13 February 2010
โอเน็ต เอเน็ต คือกรรมที่เด็กไทยไม่ได้ก่อ!!..?
ซูฮัยมีย์ อาแว
เล่าสู่กันฟังเรื่องเด็กนักเรียน
ในฐานะครูคนหนึ่งอดมีความรู้สึกร่วมกับลูกๆ(ศิษย์)ไม่ได้ ซึ่งเด็ก ๆ มีความรูสึกกดดันที่จะต้องตระเตรียมเพื่อการสอบ แถมยังกังวลกับการมีชื่อหรือไม่ รวมทั้งกลุ้มใจกับการที่จะต้องรบกวนเงินของพ่อแม่ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกจิปาถะ
ทั้งๆที่รู้ทั้งรู้ว่าสอบแล้วก็ไม่ได้อะไรเพราะจะต้องเสียเงินและเวลาไปสอบตรงอีกครั้ง เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการ!
..โอว์ สุดยอดอะไรกันเนี้ยะ???
นี่ไง นโยบายที่ดี นี่ไง ธรรมาภิบาล และนี่ไง คือความถูกต้อง
ความเอือมระอาของเด็ก ๆ ถึงกับบ่นออกมาเปรียบเสมือนการประชดให้ครูได้ยินว่า กรรมชัดๆ ผมก็เลยแซวมันเล่นๆว่า "เธอเชื่อเรื่องกรรมด้วยเหรอ?" เด็กรีบบอกปัดทันทีว่าไม่ใช่ครับอาจารย์ แต่จำประโยคที่เขาพูดมา
แล้วมันมีความหมายว่าอย่างไรล่ะ ที่เขาพูดๆกัน? ผมแกล้งจี้ใจดำของเด็กๆเขา
เด็กก็เลยตอบว่า "ก็แปลว่าผู้ใหญ่คิดอะไรไม่ออกแล้วมาลงที่พวกเราไงอาจารย์ เขาคิดผิดคิดใหม่ได้ไม่เห็นจะเดือดร้อนแต่เราต้องเสียทั้งเงินทอง เวลาที่จะต้องเตรียมตัวสอบ ผลาญงบของพ่อแม่ไงล่ะอาจารย์" เด็กที่กำลังจะจบมัธยม6ปีนี้ตอบแบบกล้าคิดกล้าทำให้ผมได้เข้าใจว่า นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาบัดเดียวนี้ไม่ได้ด้อยน๋ะ อย่าเผลอพูดดูถูกเขาน่ะ เขารู้ทันผู้ใหญ่หมดเลยแหละ
แม้คนที่เป็นผู้นำบางคนยังต้องคิดตามหลังพวกเขาอีกน่ะจะบอกให้ช่วยสังเกตข่าวนี้หน่อย
"มาร์ค"เล็งโละระบบ "แอดมิสชั่นส์" เหตุมหาวิทยาลัยใช้วิธี "รับตรง" เกือบ100% ทปอ.ค้านอ้างสังคมยอมรับ
นายกฯ พอใจตรวจการบ้าน ศธ. ส่อยกเลิกระบบ"แอดมิสชั่นส์"อ้างมหาวิทยาลัย"รับตรง"เกือบทั้งหมด สั่งรมช.ปรับแนวทางบรรเทาภาระเด็ก ทปอ.ไม่ยอมให้แอดมิสชั่นหาย ชี้สังคมยอมรับยุติธรรมไร้ปัญหาเด็กฝาก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เล็งรื้อระบบแอดมิสชั่นส์ หลังตรวจการบ้านของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเปิดเผยถึงเรื่องนี้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ว่า งานของกระทรวงศึกษามีงานใหญ่ๆ ที่ทำปีที่แล้วไปได้มาก โดยเฉพาะเรื่องการเรียนฟรีและโครงการคืนครูให้นักเรียน โดยจะมีเรื่องผลในเชิงงบประมาณและปรับปรุงในบางเรื่อง แต่งานใหญ่ปี 2553 จะต้องผลักดันดันร่วมกันคืองานปฏิรูปโดยเฉพาะเรื่องของครูและเรื่องการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ รวมทั้งเรื่องของการผลักดันเป้าหมายการวิจัย และโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยก็ยังยืนยันเหมือนเดิม
"ส่วนเรื่องแอดมิสชั่นส์เป็นเรื่องที่บังเอิญที่ประชุมของอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอที่จะประเมินกันอีก 1 ปี แต่รัฐเป็นห่วงค่อนข้างมาก เพราะขณะนี้ระบบแอดมิสชั่นส์แทบจะหมดความสำคัญไปเพราะจะกลายเป็นระบบที่มหาวิทยาลัยรับตรงเกือบหมด ตอนนี้สัดส่วนอาจจะเหลือแค่ร้อยละ 20 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของระบบแอดมิสชั่นส์" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในที่สุดต้องยกเลิกระบบแอดมิสชั่นส์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ขณะนี้จะเปลี่ยนโดยปริยายไปเป็นระบบรับตรง ถ้าหากว่าไม่มีการปรับปรุง ในเรื่องนี้ซึ่งทางนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกแนวทางที่จะทำให้การรับตรงไม่เป็นภาระกับนักเรียนมากจนเกินไป คือจะมีการประสานงานได้ระดับหนึ่ง
เมื่อถามว่า แสดงว่าจะมีการรับตรงภายในอีก 1 ปี ในช่วงที่มีการขยายระบบแอดมิสชั่นส์ออกไป นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องรับตรงนั้นเป็นการตัดสินใจของเด็กนักเรียนเอง ซึ่งเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาระบบแอดมิสชั่นส์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่รัฐบาลอยากจะเร่งรัด แต่บังเอิญทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยที่มีอำนาจขอเวลาที่จะประเมินระบบแอดมิสชั่นส์ไปอีก 1 ปี
ส่วนจะมีการวางระบบการศึกษาที่ถาวรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จริงๆ แล้วขณะนี้พยายามไม่เปลี่ยนและไม่มีการเปลี่ยนกลางคัน แต่ว่ารายละเอียดในการจัดการขณะนี้พยายามเข้าไปดู แต่ส่วนหนึ่งเป็นอำนาจของอธิการบดีซึ่งจะทำร่วมกันในที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย
ด้านนายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวกรณีนายกรัฐมนตรีระบุว่า ถ้า ทปอ.ยังไม่ปรับปรุงระบบแอดมิสชั่นส์ จะทำให้ระบบนี้หายไป เหลือแต่ระบบรับตรง 100% ว่า ระบบแอดมิสชั่นส์จะไม่หายไป และ ทปอ.ก็จะไม่ยอมให้หายไปด้วย เพราะระบบนี้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากระบบเอ็นทรานซ์ ซึ่งเป็นระบบที่สังคมยอมรับว่าบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่มีปัญหาเด็กฝาก และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กทุกคน
"แต่การปรับปรุงระบบแอดมิสชั่นส์ต้องใช้เวลาศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ถ้าจะปรับปรุงคงต้องดำเนินการหลังปีการศึกษา 2554 ไปแล้ว ทปอ.จะนำข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรีที่เคยตั้งข้อสังเกตในเรื่องแอดมิสชั่นส์ไว้เข้าหารือในที่ประชุม ทปอ.นัดหน้า วันที่ 3 เมษายนนี้ รวมถึงประเด็นสัดส่วนรับนักศึกษาระหว่างระบบรับตรงกับแอดมิสชั่นส์กลางด้วย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 50:50 ทั้งนี้ ยืนยันว่า ทปอ.ไม่ได้ละเลยข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรี และจะนำไปหารือกันต่อไป" ประธาน ทปอ.ระบุ
วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคตรัง จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางวิทยาลัยเปิดให้ผู้ปกครองพานักเรียนที่ประสงค์เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยมายืนยันสิทธิ โดยแต่ละคณะตั้งโต๊ะรับลงทะเบียนพร้อมให้ผู้ปกครองจ่ายเงิน 1,000 บาท ระหว่างนั้นนายวชิร โอภิธากร อาจารย์ 3 ภาควิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ถือไมโครโฟนมาเปิดไฮด์ปาร์ก แจ้งผู้ปกครองนักเรียนว่าไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าว เนื่องจากทางวิทยาลัยไม่สามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้ พร้อมกล่าวโจมตีอาจารย์ที่รับลงทะเบียน และนายปรีชา ทวิชาติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตรัง ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้ปกครองและอาจารย์ และมีผู้ปกครองบางรายไม่ยอมจ่ายเงินดังกล่าว
นายวชิรกล่าวว่า นักเรียนและผู้ปกครองเพียงมายืนยันสิทธิ ซึ่งวิทยาลัยไม่สามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้ ส่วนที่นายปรีชา ผอ.วิทยาลัยเทคนิคตรัง ทำหนังสือขอสนับสนุนไปยังผู้ปกครองโดยให้เหตุผลว่า เพื่อจัดทำโครงการสนับสนุนค่าสาธารณูปโภค โครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิชาการและด้านอื่น ค่าจ้างครูต่างประเทศ และค่าจ้างครูอัตราจ้างนั้น ใช้เงินบำรุงการศึกษาอยู่แล้ว การเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองอีกจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ขัดต่อนโยบายรัฐบาลเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งตนจะทำหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป
ด้านนายปรีชากล่าวว่า การขอรับการสนับสนุนเงิน 1,000 บาท เป็นการระดมทุนนำเงินมาพัฒนาวิทยาลัย โดยมีใบเสร็จรับเงินให้ จะนำเข้าหมวดเงินบารุงการศึกษาของวิทยาลัย โดยดำเนินการตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บเงินบำรุงการศึกษา การบริจาคและการระดมทรัพยากรเพื่อใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนหลักสูตรระดับ ปวช. สามารถขอสนับสนุนจากผู้ปกครองได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท อีกทั้งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาของวิทยาลัยแล้ว
นักเรียนที่มายืนยันสิทธิในวันนี้ เป็นนักเรียนระบบโควต้า เมื่อผ่านการยืนยันสิทธิแล้วจะเข้าเรียนทันที วิทยาลัยขอรับเงินสนับสนุนเพื่อยืนยันว่าเด็กที่มาต้องการเข้าเรียนจริง เพราะหากไม่ปฏิบัติเช่นนี้ หากนักเรียนที่ยืนยันสิทธิไม่มาเรียน ทำให้นักเรียนอื่นๆ ต้องเสียโอกาส ทั้งนี้ ขอยืนยันในความโปร่งใส และพร้อมให้ตรวจสอบŽ นายปรีชากล่าว
นสพ.มติชน 12/2/10
Subscribe to:
Posts (Atom)