16 June 2010
Bloody Sunday
Click to See more photographsBloody Sunday in photographs
เหตุการณ์ “อาทิตย์แดงเดือด” (Bloody Sunday): ความยุติธรรมไม่มีวันหมดอายุ
โดย พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
แม้จะผ่านไปเกือบ 40 ปี ประชาชนชาวไอร์แลนด์เหนือไม่มีวันลืมเหตุการณ์สังหารหมู่ที่รัฐบาลอังกฤษกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากเลือกจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลอย่างยืดเยื้อในอีกสามทศวรรษต่อมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,500 คน แต่ในรายงานสอบสวนข้อเท็จจริงครั้งใหม่ที่กำลังมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ พวกเขาคงได้เห็นความยุติธรรมที่รอคอย รวมทั้งการฟ้องร้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างสันติด้วยความเหี้ยมโหด
Bloody Sunday เกิดขึ้นเมื่อปี 2515 เป็นเหตุการณ์ที่ทหารของรัฐบาลอังกฤษสังหารพลเรือนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีการยิงปืนใส่ผู้ชุมนุม 27 คน เป็นเหตุให้ 13 คนเสียชีวิตทันที อีกหนึ่งคนเสียชีวิตอีกสี่เดือนกว่าถัดมา (ซึ่งนับว่าน้อย ถ้าเทียบกับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายของพลเรือนผู้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ช่วงเดือนเม.ย.กับ พ.ค.ที่ผ่านมา)
ในวันที่ 30 มกราคม 2515 กลุ่มสิทธิมนุษยชนในไอร์แลนด์เหนือ (Civil Rights Association) ได้ขัดขืนคำสั่งห้ามของรัฐบาล และประกาศเดินขบวนชุมนุมโดยสันติและไม่มีการติดอาวุธ ในเขต Bogside ของเมือง Londonderry หรือ Derry ซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดเป็นอันดับสองของไอร์แลนด์เหนือ (ทำให้เหตุการณ์นี้มีอีกชื่อว่า Bogside Massacre) โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณหนึ่งหมื่นคน แต่ปรากฏว่าทหารหน่วยพลร่มของอังกฤษตัดสินใจใช้อาวุธปืนยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งต่อมาพบว่าผู้เสียชีวิตไม่มีอาวุธเลย และเป็นผู้ชายทั้งสิ้น 13 คน ในจำนวนนี้เป็นวัยรุ่นเจ็ดคน
การเดินขบวนเป็นการประท้วงชาวคาทอลิกต่อนโยบายจับกุมโดยไม่มีการตั้งข้อหาและไม่มีสิทธิอุทธรณ์ทางต่อศาล หรือที่เรียกว่า “internment” ซึ่งเป็นมาตรการที่ทางการอังกฤษนำมาใช้ตั้งแต่หนึ่งปีก่อนหน้านั้น โดยอ้างว่าเพื่อค้นหาและจับกุมผู้นำกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาล เป็นเวลานับร้อยปีที่ชาวคาทอลิกในไอร์แลนด์พยายามต่อต้านระบอบปกครองของอังกฤษ เนื่องจากถูกกดขี่ ข่มเหง และมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง
ผลจากการปราบปรามพลเรือนอย่างเลือดเย็นในครั้งนั้น ทำให้ประชาชนในไอร์แลนด์เหนือจำนวนมากตัดสินใจเข้าร่วมกับกลุ่ม Irish Republican Army (IRA) ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ใช้อาวุธต่อสู้กับรัฐบาล และทำให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง IRA กับรัฐบาลอังกฤษและกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลอังกฤษ (unionists) สงครามกลางเมืองยืดเยื้อมาถึงสามทศวรรษ และทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,500 คน เฉพาะปี 2515 เหตุการณ์สังหารเอาชีวิตผู้คนได้พุ่งขึ้นถึง 500 ศพ ซึ่งนับว่าเลวร้ายสุดในรอบสามทศวรรษ
มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง (คล้ายๆ กับคณะกรรมการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์แต่ตั้งและนำโดยนายคณิต ณ นคร) ถึงสองครั้ง ครั้งแรกว่ากันว่าเป็นความพยายาม “ฟอก” รัฐบาล (whitewash) โดยมีประธานคือ Baron John Widgery อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเขตอังกฤษและเวลส์ (Lord Chief Justice of England and Wales) แต่ถึงอย่างนั้น ข้อสรุปที่ได้ก็ชัดเจนว่าเป็นการยิงในลักษณะที่ “น่าจะเข้าใกล้การยิงแบบไม่เลือกเป้า” ("bordered on the reckless")
เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพเมื่อปี 2541 (Good Friday Agreement) รัฐบาลนายโทนี่ แบลร์จากพรรคแรงงานจึงได้รับปากที่จะตั้งคณะกรรมการไต่สวนขึ้นมาอีกชุดเพื่อรื้อฟื้นการพิจารณากรณีนี้อีกครั้ง เขาบอกในช่วงการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ด้วยว่า คนที่ตายต้องถือเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ตรงกับข้อกล่าวหาใดๆ ที่ว่าพวกเขาถูกยิงขณะที่ถืออาวุธปืนหรือระเบิดตะปู (nail bomb)
