21 March 2011

นโยบายสาธารณะของไทย: ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร

โดย ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ความจริงคิดเรื่องการเงินท้องถิ่นมาพักหนึ่งแล้ว โดยคิดว่าปัญหาของท้องถิ่นตอนนี้ได้เงินฟรีจากรัฐบาลที่มาจากภาษีของคนทั่วไป ไม่ ได้เกิดจากคนในท้องถิ่นโดยตรง ดังนั้นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบของการใช้เงินและการตรจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Account Ability) เพราะขณะนี้การตรวจสอบมีความเบาบางและแผ่วบางมาก ขณะนี้ระบบราชการไทยมีเรื่องนี้อยู่น้อย โดยเฉพาะในรัฐบาลของคุณทักษิณ ชินวัตร แม้ในช่วงนั้นคุณทักษิณจะทำให้เกิดคำว่า ประชาธิปไตยกินได้ แต่ก็ยังขาดการตรวจสอบอยู่ ซึ่งการแก้ไขปัญหาตรงนี้ผมอยากให้นำรายได้จากภาษีทรัพย์สินและปลูกสร้างทั้งหมดยื่นให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ดูแล โดยให้มีการเก็บภาษีออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.เก็บจากการประเมินราคา 2.เก็บจากกำหนดอัตราการประเมิน และ 3.เก็บจากการเดินไปเก็บกับประชาชนหรือการเรียกเก็บ ส่วนตัวอยากให้รัฐบาลกลางดูแลเรื่องการเก็บจากการประเมินและการเก็บแบบเรียกเก็บ เพราะหากดูจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใน กทม.แล้วจะมีพฤติกรรมแบบเกาหลังกันไปกันไปมา คนอยู่ในกทม.ก็จะจ่ายเงินให้กับคนที่มาประเมินที่มันเกิดการซูเอี๋ยกัน คล้ายๆ กับว่า มีความทับซ้อนกันของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ดังนั้นควรให้คนเก็บและคนประเมินเป็นหน่วยงานอิสระที่ลดความทับซ้อนของผลประโยชน์เสีย โดยอปท.จะต้องกำหนดอัตราใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น พื้นที่ กทม. คนรวยมากไม่ควรเก็บภาษีได้ต่ำ เป็นต้น รัฐบาลควรมีมาตราการแรงจูงใจว่า หากท้องถิ่นใดมีความพยายามในการจัดเก็บได้ดี รัฐบาลก็จะแถมให้ โดยหลักการอยากจะเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถปกครองตนเอง ทั้งนี้อปท.จะต้องแลกเปลี่ยนกับประชาชนของเขาว่า จะสร้างภาระให้กับประชาชนมากน้อยแค่ไหนและอปท.จะทำงานอะไรให้กับคนในท้องที่และเพื่ออะไร ถือเป็นการแลกเปลี่ยนในพื้นที่ เพราะคนเขาใกล้ชิดกันมากกว่าส่วนกลาง นอกจากนี้ยังเห็นว่า เรื่องครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่อยากจะพูดและอยากให้นักวิชาการศึกษาเรื่องครอบครัวให้มากและขอเน้นคำว่า “ครอบครัว” ที่ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ก็เริ่มการศึกษาวิจัยจากครอบครัว แต่กลับมีงานวิจัยเรื่องนี้อย่างจำกัด โดยปัจจุบันเราบ่นกันมากว่า สังคมไทยเป็นสังคมปัจเจกนิยมมากขึ้น ต้องขอออกตัวว่า ครั้งนี้ไม่มีข้อเสนอเชิงนโยบาย แต่มีคำถามที่อยากให้คิด “ครอบครัว” ถือเป็นชุมชนเล็กๆ ที่สร้างขึ้นโดยสมัครใจหรืออาจจะตัดสินแบบถูกบังคับหรืออะไรก็แล้วแต่ หากมีการศึกษาเรื่องครอบครัวก็จะได้นโยบายอีกหลายอย่างที่รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้กับครอบครัว