27 November 2010

600,000 mati akibat asap rokok

PARIS 26 Nov. - Hampir 600,000 orang yang tidak merokok, dengan satu pertiga daripada mereka kanak-kanak, meninggal dunia setiap tahun akibat menyedut asap rokok daripada mereka yang mengamalkan tabiat itu. Angka itu diperolehi daripada kajian pertama yang diadakan di seluruh dunia mengenai kesan asap rokok ke atas golongan bukan perokok. Berlainan dengan penyakit 'gaya hidup' yang banyak berpunca daripada pilihan individu, mangsa yang dikenali sebagai perokok pasif itu menanggung akibat daripada tabiat merosakkan kesihatan yang diamalkan oleh orang lain, terutamanya ahli keluarga. Di kalangan bukan perokok di seluruh dunia, 40 peratus kanak-kanak, 35 peratus wanita dan 33 peratus lelaki terdedah kepada asap rokok pada 2004, tahun terakhir di mana data boleh didapati di kesemua 192 negara yang terlibat dalam kajian itu. Apabila ditambah kepada 5.1 juta kematian melibatkan perokok aktif, jumlah kematian akibat amalan merokok bagi 2004 melebihi 5.7 juta orang di seluruh dunia, menurut kajian itu. Hampir separuh daripada bilangan perokok pasif yang maut adalah wanita, manakala selebihnya terdiri daripada kanak-kanak dan lelaki dalam bilangan yang hampir sama, menurut kajian yang disiarkan hari ini dalam jurnal perubatan Britain, The Lancet. Kira-kira 60 peratus kematian itu disebabkan penyakit jantung, manakala 30 peratus lagi akibat jangkitan paru-paru, dan bakinya disebabkan asma dan kanser paru-paru. Keseluruhannya, kematian akibat menjadi perokok pasif menyamai satu peratus daripada kematian di seluruh dunia pada 2004. Kematian orang dewasa akibat menyedut asap rokok orang lain adalah hampir sama di semua negara tidak kira negara miskin atau kaya. Namun bagi kanak-kanak, kemiskinan menjadikan keadaan bertambah buruk, menurut kajian itu. Misalnya di Eropah yang berpendapatan tinggi, nisbah kematian orang dewasa berbanding kanak-kanak adalah sebanyak 35,388 berbanding 71. Nisbah di Afrika hampir terbalik iaitu 9,514 kematian orang dewasa berbanding 43,375 kematian kanak-kanak. - AFP

23 November 2010

ยุคเสื่อมจริยธรรม นักการเมืองความน่าเชื่อถือตกต่ำที่สุด คนจะฟังกลุ่มเสื้อเหลืองเสื้อแดงมากกว่า

