haiji Suhaimi Bin Ismail. Perbincangan kali ini kita akan tumpu kepada Permasalahan anak muda didalam bangku sekolah. Bersama kita pada malam ini tokoh motivasi terkenal Ust.Haji. Muhammad Benjar dari Maahad Nahdhatul Ulum Yala. 2) การพูด หรือการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องตามอักขระ เนื่องจากการพูดในรายการเป็นการสื่อสารทางเดียว โดยที่ผู้ฟังไม่สามารถมองเห็นหน้าตาของผู้พูด เพราะฉะนั้น การออกเสียงต้องชัดถ้อยชัดคำ สามารถสื่อความหมายได้ทันที ไม่ก้ำกวม สองแง่สองง่าม เช่น (1.) waktu dinihari cerah sama-sama ramai orang suka makan pulut sama (salah yang betul samar-samar , pulut sambal) 3). ความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ เพื่อสื่อถึงความนึกคิด และความหมายของคำพูด 4). ขยันใฝ่หาความรู้ หรือค้นหาศัพท์ใหม่ ๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ อย่างละเอียดทั้งในทางบวกและลบ เพื่อสามารถเปรียบเทียบแง่คิดต่าง ๆ ได้ ติดตามเหตุการณ์รอบตัวอยู่เสมอ 5). มีความเข้าใจงานวิทยุกระจายเสียง รูปแบบ ประเภทของรายการได้อย่างดี 6). มีความสามารถ เข้าใจในเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานพอสมควร ก่อนที่จะถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ต้องเข้าใจถึงจุดประสงค์ของงานที่จะถ่ายทอดเป็นอันดับแรก ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง 1. ส่วนหัว (Heading) Bahagian Kepala Rancangan ประกอบด้วย จิงเกิ้ลรายการ Jingle ชื่อรายการคือ Nama rancangan หรือชื่อเรื่อง / ตอน Tajuk / Babak , Bahagian สถานีที่ออกอากาศ Nama stesyen ความถี่ Gelombang (FM.102.5 MHz.) วัน- เวลาที่ออกอากาศ Hari dan Masa 2. ส่วนเนื้อหา (Body) Isi Kandungan เป็นรายละเอียดของเนื้อหา เรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับ รายการ เรื่อง หรือตอนที่นำเสนอ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ผู้จัดรายการจะอธิบายให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจ โดยทั่วไปมักจะประกอบด้วย ความหมายและความสำคัญ Takrif dan keutamaannya ชนิด หรือ ประเภท Jenis ลักษณะ Bentuk จำนวน Jumlah รายละเอียด Keterangan 3. ส่วนปิดท้าย (Closing or Conclusion) Penutup เป็นส่วนสรุปเนื้อหาที่ได้กล่าว มาในเนื้อหาของรายการ โดยนำใจความสำคัญอย่างย่อมาสรุปให้ผู้ฟังได้เข้าใจมากขึ้น และขอบคุณผู้ร่วมรายการตลอดจนผู้ติดตามรับฟังรายการ Saudara pendengar yang dikasihi, secara umumnya kita dapati bahawa tahap pencapaian anak – anak kita dalam persekolahan berbeda, mengikut latar belakang dan kedudukan keluarga masing-masing.Bagi keluarga berkemampuan dan masyarakat bandar tahap pencapaian mereka melebihi daripada keluarga kurang upaya dan masyarakat desa. Dengan demikian, Ibu bapa harus meneliti perkara-perkara seperti demikian demi perkara seperti itu tidak berlaku kalangan masyarakat kita. Demikianlah perbincamg kita pada kali ini, sehingga bertemu kembali mingu hadapan pada hari dan masa yang sama .Selamat tinggal. Assalamu alaikum Warahmatullahi Wabarakatuh. ข้อแนะนำการใช้ภาษาเพื่อการเขียนบททางสื่อวิทยุกระจายเสียง 1. เขียนบทด้วยภาษาสนทนาหรือพูดคุยกันแต่ต้องสื่อความหมายให้ชัดเจน 2. ใช้คำที่ผู้ฟังคุ้นเคย เมื่อฟังแล้วเข้าใจและเกิดภาพพจน์ที่ชัดเจน 3. ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ยืดยาว ไม่วกวน ชัดเจน เข้าใจได้ทันที 4. เลี่ยงประโยคยาว ๆ ที่เต็มไปด้วยคำคุณศัพท์หรือคำเชื่อมต่าง ๆ เพราะทำให้ประโยคเยิ่นเย้อ จนไม่รู้ว่าความสำคัญของประโยคนั้นอยู่ตรงไหน 5. ใช้ประโยคบอกเล่าให้มากกว่าประโยคปฏิเสธ 6. เลี่ยงการใช้คำที่มีเสียงทำให้ลิ้นพันกันเวลาเปล่งเสียง เช่น คำที่มีเสียงคล้ายกัน คำซ้ำในประโยคเดียวกัน คำที่มีอักษรซ้ำกันหรือการเล่นคำอื่น ๆ 7. ใช้ภาษาที่บรรยายให้เกิดภาพหรือจินตนาการ เช่น การบอกลำดับขั้นตอนว่าอะไรก่อนอะไรหลัง การบอกสีสันการบอกตำแหน่ง การใช้ภาษาเปรียบเทียบ เป็นต้น 8. ประโยคแต่ละประโยค ควรมีแนวความคิดเดียว ควรเป็นประโยคสั้น ๆ มีความหมายจบในประโยคนั้นและให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ เมื่อขึ้นประเด็นหรือเนื้อหาใหม่ การย่อหน้า คือ การแสดงให้ทราบว่า ความคิดสำคัญหรือตอนใหม่กำลังเริ่มขึ้น ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ต้องพูดถึงเรื่อง ๆ เดียวเท่านั้น 9. อย่ายัดเยียดความคิดมากเกินไป 10. ควรยกตัวอย่างประกอบความคิดให้เห็นอย่างชัดเจน 11. ย้ำความคิดสำคัญได้บ่อย ๆ โดยใช้การพูดที่ไม่ซ้ำกัน 12. คำเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นกันเอง สามารถแทรกลงในการเขียนได้บ้าง เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ จะช่วยให้บทรื่นหูชวนฟังมากขึ้น เช่น คำว่า Nah ,Deh เหมือนกับคำว่า นะคะ นะครับ ในภาษาไทยแต่อย่าให้มากเกินไป 13. จัดวรรคตอนให้ดี ( ภาษาไทยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน ) 14. ถ้าต้องกล่าวถึงตัวเลขให้ใช้ตัวเลขโดยประมาณ เช่น 995 บาท ใช้ว่าประมาณ 1,000 บาทหรือ 1,968,590 บาทใช้ว่าประมาณ 2 ล้านบาท ถ้าตัวเลขมีความสำคัญและมีจำนวนมาก ควรวงเล็บคำอ่านไว้ด้วย เช่น หนึ่ง - ล้าน –เก้า - แสน - หก - หมื่น - แปด - พัน - ห้า - ร้อย - เก้า - สิบ – บาท 15. อย่าใช้คำย่อ ให้ใช้คำเต็ม ( ยกเว้นคำที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ) เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการอ่าน การฟังที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ( สำหรับชื่อย่อหน่วยงานราชการไทย แนะนำให้ใช้คำเต็ม แม้จะเป็นคำที่รู้จัก กันดีแล้วก็ตาม ) 16. อย่าใช้คำที่ไม่จำเป็นหรือคำฟุ่มเฟือยที่ไม่ได้สื่อความหมายอะไรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 17. คำที่อ่านยาก ชื่อเฉพาะ ต้องวงเล็บคำอ่านไว้ให้ชัดเจน เช่น มณีชลขัณฑ์ ( มะ- นี - ชน - ละ- ขัน )แม่แปรก ( แม่ - ปะ - แหรก ) 18. การยกข้อความหรือคำพูดของผู้อื่นมา ควรเขียนให้ชัดเจนว่า คำพูดที่ยกมานั้นเป็นคำพูดของใคร พูดอะไร โดยเปลี่ยนสรรพนามจากบุรุษที่ 1 เป็นบุรุษที่ 3 แล้วเรียบเรียงประโยคใหม่ 19. บทสำหรับการพูดเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ได้แก่ ร้องไห้ รำคาญ โกรธ ควรวงเล็บไว้ ให้ผู้พูดเปล่งเสียงและแสดงความรู้สึกได้ถูกต้อง การแสดงอารมณ์ การเปล่งเสียง การเน้น การทอดเสียง การกระแทกเสียงเหล่านี้แตกต่างกัน ผู้เขียนบทต้องระบุไว้ด้วย 20. การใช้เครื่องหมายในบท มีข้อแนะนำดังนี้ - จุดไข่ปลา (...........) ใช้เมื่อต้องการให้พูดทอดเสียงแล้วหยุด - การขีดเส้นใต้เฉพาะคำหรือข้อความ ใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้นหรือย้ำคำหรือข้อความ - เครื่องหมายขีดคั่น ( / ) ใช้เพื่อต้องการให้เห็นการแยกความออกจากกัน โดยเวลาอ่านหรือพูดตามบทให้หยุดเว้นวรรคเล็กน้อย

1 comment:

ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda