12 November 2010

ผลวิจัยปี 52 พบคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 94 นาทีต่อวัน

จุฬาฯ 12 พ.ย.- คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ทีเคปาร์ค เผยผลวิจัยการอ่านของคนไทยปี 2552 พบว่าเฉลี่ยอ่าน 94 นาทีต่อวัน เป็นเด็กและเยาวชน อาชีพข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ อ่านมากที่สุด ขณะที่อายุ 49 ปีขึ้นไป อาชีพภิกษุ แม่บ้าน ทหารเกณฑ์ อ่านน้อยที่สุด ด้าน "สมพงษ์ จิตระดับ" ระบุผลวิจัยนี้ตอบโต้ข้อมูลเดิมระบุคนไทยอ่าน 8 บรรทัดต่อปี รศ.ดร.วรรณี แกมเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัยและคณะ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง "การศึกษาสถานการณ์การอ่านและดัชนีการอ่านของคนไทยปี 2552" จัดโดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ค) ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ พบว่า สถานการณ์การอ่านของคนไทย จากการวิเคราะห์สอบถามกลุ่มตัวอย่าง 5,865 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อย 156 คน และศึกษากรณีผู้ที่มีนิสัยการอ่านสุดโต่งทั้งกลุ่มที่ชอบอ่านและไม่ชอบอ่านอีก 191 คน ครอบคลุม 13 จังหวัด ทุกภูมิภาคของไทยพบสถิติสะท้อนพฤติกรรมการอ่านของคนไทยระบุว่า คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 94 นาทีต่อวัน โดยเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างในการอ่านมากที่สุด ขณะที่คนอายุ 49 ปีขึ้นไป ใช้เวลาว่างอ่านน้อยที่สุด อาชีพข้าราชการใช้เวลาว่างอ่านหนังสือมากที่สุด ส่วนอาชีพอื่นๆ เช่น ภิกษุ แม่บ้าน ทหารเกณฑ์ใช้เวลาว่างอ่านน้อยที่สุด ด้านที่ตั้งของถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกันพบว่า ผู้ที่อยู่ในเขตเมืองมีดัชนีการอ่านที่มากกว่าผู้ที่อยู่ในเขตนอกเมือง ส่วนเด็กและเยาวชนที่ไม่อ่านหนังสือมีสาเหตุจากความขี้เกียจ แม้จะมีหนังสือสถานที่ให้อ่านก็ไม่อยากอ่าน รายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างบางส่วนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเลย จนถึงอ่านทุกวัน โดยเฉลี่ยอ่านประมาณ 4 วันต่อสัปดาห์ ที่อายุน้อย กว่า 20 ปีอ่านน้อยที่สุด เฉลี่ยประมาณ 3-4 วันต่อสัปดาห์ การศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีอ่านมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 5-6 วันต่อสัปดาห์ ส่วนระดับประถมศึกษาน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 3-4 วันต่อสัปดาห์ อาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน มีจำนวนเรื่องที่อ่านใน 1 สัปดาห์มากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์ ส่วนอาชีพ รับจ้าง และเกษตรกรน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาในการอ่านเฉลี่ยต่อวันอยู่ระหว่าง 0-18 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1.568 ชั่วโมงต่อวัน หรือประมาณ 94นาทีต่อวัน อายุน้อยกว่า 20 ปีมีเวลาในการอ่านเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 115 นาทีต่อวัน ส่วนอายุมากกว่า 49 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 75 นาทีต่อวัน การศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีมีเวลาในการอ่านเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 116 นาทีต่อวัน ส่วนระดับประถมศึกษาน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 76 นาทีต่อวัน อาชีพนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ว่างงานมีเวลาในการอ่านเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 113 นาทีต่อวัน ส่วนอาชีพ รับจ้าง และเกษตรกรน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 66 นาทีต่อวัน ค่าใช้จ่ายการอ่านมีตั้งแต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการอ่านเลย จนถึง 9,010 บาท โดยเฉลี่ยประมาณ 523 บาท แยกเป็น อายุ 20-29 ปีมีค่าใช้จ่ายในการอ่านต่อเดือนมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 589 บาท ส่วนอายุมากกว่า 49 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 426 บาท การศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีมีค่าใช้จ่ายในการอ่านต่อเดือนมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 1,015 บาท ส่วนระดับประถมศึกษาน้อยที่สุดเฉลี่ย 287 บาท อาชีพรับราชการมีค่าใช้จ่ายในการอ่านต่อเดือนมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ 670 บาท ส่วนอาชีพ รับจ้าง และเกษตรกรน้อยที่สุดเฉลี่ยประมาณ 301 บาท เมื่อพิจารณาถึงการอ่านคล่องหรือไม่พบว่า อายุมากกว่า 49 ปีขึ้นไปมีความคล่องแคล่วในการอ่านน้อยที่สุด การศึกษาระดับประถมมีความคล่องแคล่วในการอ่านน้อยที่สุด อาชีพ รับจ้าง เกษตรกร ภิกษุ แม่บ้าน และทหารเกณฑ์มีความคล่องแคล่วในการอ่านน้อยที่สุด รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงผลการวิจัยครั้งนี้ว่า ผลวิจัยที่พบว่าการอ่านของคนไทยต่อวัน 94 นาที เป็นประโยชน์และท้าทายและตอบโต้ข้อมูลเดิมที่มีข้อมูลว่าคนไทยอ่านเฉลี่ย 8 บรรทัดต่อปี ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่การกระตุ้นเชิงนโยบาย ถ้าปีต่อไปทำงานวิจัยนี้ต่อ แต่เน้นเชิงคุณภาพและรายละเอียดมากกว่านี้ เราจะได้สถานการณ์การอ่านของคนไทยที่ชัดเจนขึ้น เช่น ความสามารถอ่านคล่องหรือไม่คล่องจะสะท้อนถึงนโยบายการเรียนการสอน.-สำนักข่าวไทย