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้จัดงาน “สัปดาห์ส่งเสริมจริยธรรมแห่งชาติ ประจำปี 2553 ” โดยมีการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ฟื้นจริยธรรม ทางออกของสังคมไทย” เพื่อมุ่งเน้นให้สังคมไทยตื่นตัวกับคำว่าจริยธรรม ที่กำลังเสื่อมโทรมในสังคมไทย เมื่อสังคมประสบวิกฤตรอบด้าน วันนี้ ทุกภาคส่วนเรียกหา ”จริยธรรม” เพื่อหวังหาทางออก !!! ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน นักวิชาการรัฐศาสตร์ และราชบัณฑิต กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้จริยธรรมในสังคมตกต่ำ เกิดจากระเบียบการเมืองระดับโครงสร้างนั้นมีปัญหา นักปรัชญาโบราณ เคยกล่าวไว้ว่าในสังคมที่สงบสุขนั้นต้องมีเสรีภาพ สังคมจะมีความเป็นปึกแผ่น แต่หากสังคมไม่มีเสรีภาพ ก็จะไม่มีความเสมอภาค และสุดท้ายจะไม่มีความเป็นหนึ่งเดียว ที่ใดที่ไม่มีภราดรภาพอย่าหวังจะมีอะไรที่ทำตามกฎเกณฑ์ คนทำชั่วจะได้ดี แต่คนทำดีไม่ได้ดี จึงเป็นที่มาของ ความแตกแยกในสังคม หาความสามัคคีไม่ได้ ที่มีการพูดกันมากคือนิติรัฐหรือ Rule of Law นั้นไม่ใช่แค่ทุกคนต้องเคารพกฎหมายเท่านั้น แต่กฎหมายนั้นต้องถูกสร้างด้วยความชอบธรรมด้วย เมื่อไหร่ที่กระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวสังคมจะอยู่อย่างลำบาก ปัญหาด้านจริยธรรมเกิดขึ้นเพราะระเบียบการเมืองเกิดความสับสน แม้แต่ระบบประชาธิปไตยในวันข้างหน้าของไทย ยังไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด " วันนี้โครงสร้างการเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสังคมเกิดวิกฤตจริยธรรม มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมมหาศาล ในสายตาประชาชนนักการเมืองมีความน่าเชื่อถือตกต่ำที่สุด การประชุมรัฐสภาที่จะเกิดขึ้นจะไม่มีใครฟัง ไม่มีใครไปทำให้ความเชื่อถือตกต่ำ แต่นักการเมืองทำตัวกันเอง คนจะฟังกลุ่มเสื้อเหลืองเสื้อแดงมากกว่า ขณะเดียวกันองค์กรทางการเมืองอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็เสื่อมลงทั้งหลักการและ จริยธรรม ถ้าแก้ในจุดที่เป็นโครงสร้างการเมืองไม่ได้ก็ไม่อาจสร้างจริยธรรมในสังคม ได้” ดร.ลิขิต กล่าว นายณรงค์ โชควัฒนา นักวิชาการและนักธุรกิจอิสระ กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับจริยธรรมสังคมตกต่ำ มาจากนักการเมืองผู้มีอำนาจ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ ออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายขาดจริยธรรม เป็นวิกฤตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผู้มีอำนาจต้องเป็นคนที่เข้ามาแก้ไขปัญหา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่แก้ไขแล้วยังสร้างปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งคนของตัวเองได้เป็นใหญ่ข้ามหัวคนดี ทำให้ ข้าราชการดีๆหมดกำลังใจ ไม่คิดทำงานเพื่อประเทศชาติ มุ่งแต่รับใช้คนที่มีอำนาจ ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอธิปไตยต้องลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศ อย่าเป็นเจ้าของแค่ไม่กี่วินาทีตอนหย่อนบัตรเลือกตั้ง แม้แต่ประเทศอินเดียซึ่งมีคนจนมากกว่า ชาวอินเดียไปรับเงินแต่ไม่เลือกเพราะเขาสามารถแยกแยะออกได้ระหว่างบุญคุณส่วนตัวกับเรื่องประเทศ แต่คนไทยยังมองว่าเป็นเรื่องบุญคุณเมื่อนักการเมืองให้เงินมาต้องไปกากบาทให้เขาเป็นการตอบแทน แต่ไม่รู้ว่ากำลังยกบ้านเมืองให้นักการเมืองไปโกงกิน รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ประธานศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม กล่าวว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้ระดับจริยธรรมในสังคมตกต่ำลง ซึ่งทำให้มีคนเห็นแก่ตัวมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการถูกหล่อหลอมประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมายาวนาน โดยผ่านคำพังเพยต่างๆ เช่น ให้เอาหูไปนา หรือรู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี คำกล่าวเหล่านี้ล้วนสอนให้คนไม่สนใจสังคม ไม่ยุ่งกับคนอื่นเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่นเป็นเรื่องไม่สำคัญ การห่างไกลจากสถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัว ทำให้เยาวชนห่างไกลจากการถูกปลูกฝังจริยธรรมที่ดี นอกจากนี้สื่อมวลชนเอง มีส่วนทำให้จริยธรรมของคนในสังคมตกต่ำลง เมื่อเด็กในยุคนี้ไม่สนใจความเป็นไปของสังคมก็จะจับกลุ่มพูดคุยแต่กับเพื่อนตัวเองในโลกโซเชียลมีเดีย เมื่อมีคนที่ไม่ใส่ใจความทุกข์ร้อนของสังคมมากเข้าสังคมนี้ก็กลายเป็นสังคม ที่ป่วย “สังคมกรุงเทพ วันนี้ เหมือนเครื่องบินที่บินไปโดยไม่มีเรดาห์ หรือเรือที่ไม่มีหางเสือ ผู้โดยสารที่อยู่ในสังคมก็เดินทางไปเรื่อยๆไม่รู้ว่าจุดหมายอยู่ตรงไหน คนดีในสังคมไทยกลายเป็นคนแปลกประหลาด ไม่มีพื้นที่จะยืนเพราะไม่รวย ไม่ดัง ไม่มีตำแหน่งสูงเท่าคนไม่ดีที่มีข่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์ มันกลับตาลปัตรกันหมด จริยธรรมคุณธรรมเป็นเรื่องถูกเบียดไปอยู่ชายขอบ” รศ.จุรี กล่าว นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร บรรณาธิการอำนวยการ บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าจริยธรรมต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา ซึ่งเราทุกคนรู้ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและรู้ทางออกอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้ที่สังคมไทยยังเกิดปัญหามากมาย เพราะทุกคนไม่นำเอาไปปฎิบัติอย่างถูกวิธี ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ทำให้คุณธรรม จริยธรรมของสังคมเสื่อมโทรมลง การปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมต้องยึดมั่นนำไปปฎิบัติ สังคมไทยเกิดเหตุการณ์ร้ายๆซ้ำซาก ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในการฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ถูกทำลาย ให้รู้จักคำว่าคุณธรรม จริยธรรม คงเป็นทางออกที่ดี แต่หากยังไม่มีการพัฒนา มัวแต่คิดเอาตัวรอดฝ่ายเดียว สังคมไทยก็ยิ่งย่ำแย่ลงเรื่อยๆ การปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ต้องเริ่มกระตุ้นสถาบันครอบครัว ก่อนขยายไปสู่สถาบันอื่นๆ เพราะสถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันแรกที่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกและสิ่งดีงามแก่เด็ก เมื่อเราปูทางไว้ดีตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะส่งผลให้สภาพสังคมมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน จากการร่วมฟังสัมมนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 4 ท่าน มีความเห็นตรงกัน ถึงเรื่องจริยธรรมสังคมตกต่ำลง สาเหตุเกิดจากการปลูกฝังของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก ควรปลูกฝังลูกหลานในทางที่ถูกที่ควรเพื่อให้เด็กจำไปจนโต และการที่นักการเมืองใช้อำนาจต่างๆมาลิดรอนความถูกต้องของประชาชน อาจทำให้ประชาชนเกิดการไม่ไว้วางใจรัฐบาลและเคารพกฎหมายบ้านเมือง สังคมเสื่อมลง มีแต่คนเลวที่คดโกงบ้านเมือง คนดีกลายเป็นคนชั่ว คนชั่วกลายเป็นคนดีทำให้สังคมไทยไม่หน้าอยู่อีกต่อไป ฉะนั้นคนไทยทุกคนควรหันมาร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก มติชนออนไลน์