16 February 2011
Angry protest follows second death in Bahrain
By ARAB NEWS
Published: Feb 15, 2011 23:48 Updated: Feb 16, 2011 01:18
MANAMA: Thousands of Bahrainis demonstrated against the government after a second protester died in clashes with police on Tuesday. The protests in a country, which saw deadly unrest in the 1990s, prompted Formula One boss Bernie Ecclestone to voice concern about next month’s Grand Prix, which opens the new Formula One season.
Cyber activists outraged by the killing of the two protesters had called for the Manama demonstration on Facebook.
King Hamad bin Isa Al Khalifa expressed sorrow over the deaths on Monday and Tuesday morning and ordered the formation of a committee to investigate them.
King Hamad offered in a televised address on Tuesday afternoon his condolences to the families of the victims.
The special committee will be headed by Deputy Prime Minister Jawwad Al-Arayyedh and will determine the reasons behind the regretful incidents, the king said in his speech broadcast by Bahrain Television.
King Hamad said that he would ask Parliament to look into the events and recommend the necessary legislation to address the issue in the interest of the homeland
“We will request the legislative body to look into this phenomenon and to suggest proposals required to address it for the interest of the nation and citizens,” King Hamad said.
Bahrain’s largest parliamentary bloc Al-Wefaq, which accuses the ruler of discriminating and neglecting a section, responded to the violence by suspending its participation in the lower house of Parliament following the death of the two protesters.
The bloc did not say when it would be ready to reverse the decision. Senior figures from Al-Wefaq bloc and the National Democratic Action Society attended the demonstration.
“This is your only and last chance,” read a banner carried by protesters who descended on Manama’s Pearl Roundabout, shortly after the funeral of one of the two demonstrators.
Protesters appeared to have turned a deaf ear to King Hamad’s address. Demonstrators want a “contractual constitution and a peaceful transfer of power,” said MP Mohammed Mezaal, of the opposition Islamic National Accord Association whose 18 MPs walked out of the 40-member Parliament,
The decision came because of “the deterioration in security and the negative and brutal way in which (authorities) dealt with the protesters, killing two of them,” said another of the bloc’s MPs, Khalil Al-Marzooq. Enraged mourners chanted anti-government slogans. Later they prayed together at the roundabout. Hundreds of young men and women waved Bahraini flag and carried placards calling for the release of political prisoners and constitutional reforms.
Riot police continued to be on standby but did not interfere in the protest. Many in the square chanted: “No Sunnis, no Shiites. We are all Bahrainis.”
It also appeared they were planning for the long haul as many of them brought blankets and carpets to brave the cold weather. Some groups carried in tents and sought generators to set up under a nearly 300-foot monument cradling a giant white pearl-shaped ball that symbolizes the country’s heritage as a pearl diving center.
Fadel Salman Matrouk was shot dead in front of a hospital on Tuesday where mourners gathered for the funeral of Ali Msheymah who died of his wounds after police dispersed a protest in a village east of Manama on Monday, Marzooq said.
King Hamad said the reform process, which saw the restoration in 2002 of the Parliament dissolved in 1975, would continue. The opposition has long complained that the elected chamber’s legislative authority is shared with a new appointed upper house. “Reform is going ahead. It will not stop,” the king said.
Thousands attended Msheymah’s funeral in Diya.
The Formula One chief told London’s Daily Telegraph newspaper that it was too early to consider the possibility of calling off next month’s Bahrain Grand Prix but said that he planned to contact Crown Prince Salman about the risk of protests.
PrintEmailShare
Source:ARABNEWS
Ikhwan cadang tubuh parti
KAHERAH, 16 Feb: Ikhwan Muslimin Mesir berkata, mereka akan menubuhkan parti politik di negara itu jika diberi kebebasan berpolitik.
Ahli Biro Politik pertubuhan itu, Mohammed Mursi, berkata Ikhwanul Muslimin yakin dalam suasana negara itu kini, mereka akan dibenarkan menubuhkan parti politik, lapor AFP.
“Halangan ke atas Ikhwanul Muslimin mencapai matlamatnya sebelum ini adalah undang-undang negara yang mewajibkan penubuhan parti politik mendapat persetujuan Parti Demokratik Nasional (pimpinan Hosni),” katanya kepada media, semalam.
Mereka turut mendakwa waktu ini adalah peluang terbaik selepas Hosni Mubarak yang mengharamkan kumpulan itu disingkirkan.
Menjadi kumpulan pembangkang paling berpengaruh dan tersusun di Mesir, Ikhwanul Muslimin meyertai pilihan raya atas kapasiti calon bebas.
Pada 2005, mereka menggunakan slogan 'Islam Adalah Penyelesaian' dan berjaya memenangi 20 peratus kerusi di Parlimen.
Bagaimanapun, Ikhwan Muslimin memboikot pilihan raya umum terbaru tahun lalu kerana rejim Hosni terbabit dalam penyelewengan bagi memastikan mereka kekal berkuasa.
Walaupun menyertai protes besar-besaran baru-baru ini, Ikhwan Muslimin menyatakan, mereka tidak akan menyertai pilihan raya presiden bagi menggantikan Hosni.
Difahamkan hanya Ikhwan Muslimin sahaja yang bersedia menghadapi pilihan raya dalam masa terdekat.
Pada masa sama, mereka dicurigai Barat dan kumpulan sekular kerana dibimbangi melaksanakan undang-undang Islam jika berkuasa nanti.
Bagaimanapun, Ikhwan Muslimin menafikan dakwaan itu dan bertegas menyokong tuntutan demokrasi menyeluruh di Mesir.
Ulama muktabar dunia Islam Sheikh Yusuf Al-Qaradawi sebelum ini turut berpendapat bahawa menuntut kebebasan adalah lebih utama berbanding melaksanakan undang-undang Islam di negara Tmur Tengah itu.
Maklumat:HARAKAH DAILY.NET
15 February 2011
Nik Aziz: Mubarak tersungkur kerana campurtangan Allah
Menteri Besar Kelantan Datuk Nik Abdul Aziz Nik Mat menyifatkan kejatuhan Hosni Mubarak sebagai presiden Mesir
Sabtu lalu (waktu Malaysia) disebabkan campurtangan Allah.
"Pandangan saya, ia benar-benar merupakan kuasa Allah SWT. Nampak sangat berlakunya
campur tangan Allah SWT di dalam menjatuhkan rejim ini.
"Siapa yang menyangka Dataran Tahrir boleh memuatkan tiga juta manusia untuk mendesak Hosni Mubarak berundur?" katanya.
Nik Aziz berkata usaha menjatuhkan Mubarak akibat usaha rakyat Mesir berkampung selama 18 hari di Dataran Tahrir di Kaherah bagi memastikan matlamat tercapai walaupun tanpa jaminan makan minum dan pengurusan seharian mereka.
"Pastinya ia terhasil ekoran perasaan tidak puas hati yang telah sekian lama terpendam. Tanpa peluru dan tanpa senjata, mereka akhirnya berhasil menjatuhkan Mubarak," katanya.
Menurut mursyidul am PAS itu lagi, sejarah negara itu menyaksikan penindasan terhadap para ulama yang begitu lama termasuk oleh Firaun yang mengaku dirinya tuhan.
"Yakinlah, kuasa Allah SWT mengatasi segala-galanya. Allah SWT yang pernah membekukan lautan untuk Nabi Musa itulah juga yang telah menjadikan api menjadi sejuk untuk Nabi Ibrahim.
"Dialah juga yang telah menyelamatkan perjalanan Nabi Muhammad SAW ke Madinah dari dikesan oleh special branch (cawangan khas) Quraisy.
"Maka, pelikkah jika Allah SWT boleh menjatuhkan mana-mana kerajaan pada hari ini dengan kuasa-Nya?" tegas Nik Aziz dalam satu kenyataan.
Terimakasih maklumat:MALAYSIA KINI
14 February 2011
Bangkok sertai mesyuarat tergempar ASEAN
BANGKOK 13 Feb. - Perdana Menteri Thailand, Abhisit Vejjajiva hari ini berkata, Bangkok bersetuju untuk menyertai mesyuarat tergempar ASEAN bagi membincangkan pertikaian sempadan antara negara ini dengan Kemboja.
Abhisit dalam program mingguannya di televisyen mengesahkan satu mesyuarat Menteri-menteri Luar ASEAN akan diadakan di Jakarta pada 26 Februari ini bagi membincangkan konflik sempadan Thai-Kemboja berhubung kuil Preah Vihear yang mencetuskan pertempuran di sempadan kedua-dua negara awal bulan ini.
Mesyuarat tergempar itu adalah atas inisiatif Menteri Luar Indonesia, Marty Natalegawa sebagai sebahagian usaha diplomatik beliau untuk mencari penyelesaian secara aman terhadap pertikaian sempadan antara kedua-dua negara anggota ASEAN itu.
Pertempuran tercetus antara askar Thai dan Kemboja yang berpangkalan dekat kuil purba Hindu itu pada 4 hingga 7 Februari lalu, menyebabkan tiga askar Thai dan lima askar Kemboja terbunuh, manakala berpuluh-puluh lagi cedera.
Insiden itu ialah pertempuran terbaru yang meletus di sempadan Thai-Kemboja sejak Julai 2008, apabila Pertubuhan Pendidikan, Sains dan Kebudayaan Pertubuhan Bangsa-Bangsa Bersatu (UNESCO) mengisytiharkan kuil tersebut sebagai tapak Warisan Dunia, tanpa menghiraukan bantahan Thai yang mendakwa kawasan seluas 4.6 kilometer persegi bersebelahan kuil itu sebagai wilayah kedaulatannya.
Thailand selama ini mahu konflik sempadan itu diselesaikan secara dua hala, tetapi Kemboja nampaknya mula mencapai kemajuan dalam usahanya untuk melibatkan campur tangan antarabangsa.
Menteri Luar Thailand, Kasit Piromnya dan rakan sejawatannya dari Kemboja, Hor Namhong akan bertemu di New York esok untuk menjelaskan pendirian masing-masing mengenai isu itu kepada Majlis Keselamatan PBB.
Indonesia selaku Pengerusi ASEAN sekarang akan menghantar Natalegawa untuk menyertai sidang di PBB itu dan kemudian beliau akan menganjurkan mesyuarat tergempar ASEAN mengenai konflik tersebut pada 26 Februari ini.
Kata Natalegawa, peranan beliau adalah untuk memudahkan penyelesaian dua hala dicapai antara Bangkok dengan Phnom Penh. - Agensi
Terimakasih maklumat: UTUSAN ONLINE
ประวัติศาสตร์เรื่อง"การเสียดินแดน"
บทความโดย ธงชัย วินิจจะกูล
1. เข้าใจผิดว่า รัฐสมัยเก่า (ก่อนศตวรรษที่ 20) ถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องใหญ่
ความจริง – รัฐสมัยเก่าไม่ถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมัยเก่าเป็นเรื่องของเจ้าที่มีอำนาจมากถืออำนาจบาตร ใหญ่เหนือเจ้าที่มีอำนาจน้อยกว่า ลดหลั่นเป็นลำดับชั้นกันลงไป คือ เป็นความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อนั่นเอง เจ้าพ่อรายใหญ่ย่อมเรียก “ค่าคุ้มครอง” จากเจ้าพ่อรายเล็กกว่าในรูปของส่วยสาอากรผลประโยชน์ต่างๆและไพร่พล จากนั้นเจ้าพ่อทั้งรายใหญ่รายเล็กก็ไปขูดรีดเอากับไพร่ฟ้าข้าไทในเขตอิทธิพล ของตนอีกทอดหนึ่ง
อำนาจของเจ้าพ่อรายเล็กจึงอยู่ที่อำนาจเหนือไพร่ฟ้าข้า ไทในเขตอิทธิพลของตน อำนาจของเจ้าพ่อรายใหญ่จึงอยู่ที่อำนาจเหนือเจ้าพ่อรายเล็กและไพร่ฟ้าข้าไท ในเขตอิทธิพลของตน อธิปไตยเหนือดินแดนแบบสมัยนี้ยังไม่มี อำนาจขององค์อธิปัตย์หมายถึงอำนาจเหนือคน คือ เหนือเจ้าพ่อรายเล็กและไพร่ฟ้าข้าไท ไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตชัดเจน บางทีก็มีบางทีก็ไม่มี ไพร่ฟ้าจะเดินทางไกลไปไหนต่อไหนก็ยังถือว่ายังอยู่ ใต้อำนาจของเจ้าองค์เดิม หรือที่เรียกว่า “ใต่ร่มพระบรมโพธิสมภาร” ของเจ้าองค์เดิม