โดยทั่วไปสถิติที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดเก็บก็จะเลือกกำหนดการจัดเก็บจากการกำหนดจากครัวเรือนก่อน จากนั้นจึงจะเก็บข้อมูลครอบครัว นั่นเพราะ “ครอบครัว” ถือเป็นจุดรวมของการบริโภค โดยหลักแล้ว “ครอบครัว” มี “ครัวเรือน” อยู่ในนั้น และนิยามของคนว่า “ครัวเรือน” หมายความว่า “คนกินข้าวหม้อเดียวกัน” นั่นจึงเป็นจุดศูนย์รวมของการบริโภคที่มีการแบ่งปันหรือการแชร์กัน ที่เห็นชัดที่สุด คือการแชร์ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ในสมัยก่อนครัวเรือนก็ถือเป็นจุดศูนย์รวมของเกษตรกรรม เพราะการทำเกษตรใช้แรงงานในครอบครัวเป็นเกษตรแบบครัวเรือน มี พ่อ แม่และลูก แต่ขณะนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว มีการจ้างแรงงานนอกครัวเรือนเข้ามาทำงานแทน เพราะลูกไปทำงานต่างจังหวัด นอกจากภาคเกษตรกรรมแล้ว หากเราเดินไปร้านโชว์ห่วยต่างๆ เราก็จะพบว่า เป็นกิจการของครอบครัวที่มีคนในครอบครัวเป็นทำ ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายถึง “โสภณพานิช” หรือ “ชินวัตร” แต่หมายถึงครอบครัวในฐานะของการทำกิจการหรือทำงานร่วมกันในครัวเรือน เพราะในกิจการเหล่านี้ก็จะเห็นผู้ผ่องถ่ายทรัพย์สินระหว่างรุ่น เพราะจากข้อมูลที่มีเราพบว่า ครอบครัวไทยกำลังจะไปเป็นครอบครัว 3 รุ่นมากขึ้นเรี่อย ๆ หากเราแบ่งอายุคนออกเป็น 3 ช่วงก็จะพบว่า คนอายุระหว่าง 15-20 ปี จะบริโภคมากกว่าผลิต อายุระหว่าง 20-60 ก็จะเป็นผู้ผลิตมากกว่าบริโภค จากนั้นก็จะกลับมาบริโภคมากกว่าผลิตอีก เพราะกำลังหมดแล้ว ดังนั้นทั้ง 3 รุ่นนี้ก็จะมีการผ่องถ่ายกันละกันต่อเนื่อง โดยมีความหวังว่าคนรุ่นกลางจะเป็นผู้สนับสนุนมี อย่างไรก็ตามหากครอบครัวใดมีคนอยู่สามรุ่นด้วยกันก็จะสะดวกด้วยประการทั้งปวง เพราะมีคนแก่ช่วยดูแลหลาน การที่คนในครอบครัวทำหน้าที่สนับสนุนซึ่งกันและกันก็มีนัยยะทางนโยบาย เพราะถือเป็นระบบ Social Security กันเองในครอบครัว ถือว่าครอบครัวไทยมีระบบนี้ทำงานของมันเองอยู่แล้ว ทุกคนรู้ดี ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยรัฐบาลควรจะใช้หลักนี้เป็นประโยชน์เท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ปัญหาใหญ่ของรัฐบาล คือ จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Moral Passive หรือ การเกิดภาวะประชาชนรอเงินจากรัฐบาลอยู่ฝ่ายเดียว โดยเฉพาะนโยบายการดูแลผู้สูงวัย รัฐบาลควรคิดหาวิธี เพราะการจัดการเรื่องนี้ หากรัฐบาลดูแล แล้วลูกก็จะไม่ดูแล หรือบางรายลูกก็ไม่มีความสามารถดูแล ดังนั้นต้องคิดหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการซ้อนกันระหว่างความดูแลของรัฐและครอบครัว ทั้งนี้โครงสร้างของครอบครัวไม่ได้เกิดจากครอบครัวเป็นตัวตั้งอย่างเดียว บางทีเกิดมาจากผลกระทบมาจากนโยบายของรัฐที่มีอยู่โดยตรง ในบางประเทศเมื่อรัฐให้สวัสดิการสังคมแบบสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก็กลายเป็นว่า ลูกกับคนสูงวัยต้องแยกจากกัน โดยสังคมอเมริกันพ่อแม่ก็จะบอกว่า