28 September 2009

นิตยสารไทม์: 'อภิสิทธิ์' บุรุษผู้อยู่ระหว่างกลาง (Man in the Middle:TIME)

By Hannah Beech / Bangkok His mates back in newcastle, where he was born, and at Eton, where he was schooled, knew him as Mark, a soccer fanatic who later scored first-class honors at Oxford. Today, Thailand's urbane Prime Minister, Abhisit Vejjajiva, says he dreamed of leading his Southeast Asian nation ever since he was a little boy, but he still seems more comfortable roaming the corridors of international diplomacy than engaging in the rough-and-tumble politics of his homeland. Just days ago, the 45-year-old economist headed to New York City to hobnob with world leaders at the U.N. General Assembly. In his inaugural speech to the international body on Sept. 26, Abhisit is expected to reference everything from sustainable development and foreign-investment incentives to the wisdom of Alfred Lord Tennyson. No doubt he will be warmly received. Read more เพื่อนๆ ของเขาสมัยที่อยู่นิวคาสเซิลที่ซึ่งเขาถือกำเนิดและเพื่อนๆ ที่อีตันสมัยที่เขาเรียนหนังสือ รู้จักเขาในชื่อว่า “มาร์ค” ผู้คลั่งไคล้ฟุตบอล หลังจากนั้นได้ทำประตูเกียรตินิยมอันดับหนึ่งที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ในวันนี้นายกรัฐมนตรีผู้ดีของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกว่า เขามีความฝันในการนำประเทศของเขาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ แต่ตอนนี้ดูเหมือนกับว่าเขาสบายใจกับการท่องไปในโลกแห่งการฑูตระหว่างประเทศมากกว่าเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองในประเทศบ้านเกิดที่ขรุขระและยุ่งเหยิง เพียงไม่กี่วันที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์วัย 45 ปีคนนี้ได้มุ่งหน้าไปยังมหานครนิวยอร์คเพื่อคบหาตีสนิทกับผู้นำระดับโลกที่การประชุมทั่วไปสหประชาชาติ ในปาฐกถาของเขาในที่ประชุมนานาชาติเมื่อวันที่ 26 กันยายน อภิสิทธิ์ถูกคาดหวังให้กล่าวอ้างอิงถึงทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่การพัฒนาที่ยั่งยืนไปจนถึงแรงจูงใจในการลงทุนจากต่างประเทศไปยังการไตร่ตรองทางปัญญาของอัลเฟรด ลอร์ด เทนนิสัน และไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ถึงแม้ประชาคมนานาชาติให้การรับรองนายกหน้าใหม่คนนี้ แต่ในประเทศบ้านเกิดของเขา อภิสิทธิ์กำลังถูกกล่าวหาถึงการไม่เชื่อมต่อกับคนไทยที่อยู่นอกห้องแอร์อันแสนสะดวกสบายในกรุงเทพที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่สดใสขึ้นซึ่งรัฐบาลเทคโนแครตรีบฉวยเอามาเป็นเครดิตของตนอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ประเทศไทยกำลังทะเลาะวิวาทกันอยู่ที่ปากเหว เมื่อวันที่ 19 กันยายน สองวันก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะลงเครื่องบินที่นิวยอร์ค กลุ่มผู้ท้วงต่อต้านรัฐบาลกว่า 20,000 คนสวมเสื้อแดงไหลบ่าในเมืองหลวง พวกเขามาจากพื้นที่ต่างๆ ในชนบท เพื่อชุมนุมในวาระครบรอบสามปีการรัฐประหารที่มีต่ออดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ผู้นำทางจิตใจของเขาซึ่งอยู่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศ ในวันเดียวกันนั้นเอง ผู้ประท้วงเสื้อเหลืองชาตินิยมซึ่งช่วยปูทางการขึ้นสู่อำนาจของอภิสิทธิ์ ได้ปะทะอย่างรุนแรงกับชาวบ้านที่อยู่ใกล้ชายแดนกัมพูชาซึ่งข้อพิพาทชายแดนปะทุขึ้นบริเวณใกล้กับปราสาทพระวิหาร ในภาคใต้ของประเทศไทยอันประกอบด้วยคนมุสลิมเป็นจำนวนมาก การเคลื่อนไหวรณรงค์แบ่งแยกดินแดนทำลายชีวิตผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่าสิบคนในเดือนกันยายน และในปีนี้ การเสียชีวิตในภาคใต้เพิ่มสูงถึงประมาณ 350 คนแล้ว หากการเข่นฆ่ายังดำเนินอยู่ต่อไป ยอดผู้เสียชีวิตในปีนี้จะสูงกว่าผู้เสียชีวิตในปีที่แล้ว จากสถานการณ์โดยรวมที่น่าเป็นห่วงของประเทศไทย พระมหากษัตริย์ไทยผู้มีพระชนม์มายุ 81 พรรษาซึ่งเสด็จพระราชดำเนินเข้ารับการรักษาพระอาการประชวรได้ทรงตักเตือนว่า หากประเทศไม่นำความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลับคืนมา ประเทศอาจจะ “ล่มจม” อภิสิทธิไม่ใช่คนที่จะถูกกล่าวโทษสำหรับการแบ่งแยกอย่างฝังลึกของประเทศไทยที่เขาได้รับสืบทอดมาเมื่อเขารับตำแหน่ง 9 เดือนที่ผ่านมา ในระหว่างการอยู่ในตำแหน่งในช่วงสั้นๆ นี้ เขาเอาใจใส่อย่างขยันขันแข็งในการสร้างสถาบันประชาธิปไตยต่างๆ ที่ได้ถูกกัดเซาะด้วยความโกลาหลทางการเมืองในช่วงเกือบ 4 ปีที่ผ่านมาให้กลับขึ้นมาใหม่อย่างเชื่องช้า แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านไป ความตั้งใจที่ดีไม่ผลิดอกออกผลเป็นรูปธรรมปรากฎให้เห็น “อภิสิทธิ์ เป็นนายกที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกที่พูดว่า เขาจัดให้สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมต้องมาก่อนในการบริหารประเทศ เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวของชาติ” สุนัย ผาสุก นักวิจัยของฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าว “แต่เขาขาดอำนาจที่จะรวมกำลังรัฐบาลผสมของเขาเพื่อแปร (สิ่งที่พูด) ให้เป็นการกระทำจริง แต่อภิสิทธิ์มองเห็นเรื่องนี้แตกต่าง “สิ่งต่างๆ กำลังรุดหน้าไปอย่างต่อเนื่อง” อภิสิทธิ์กล่าวกับ นิตยสารไทม์เมื่อเร็วๆ นี้ ในช่วงปีที่ผ่านมาทำเนียบรัฐบาลถูกล้อมโดยผู้ประท้วงเสื้อเหลืองและเสื้อแดงสองครั้ง บีบบังคับรัฐบาลสามชุดให้ทิ้งทำเนียบฯ “เราเพียงแต่ต้องทำให้แน่ใจว่าประชาชนคนส่วนน้อยกลุ่มเล็กที่โน้มเอียงในการใช้ความรุนแรงหรือสร้างความโกลาหลวุ่นวายจะไม่สามารถก่อปัญหาความยุ่งยาก” แต่ภายในวันที่ 20 กันยายน จากการขยายตัวของความแตกร้าวทั่วประเทศ นายกรัฐมนตรีผู้มีกริยามารยาทอ่อนนุ่มผู้นี้จำต้องอ้อนวอนกลุ่มการเมืองต่างๆ ให้แสดงความเป็นสุภาพบุรุษออกมาบ้าง “เราสามารถแสดงความเห็นที่แตกต่างได้” เขากล่าวออกโทรทัศน์ “แต่เราทุกคนเป็นคนไทย โปรดอย่าทำร้ายกัน” จุดอับทางการเมืองของประเทศไทยบ่อยครั้งมักจะดำรงอยู่ในฐานะของการเป็นสนามรบระหว่างเมืองกับชนบท คนรวยกับคนจน องค์ประกอบต่างๆ ของการแบ่งแยกเหล่านี้ส่งผลต่อระบบการเมือง แต่การต่อสู้เป็นผลมาจากการประทะกันระหว่างกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองสองกลุ่มที่ล้มเหลวในการแสวงหาหลักพื้นฐานร่วมกัน การตอบโต้กับอภิสิทธิ์ จากผู้มีเลือดเนื้อเชื้อไขจากครอบครัวเก่าแก่เชื้อสายไทย-จีนครอบครัวหนึ่งที่มีสายสัมพันธ์กับผู้ภักดีในประเทศคือ ทักษิณ ผู้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันไม่ได้เป็นคือ นักประชานิยม เศรษฐีผู้มีเงินรุ่นใหม่ผู้ถูกตัดสินจำคุกสองปีจากข้อหาผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งสองฝ่ายมีเสียงในการรวบรวมกำลังผู้คนและรุนแรงในบางโอกาส กลุ่มผู้สนับสนุนซึ่งอยู่ท่ามกลางประชาชนทั่วไปจำนวนมาก ไม่มีครั้งใดที่มีหูตาสว่างทางการเมืองมากกว่าครั้งนี้ จากผลของโพล์ของมูลนิธิเอเซียที่แถลงออกมาไม่นานมานี้ พบว่า ประชาชนไทยจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสามเท่านั้นที่รู้สึกว่าประเทศไทยเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง และในความเป็นจริง สหรัฐอเมริกาก็แสดงความวิตกกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวการณ์ของประเทศไทย โดยสหรัฐสัญญาจะจัดสรรเงินทุนผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งเป็นบางอย่างที่สหรัฐไม่ได้ทำมาเกือบ 15 ปี ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี มันตกอยู่กับอภิสิทธิ์ในการพยายามสร้างสะพานเชื่อมช่องว่างทางการเมืองพร้อมกับฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่คลอนแคลน เพียงแค่การแสดงให้เห็นภาพพจน์ที่สะอาด นายกรัฐมนตรีอาจสามารถแสวงหาการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้นซึ่งมันเป็นความจำเป็นของประเทศไทยเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเพื่อปลอบประโลมใจชาวไร่ชานาในภาคอีสานซึ่งหวนคิดถึงวันเก่าๆ กับการริเริ่มโครงการให้เงินกู้แก่กลุ่มชาวบ้านรายย่อยซึ่งเป็นประชานิยมของทักษิณ อย่างไรก็ตาม ในประการแรก อภิสิทธิ์จะต้องควบคุมพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรคที่กระจัดกระจายผู้ซึ่งจูงเขาขึ้นสู่อำนาจเมื่อครั้งแรกเริ่มให้ได้ ส่วนสิ่งที่ดูเหมือนเป็นความขัดแย้งรองที่ทำให้กลุ่มที่เป็นแนวรร่วมที่เป็นพันธมิตรของเขาอาจแตกออกจากกัน เป็นเรื่องที่ว่า ใครจะเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนต่อไป นอกจากนี้ การบัญชาการของอภิสิทธิ์เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงในการเดินขบวนโดยใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในประเทศ และส่งทหารหลายพันคนเข้าไปยังท้องถนนในเมืองหลวงเมื่อวันที่ 19 กันยายน ได้ดึงปัญหาความขัดแย้งจากสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาอีกด้วย นายกฯ ยอมรับอย่างเปิดเผยถึงปัญหาความยากลำบากที่ประเทศเผชิญและรัฐบาลกำลังเผชิญอยู่ แต่มันไม่ใช่ว่า ประเทศไทยจะเต็มไปด้วยผู้นำที่มีความพร้อมจะขึ้นมาในตำแหน่งนี้และสามารถทำได้ดีกว่าอภิสิทธิ์ “พวกเรารู้สึกถึงความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น” เขาระบุกับนิยสารไทม์ “เราต้องทำให้มั่นใจได้ว่า เรื่องที่เป็นเสาหลักพื้นฐานมากๆ ของระบอบประชาธิปไตย สำหรับผม ต้องสามารถทำให้เข้าที่เข้าทาง โดยไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการขัดแย้งกับความคิดเรื่องประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ เราต้องทำให้เกิดความสมดุลที่พอดี” ระหว่างการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารไทม์ อภิสิทธิ์ได้ระบุถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่เพื่อหาจุดสมดุล เงินกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับความช่วยเหลือในการพัฒนาพื้นที่ปัญหาภาคใต้ การรณรงค์ที่มีหัวจิตหัวใจซึ่งตรงกันข้ามกันกับแนวทางแบบกำปั้นเหล็กของทักษิณ รวมถึงการเสริมสร้างความความสัมพันธ์กับสหรัฐ จีนและญี่ปุ่น สามประเทศใหญ่ที่ต่อสู้แข่งขันกัน โดยประเทศเหล่านี้เป็นประเทศคู่ค้าหลักของระบบเศรษฐกิจที่นำโดยการส่งออกของไทย รวมไปถึง กระทั่งการกล่าวยอมรับอย่างมีมารยาทอ่อนโยนว่า ทักษิณ ผู้เป็นศัตรูทางการเมือง เป็นที่นิยมของประชาชนเพราะ “นวัตรกรรมทางนโยบาย” ของเขาในพื้นที่ชนบท แต่ความพยายามต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลายมาเป็นนโยบายแบนๆ ไร้ซึ่งความน่าสนใจ เช่นโครงการที่ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน ชักชวนให้ประชาชนชาวไทยทุกคนร้องเพลงชาติทุกเวลาเย็น เป็นเวลาเดือนครึ่ง การริเริ่มเรื่องนี้นี้เผชิญกับความน่าหัวเราะจากสื่อภายในประเทศ แต่มันถูกออกแบบโดยสมมติฐานว่า เพื่อปลอบใจกลุ่มทหารชาตินิยมในกองทัพที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นหนี้บุญคุณอยู่ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องจากองค์กรศาลระหว่างประเทศต่อการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดซึ่งห้ามการถกเถียงอย่างเปิดเผยในประเด็นพระบรมวงศานุวงศ์และการสืบสันตติวงศ์ ภายใต้การดำรงตำแหน่งของอภิสิทธิ์ กรณีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกนำเข้าสู่ศาลไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น อภิสิทธ์เคยกล่าวกับนิตยสารไทม์ในเรื่องนี้ว่า “มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น (แม้ว่า) อาจมีหนึ่งหรือสองกรณีที่หลุดจากเรดาร์ไปด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง” แต่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากที่เขาให้สัมภาษณ์ นักกิจกรรมทางการเมืองของไทยชื่อ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกตัดสินจำคุก 18 ปีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์และพระราชินี ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการปราศัยในที่สาธารณะของเธอ อภิสิทธ์เคยกล่าวกับนิตยสารไทม์ในเรื่องนี้ว่า “มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น (แม้ว่า) อาจมีหนึ่งหรือสองกรณีที่หลุดจากเรดาร์ไปด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง” แต่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากที่เขาให้สัมภาษณ์ นักกิจกรรมทางการเมืองของไทยชื่อ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกตัดสินจำคุก 18 ปีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์และพระราชินี ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการปราศัยในที่สาธารณะของเธอ แน่นอนว่า ไม่ใช่อภิสิทธิ์เป็นผู้อนุมัติในการพิพากษาคดี แต่ผู้จงรักภักดีเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มใหญ่ที่สุดของเขา ดังนั้นการวิจารณ์ทางสาธารณะถึงการลงโทษในเรื่องนี้อาจเป็นการฆ่าตัวตายทางการเมืองของอภิสิทธิ์ คนชื่อมาร์คอาจเผชิญกับความยากลำบากในการอธิบายกับเพื่อนเก่าสมัยเรียนอ๊อกฟอร์ดว่า สิ่งนี้เหมาะสมสอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยไทยสมัยใหม่อย่างไร ซึ่งเขาเองพูดว่า เขากำลังพยายามสร้างมันขึ้นมา ข้อมูลภาษาไทยโดยเว็บประชาไทยดอตคอม