10 November 2010

Dari Mana Asal Kerudung Michelle Obama?

Ibu Negera Michelle Obama tampak mengenakan kerudung(Tudung)saat mengunjungi Masjid Istiqlal, Jakarta, Rabu (10/11/2010). Laporan Wartawan Tribunnews.com, Willy Widianto JAKARTA, KOMPAS.com — Tak hanya Presiden Amerika Serikat (AS) Barack Obama yang mampu menyedot perhatian publik dalam kunjungan singkatnya di Indonesia. Istrinya, Michelle Obama, pun dengan cerdas melalui penampilannya berhasil mencuri perhatian besar warga Indonesia. Michelle yang saat tiba di Indonesia mengenakan long dress warna coklat tua pada kunjungan ke Masjid Istiqlal membuat kejutan. Penampilannya dengan blazer dipadu celana panjang warna hijau sebenarnya penampilan biasa bagi ibu negara. Namun yang mengejutkan, Michelle ternyata menambahkan kerudung motif hitam-putih untuk menutupi rambutnya selama berkunjung ke Masjid Istiqlal mendampingi suaminya. Kerudung Michelle pun langsung menjadi perbincangan hangat di situs mikrobloging, Twitter. Tweeps atau pengguna Twitter ada yang menyebut, Michele diberi kerudung saat masuk ke Istiqlal. Ternyata dugaan itu meleset. Imam Besar Masjid Istiqlal Ali Mustafa Yaqub yang mendampingi Obama-Michelle berkunjung ke Istiqlal mengatakan bahwa, begitu turun dari mobil, Michelle sudah memakai kerudung. Artinya, kerudung tersebut mungkin sudah dipersiapkan Michelle sebelum rombongannya masuk ke Istiqlal. "Sejak di mobil, (Michelle) sudah berpakaian seperti itu (berkerudung)," ujar Ali Mustafa saat ditemui di Masjid Istiqlal, Jakarta, Rabu (10/11/2010), seusai menerima kunjungan tersebut. Menurut Ali, ia juga menduga bahwa first lady Amerika Serikat tersebut sudah menutup auratnya dengan kerudung sejak meninggalkan Hotel Shangri-La, tempat ia menginap. Dalam kunjungan selama 15 menit tersebut, Obama dan Michelle melihat-lihat masjid terbesar di Asia Tenggara itu, berikut beduk besar yang dimiliki Istiqlal. Seusai berkunjung ke Istiqlal, Michelle langsung menuju Bandara Halim Perdana Kusuma dan terbang ke Washington. Adapun Obama memberikan kuliah umum di Universitas Indonesia. Sumber: Tribunnews.com