คณะกรรมการไต่สวนชุดใหม่นี้ที่นำโดย Lord Mark Saville ใช้เวลาเสาะหาข้อเท็จจริงอีก 12 ปี ใช้งบประมาณไปกว่า 190 ล้านปอนด์ (เก้าพันกว่าล้านบาท) มีการสอบปากคำพยานกว่า 900 ปาก และมีการรับถ้อยแถลงเพื่อให้การจากประชาชนอีก 2,500 คน และเพิ่งมีการส่งมอบรายงานหนา 500 หน้าให้นายกฯ คนใหม่ คือนายเดวิด คาเมรอน จากพรรคอนุรักษ์นิยมไปเมื่อวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.นี้เอง
รายงานฉบับนี้จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะในวันอังคารที่ 15 มิ.ย. 2553
ในบรรดาพยานผู้ให้ปากคำประกอบด้วยนาย Martin McGuinness ผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy First Minister) ของรัฐบาลไอร์แลนด์เหนือ เขายอมรับว่าดำรงตำแหน่งเป็นนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาของกลุ่ม IRA ที่เมือง Londonderry ตอนที่เกิดเหตุ
“พลเมืองที่เมือง Derry ทั้งชายและหญิง ต้องการให้ลอร์ดเซวิลล์ทำข้อมูลให้ประจักษ์ชัดว่า ทั้ง 27 คนที่ถูกยิงในวันนั้น ต่างถูกฆาตกรรมและทำร้ายจนบาดเจ็บ พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้ที่ทำร้ายผู้อื่นจนบาดเจ็บล้มตายต้องเป็นฝ่ายผู้กระทำผิด” เขากล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ในทำนองเดียวกับการอ้างความชอบธรรมของรัฐบาลไทยต่อการปราบปรามการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นที่นำโดยนายวิลเลียม เฮก (William Hague) จากพรรคอนุรักษ์นิยมอ้างว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีการใช้ทั้งอาวุธปืนและระเบิด ทำให้รัฐบาลต้องสั่งการให้ทหารใช้อาวุธเพื่อปราบปราม
เหตุการณ์ “อาทิตย์แดงเดือด” นับเป็นเหตุการณ์ที่ทหารรัฐบาลอังกฤษสังหารพลเรือนจำนวนมากสุดในประวัติศาสตร์ นับแต่การสังหารหมู่ปีเตอร์ลู (Peterloo massacre) ที่เมืองแมนเชสเตอร์เมื่อ 150 ปีก่อนหน้านั้น ในครั้งนั้นมีพลเรือนเสียชีวิต 15 คน (แสดงว่าทหารอังกฤษเขาไม่ได้มีไว้ยิงประชาชนของตนเอง - ผู้เขียน)
คาดว่าในรายงานของ Lord Seville จะมีการระบุชื่อนายทหารที่เป็นคนลั่นไก และน่าจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป แม้เหตุการณ์จะผ่านไปเกือบ 40 ปี
คงเป็นอุทาหรณ์สำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่า ความยุติธรรมไม่มีวันหมดอายุ !!!
ดูฉบับภาษาอังกฤษ read more in English
Kyrgyzstan toll 'could be higher'
The interim president of Kyrgyzstan has said the number of deaths in the unrest in the south of the country could be "several times higher" than the official death toll which currently stands at 178.
Roza Otunbayeva said on Tuesday that the number had to be higher, due to the Muslim tradition of burying the dead the same day.
Mass graves have been dug in the city of Osh, where the violence started on Thursday.
More than 1,800 people have been injured, according to official figures.
"The number of those killed in the violence in Osh was 132 people, with the total of the injured rising to 1,333. In Jalal'abad, 46 people are dead and a total of 533 injured," the health ministry's press centre said.
But the International Committee of the Red Cross echoed claims of a higher death toll.
"According to the team on the ground, several hundred people have been killed in the fighting, although it's still too early to say precisely how many as a number of bodies have already been buried and may not have been identified or counted, while others remain uncollected," the ICRC said in a statement.
Aigul Sigulina, a spokeswoman for the ICRC in Bishkek, told Al Jazeera: "We think that the number of people killed is higher than reported in the media because we have seen massive amounts of people buried.
