26 May 2009

จีดีพีไตรมาสแรก"-7.1%" สัญญาณ "ศก.หดตัว"ชัดเจน

Dewan Pembangunan Ekonomi dan Masyarakat Nasional.(Thailand) menunjukan GDP. tiga bulan pertama tahun ini di 7.1% minus dipercayai paling teruk sekali lepas ini akan baik jika tidak berlaku kegawatan lagi, dianggarkan dalam tempoh setahun akan jatuh keparas minus 3.5-2.5% lebih banyak dari dulu yang dianggarkan hanya minus 1-0% Justeru memberi amaran jika perancangan peransang ekonomi kali ke-2 terkandas tentu akan bermasalah, Perdana Menteri Abhisit menerima paling teruk namun masih baik lagi dari beberapa buah negara. สภาพัฒน์เผยตัวเลข"จีดีพี" ไตรมาสแรกปีนี้ ติดลบ 7.1% เชื่อจุดต่ำสุดแล้ว หลังจากนี้จะดีขึ้น หากไม่มีเหตุวุ่นวายอีก คาดทั้งปีติดลบ 3.5-2.5% เพิ่มจากเดิมที่คิดว่าจะติดลบแค่ 1-0% ระบุหากแผนกระตุ้น ศก.รอบ 2 สะดุด มีปัญหาแน่ "มาร์ค"รับหนักสุด แต่ยังดีกว่าบางประเทศ ธปท.ชี้แย่กว่าที่คาด แต่เริ่มมีสัญญาณดี กำลังการผลิตอุตฯเพิ่มจาก 50% เป็น 60% ตัวเลขจีดีพี ไตรมาสแรกของปี 2552 อยู่ที่ -7.1% เป็นอัตราหดตัวติดลบ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันของปี 2551 และเป็นการติดลบสองไตรมาสต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ -4.2 % คาดว่าจีดีพี ทั้งปี 2552 จะอยู่ที่ ติดลบ 3.5% ติดลบ 2.5% แต่จุดที่เป็นไปได้มากที่สุดน่าจะอยู่ที่ -3% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ติดลบ 1-0% หลังจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงมากขึ้น ผลจากการที่เศรษฐกิจหดตัว สองไตรมาสติดต่อกันชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างชัดเจน จากการพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แม้ว่าภาคการเกษตรยังเป็นตัวค้ำจุนอยู่ และช่วยไม่ให้เศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัวมากกว่านี้ และหากเปรียบเทียบตัวเลขจากปีที่แล้วพบว่ายังมีการขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในส่วนปัจจัยนอกภาคการเกษตรยังได้รับผลกระทบหนักอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งล่าสุด ในเดือนเมษายนองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลงจากที่คาดไว้ เมื่อเดือนมกราคมว่า จะขยายตัว 5.0% มาเป็น 1.3% ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงมากขึ้น ขณะที่ประเทศที่เกี่ยวข้องกับไทยรวมถึงประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็อยู่ในอัตราหดตัวเช่นกัน โดยสหรัฐ อยู่ที่ -2.6% ยุโรปอยู่ที่ -4.6% ญี่ปุ่น -9.7% ไต้หวัน -10.2% ฮ่องกง -7.8% และสิงคโปร์ อยู่ที่ -10.1% ซึ่งในส่วนของประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่พึ่งพาการส่งออกทั่วโลก ต่างได้รับผลกระทบติดลบประมาณ 20-25%