ศธ.เพิ่มยุทธศาสตร์กศ.ชายแดนภาคใต้

นายกมล รอดคล้าย รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปีนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาชายแดนภาคใต้ โดยมีตนเป็นประธานคณะกรรมการ มีผู้ตรวจราชการกระทรวงเป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และมีสำนักบริหารยุทธศาสตร์ที่ 12 จังหวัดยะลา เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยศธ.ได้กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายขึ้นมาใหม่จากเดิม 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.การพัฒนาคุณภาพ 2.โอกาสทางการศึกษา 3.การศาสนศึกษา หรืออิสลามศึกษา 4.การศึกษาเพื่อการมีอาชีพ และการมีงานทำ และ 5.การบริหารจัดการ โดยยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นใหม่มีดังต่อไปนี้ 1.การเพิ่มผลการสอบโอเน็ต ขึ้นร้อยละ 2 ซึ่งปีที่แล้วเราทำไม่สำเร็จ 2.ทำให้คนพูดภาษาไทยชัดเจนขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 60 3.ให้เด็กที่ตกหล่นทางการศึกษา ได้ศึกษาต่อในการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9,500 คน 4.จัดสอบไอเน็ต หรืออิสลามศึกษา โดยจะสอบทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง 5.สร้างโรงเรียนปอเนาะต้นแบบให้ครบจำนวน 48 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา 6.เปิดการสอนอิสลามแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐจำนวน 350 โรงเรียน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะทำโรงเรียนดีประจำตำบลให้ครบทุกตำบล 7.จัดชุมนุมลูกเสือมุสลิม โดยจะจัดเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียงกันทั้งมาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย เพื่อตอบสนองการสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี 8.ให้เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้พูดได้ 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ส่วนที่เหลือจะเป็นภาษามลายูกลาง อาหรับ จีน หรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ตรงนี้เป็นจุดเด่นของภาคใต้ คือจะให้เด็กพูดภาษาอาเซียนได้ คาดว่าในสามจังหวัดชายแดนใต้น่าจะทำได้ เพราะเด็กพูดภาษาที่สามได้อยู่แล้ว 9.การฝึกอาชีพในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เพื่อที่จะให้เด็กมีมาตรฐานอาชีพในระดับสากลโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากเด็กมีมาตรฐานอาชีพที่สูงขึ้นก็จะมีรายได้ที่สูงขึ้นตามไปด้วย