"Medical workers have been attacked and beaten, ambulances have been damaged. Even our operations sometimes had to stop because we were going to a hospital and were blocked by shootings and we had to go back."
'Violence co-ordinated'
Meanwhile, suspicion was growing that the fighting between ethnic Uzbeks and Kyrgyz had been deliberately ignited.
The United Nations said there was evidence that the violence was co-ordinated and began with five simultaneous attacks in the city of Osh.
Rupert Colville, spokesman for the UN High Commissioner for Human Rights, said "it might be wrong to cast it, at least in origin, as an inter-ethnic conflict.
"There seems to be other agendas driving it initially."
He told a news briefing in Geneva that the UN human rights office had collected witness accounts, including from UN staff, in the cities of Osh and Jalal'abad.
"Several of these reports suggest that the incident began with five simultaneous attacks in Osh involving men wearing balaclavas and carrying guns. It looked like they were seeking to provoke a reaction," he said.
Colville said that one of the attacks was on a gym which he said was "known to be the haunt of a criminal gang".
"Targeting that gym was likely to provoke a reaction."
The UN was not in a position to make any direct accusations against any particular individuals or groups at this point, Colville said.
Witnesses have said the unrest started with mobs of Kyrgyz men attacking ethnic Uzbeks and torching their homes.
The interim government, which assumed power after the president was overthrown in April, has repeatedly accused Kurmanbek Bakiyev, the ousted president, of stoking the conflict.
Otunbayeva told Al Jazeera on Tuesday that she had "no doubt" Bakiyev was to blame.
"His sons have been discussing that they want to organise such a crisis and we thought not of such a scale and not of such a deepness," she said.
Audio recording
About a month ago, an audio recording was posted anonymously on YouTube with a caption identifying the voices as those of Bakiyev's son Maxim and his uncle Janybek.
The men were discussing plans to arm groups to spread chaos across the south of Kyrgyzstan, sometime in June.
Both men have denied the authenticity of the tape and Bakiyev has repeatedly said he has no involvement in the violence.
The interim government has accused Maxim Bakiyev of financing the ongoing clashes.
"This was all well organised, and the 'wallet' of these riots is the son of the former president, Maxim Bakiyev, who started financing the riots back in April," Atambayev, the deputy interim leader, said at a news conference.
The younger Bakiyev is said to have paid $10 million to organise the fighting. He was arrested by UK authorities on Monday as he landed at Farnborough airport in a private aircraft.
The Kyrgyz government said it would seek his extradition.
Tens of thousands of ethnic Uzbeks have fled fighting in the provinces of Jalal'abad and Osh.
The office of the UN High Commissioner for Refugees (UNHCR)
said 200,000 people had been displaced within the country in addition to 75,000 who had crossed the border into neighbouring Uzbekistan.
Uzbekistan closed the border on Monday to all except those with fresh wounds or special needs, saying it did not have resources to cope with the mass exodus.
It reopened three checkpoints to let in more than 60 wounded people late on Tuesday.
Medics in the Uzbek Andijan border region are struggling to treat the flood of refugees.
"We treated today a 28-year-old man who was tortured. He had signs of knife wounds on his neck, burned skin from scalding water and had been shot. We took out the bullet," Kozim Mahkamov, a doctor, said.
Another doctor said three sisters, aged between 16 and 23, had been raped in front of each other by a mob of Kyrgyz men.
"These girls were raped recently and by a lot of men and for several hours, according to their injuries," Mukaddas Majidova told AFP.
Schools and other public buildings have been transformed into makeshift refugee camps.
AL-JAZEERA.NET
14 June 2010
Lima maut, 24 cedera akibat bom dan tembakan selatan Thailand
BANGKOK 13 Jun - Kumpulan pejuang pemisah disyaki membunuh lima penduduk dan mencederakan 24 orang cedera dalam satu hari berdarah yang menyaksikan pengeboman dan tembak-menembak di kawasan bergolak selatan Thailand.
Menurut polis hari ini, dua butir bom tangan buatan sendiri yang dilontar kumpulan pemisah telah mengorbankan seorang sami Buddha berusia 35 tahun dan mencederakan 24 lagi penduduk.
Pada hari yang sama, empat lelaki terbunuh dalam satu insiden tembakan berasingan di Yala, Narathiwat dan Pattani.
Lebih 4,100 penduduk baik yang beragama Buddha atau Islam menjadi mangsa korban dalam pemberontakan enam di selatan Thailand yang tidak pernah menyatakan secara jelas matlamat mereka.
Wilayah itu merupakan sebahagian daripada Kesultanan Melayu sehinggalah dijajah Thailand pada 1902 dan sejak itu berlaku ketegangan yang seterusnya mencetuskan bermulanya pemberontakan pada Januari 2004. - AFP
UTUSAN ONLINE
Subscribe to:
Posts (Atom)