ถ้าลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วกลับมาอยู่บ้านจะถือว่าล้มเหลวในชีวิต ดังนั้นเขาจะให้ออกไปอยู่ข้างนอก เขาต้องการอย่างนั้นและลูกก็พร้อมทำอย่างนั้นเพราะเห็นว่า พ่อแม่ได้รับเงินจากรัฐอยู่แล้ว ถือเป็นการตัดสินใจร่วมกันว่า จะมีโครงสร้างอย่างนั้น จึงเป็นคำถามว่า ระบบสวัสดิการทางสังคมที่ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนจากคนข้างนอกกับสังคมไทยแล้วจะดีหรือไม่ และสังคมไทยควรจะทำอย่างไรที่จะให้ได้ผลดีที่สุด ไม่ได้บอกว่า วิธีนี้ดีที่สุด ส่วนตัวอยากให้ครอบครัวดูแล แต่ก็มีบางครอบครัวที่ลูกทำไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลอาจจะต้องคิดเรื่องนี้ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเครื่องมือมาบังคับให้คนอยู่ร่วมกันสามรุ่นในครอบครัวเดียวกัน อีกอย่างการอยู่กันสามรุ่นบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ดังนั้นจึงจะต้องวิเคราะห์ว่าอะไรจะทำได้และอะไรเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่า รัฐดูแลมากเกินไป นอกจากนี้ยังอยากให้ทำการศึกษาเรื่องการเงินในครัวเรือนว่า สามีภรรยาใช้เงินร่วมกันอย่างไร เพราะส่วนหนึ่งสามีภรรยาใช้เงินร่วมกัน แต่บางคนก็แยกกระเป๋า โดยการศึกษาแบบนี้อาจจะเป็นการละลาบละล้วงเกินไป เพราะในประเทศญี่ปุ่นเขามีวัฒนธรรมให้ภรรยาเป็นคนถือเงินเกือบทั้งหมดแล้วสามีก็แอบขยักไว้นิดหน่อย เรื่องนี้ท้ายที่สุดจะมีนัยยะต่อนโยบาย --------------------------------- หมายเหตุ: ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ปาฐกถาหัวข้อ “นโยบายสาธารณะของไทย:ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร” ภายใต้การวิจัยเรื่อง “สองทศวรรษแห่งการพัฒนาของสังคมไทย:นัยยะต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะ” ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ จัดโดยแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส

20 March 2011

Lebih 110 roket Tomahawk AS, Britain dibedil ke Libya

WASHINGTON: Tentera Amerika Syarikat dan Britain menembak sekurang-kurangnya 110 roket jenis Tomahawk ke arah Libya bagi melumpuhkan pertahanan udara rejim Presiden Muammar Gaddafi. Naib Panglima Angkatan Tentera Amerika, William Gortney memberitahu pemberita roket Tomahawk itu dilancarkan oleh kedua-dua kapal perang dan kapal selam milik Amerika dan Britain ke arah 20 sistem penyelarasan pertahanan udara bersama dan kemudahan pertahanan pesisir Libya. "Roket pertama ditembak jam 1900 GMT diikuti serangan udara yang dilancarkan pesawat pejuang tentera Peranchis," kata Gortney, yang juga pengarah staf bersama tentera Amerika Syarikat. "Ia adalah fasa pertama daripada pelbagai peringkat operasi serangan," katanya. "Oleh kerana ketika itu waktu malam di sana (Libya), ia mengambil masa untuk kita mengetahui lebih lengkap kejayaan serangan ini," katanya. - AFP