08 November 2010

Banjir Kg.Dato,Pattani:Rumah tinggal pelapit

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته "Malam itu saya tengah sembahyang magrib di rumah hujan lebat,didalam rumah saya berada bersama suami,air dan angin sangat kuat dibawah rumah air sampai dekat dada, ngeri sekali,belum pernah melihat lagi dalam hidup saya mujur cucu sempat bawa perahu membawa keluar menumpang ruang masjid diluar sana.Dua hari kemudian kembali semula hampir pingsan tinggal hanya beberapa keping bata bersama papan beberapa keping sekadar boleh duduk bahan kegunaan serta pakaian semua sapu bersih,saya ingin menyimpan rumah sekadar dapat berteduh sahaja" Tangisan Pn.Yoh Mat Ding,60 Thn. penduduk Kg.Dato' Daerah Yaring(Jamu)Wilayah Pattani yg.kehilang tempat tinggal dan harta hampir semuanya akibat bencana taufan maut depresyen pada 1 Nov.10 lalu. “คืนนั้นฉันกำลังละหมาดมักริบอยู่ที่บ้าน ฝนตกหนัก ในบ้านอยู่กันสองคนกับสามี น้ำและลมมาเร็วมาก บ้านมีใต้ถุนแต่น้ำเกือบถึงอก น่ากลัวมาก เกิดมาไม่เคยเห็น ดีที่หลานเอาเรือมารับทัน ต้องหนีไปอยู่ที่มัสยิดข้างนอก อีกสองวันเข้ามาดูบ้านแทบเป็นลม เหลือหลังคาไม่กี่แผ่นกับไม้กระดานในบ้านพอนั่งได้ ของใช้และเสื้อผ้าเสียหายหมด ฉันอยากให้ช่วยซ่อมแซมบ้านให้พออยู่ได้ก็พอแล้ว” เป็นเสียงเล่าปนสะอื้นย้อนถึงนาทีชีวิตของ เยาะ มะดิง คุณป้าวัย 60 ปี ชาวบ้านดาโต๊ะ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ที่ต้องสูญเสียบ้านและทรัพย์สินจนเกือบสิ้นเนื้อประดาตัวจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นมฤตยูเมื่อคืนวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา เยาะในวัย 60 ยังต้องดูแลสามีที่ชรากว่านางถึง 10 ปี และป่วยเป็นโรคปวดข้อเข่าจนทำงานไม่ได้ เมื่อต้องมาเผชิญกับวิกกฤติจากภัยธรรมชาติซ้ำเติมอีกเช่นนี้ ทำให้อาการของเขาทรุดลงไปอีก และยังต้องนอนอยู่บนไม้กระดานในบ้านที่แทบไม่เหลือความเป็นบ้าน เพราะมีแต่โครงไม้กับหลังคาอีกไม่กี่แผ่น ทั้งคู่ปฏิเสธที่จะไปอาศัยนอนที่โรงเรียนตาดีกาประจำหมู่บ้าน เพราะมีเพื่อนบ้านอาศัยอยู่กันแออัดแล้ว หนึ่งสัปดาห์แห่งความโศกเศร้าและความสูญเสียจากภัยธรรมชาติที่กระหน่ำเข้าใส่บ้านดาโต๊ะ ถึงวันนี้ยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็น แม้จะมีพี่น้องประชาชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนับพันเข้าไปช่วยเหลือ ให้กำลังใจ และบริจาคสิ่งของที่ขาดแคลน แต่ซากบ้านเรือนที่พังทลายยังคงตอกย้ำความรู้สึกลึกๆ ในใจของชาวบ้านดาโต๊ะทุกคน และน้ำยังคงท่วมขังอยู่อีกหลายแห่ง แวนีซะ สุหลง บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ซึ่งเป็นลูกหลานชาวดาโต๊ะอีกคนที่ครอบครัวของเธอต้องรับความเสียหายจากพายุฝนและคลื่นลมที่พัดกระหน่ำ เธอเล่าว่าบ้านของเธอเหลือแต่หลังคาไม่กี่แผ่นเหมือนกัน ส่วนทรัพย์สินอย่างอื่นไม่มีเหลือ ต้องไปอาศัยบ้านญาติเป็นที่หลับนอน ส่วนอาหารก็อาศัยจากโรงเรียนตาดีกาของชุมชน “ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน มันทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ เห็นสภาพบ้าน สภาพตัวเองและเพื่อนบ้านที่เดือดร้อนทีไรช้ำใจทุกที ดีที่มีหน่วยงานต่างๆ และผู้ใจบุญบริจาคอาหาร น้ำดื่ม และเสื้อผ้ามาให้จำนวนมาก เพราะพวกเราไม่เหลืออะไรติดตัวกันเลย หยิบจับอะไรออกมาไม่ทัน เรื่องอาหารและน้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ควรมีการบริหารจัดการในชุมชนให้ดีกว่านี้ ความช่วยเหลือจะได้ถึงมือผู้เดือดร้อนทุกคนอย่างทั่วถึง” แวนีซะ กล่าว

Banjir Kedah

PASANGAN pengantin baru, Noor Asrolizham Zakaria membawa isterinya Zuhainy Zulkifli dengan kereta sorong meredah banjir pada majlis perkahwinan mereka semalam di Langgar, Alor Setar, ketika Kedah dilanda banjir besar. - Foto Ramdzan Masiam Nov 7, 2010 9:12 am