“ดินแดน” ที่รัฐสมัยเก่าหวงแหนสุดขีดคือเมืองและวัง เพราะหมายถึงอำนาจของเจ้าพ่อ รัฐสมัยเก่าไม่หวงแหนชายแดน ยกให้เป็นของขวัญแก่ฝรั่งอังกฤษมาแล้วก็มี
2. เข้าใจผิดว่า เมืองขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของอธิปไตยของรัฐเจ้าพ่อใหญ่
ความจริง – เจ้าพ่อรายเล็กที่ยอมเป็นเมืองขึ้นหรือประเทศราชของรัฐเจ้าพ่อใหญ่ยังคงมี อำนาจเหนือเมือง วัง ไพร่ฟ้าข้าไทและเขตอิทธิพลของตน เพียงแต่ไม่ถือว่าเป็น “อิสระ” (คำว่า “อิสระ” แต่เดิมหมายถึงเป็นใหญ่สูงสุด ความหมายเพิ่งเปลี่ยนเป็น independence พร้อมๆกับรัฐสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 นี่เอง) จะถือว่าเป็น “อิสระ” ได้ยังไงในเมื่อยอมสวามิภักดิ์ต่อรัฐเจ้าพ่อใหญ่ แต่การสวามิภักดิ์มิได้หมายถึงตกเป็นสมบัติของรัฐเจ้าพ่อใหญ่แต่อย่างใด เพียงหมายถึงยอมอยู่ใต้อำนาจบาตรใหญ่ “ความคุ้มครอง” ของเจ้าพ่อรายใหญ่กว่าและยอมจ่าย “ค่าคุ้มครอง” ตามที่เจ้าพ่อรายใหญ่เรียกมาเท่านั้นเอง
“เขตอิทธิพล” หรือดินแดนที่ไม่มีขอบเขตชัดเจนของเมืองขึ้นหรือประเทศราชจึงไม่ใช่สมบัติ ของเจ้าพ่อรายใหญ่ แต่แน่นอนว่าเจ้าพ่อใหญ่อย่างเจ้ากรุงเทพฯย่อมถือว่าประเทศราชเป็นสมบัติของ ตน
ทัศนะที่ถือว่าประเทศราชและดินแดนชายขอบอำนาจเป็นของ ประเทศไทยมาแต่โบราณ เช่น สุโขทัยเป็นเจ้าของทั้งแหลมมลายู จึงเป็นทัศนะประวัติศาสตร์แบบเจ้าพ่อใหญ่ เช่น เจ้ากรุงเทพฯ เจ้าอังวะ หงสา ฯลฯ แต่ทว่าไทย/สยามที่เป็นรัฐแบบชาติสมัยใหม่กลับรักษาทัศนะประวัติศาสตร์ของ เจ้ากรุงเทพฯและยกให้เป็นประวัติศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย ประวัติศาสตร์ไทยจึงเป็น “ราชาชาตินิยม” คือไม่ใช่แค่ชาตินิยมอย่างประเทศอื่น แต่เป็นชาตินิยมที่คิดแบบเจ้ากรุงเทพฯ เช่น ถือว่าประเทศราชและดินแดนชายขอบอำนาจเป็นของประเทศไทยมาแต่โบราณ
3. เข้าใจผิดว่า เมืองขึ้นหรือประเทศราชหนึ่งย่อมขึ้นต่อเจ้าพ่อรายใหญ่เพียงรายเดียว เมือง ขึ้นของสยามย่อมขึ้นต่อสยามเท่านั้น ดังนั้นดินแดนประเทศราชย่อมเป็นของประเทศสยามแต่ผู้เดียว
ความจริง – ประเทศราชของอยุธยาและกรุงเทพฯแทบทั้งหมดในประวัติศาสตร์เป็นเมืองขึ้นของ เจ้าพ่อใหญ่รายอื่นด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น พม่า (อังวะ หงสาวดี) และเวียดนาม (เว้ ตังเกี๋ย) เพราะในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมัยเก่าแบบเจ้าพ่อนั้น รัฐเล็กๆถือว่ายอม อ่อนน้อมต่อเจ้าพ่อใหญ่ดีกว่าโดนเจ้าพ่อลงโทษ ครั้นเจ้าพ่อใหญ่หลายรายมาเรียก “ค่าคุ้มครอง” ก็ยอมซะเท่าที่ยังพอทนไหว (หากทนไม่ไหวค่อยฟ้องเจ้าพ่อ ก. ให้มาจัดการกับเจ้าพ่อ ข.) ประเทศราชของอยุธยาและกรุงเทพฯเป็นประเทศราชของ 2-3 เจ้าพ่อใหญ่ในเวลาเดียวกัน เจ้ากรุงเทพฯมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 รู้ข้อนี้ดีว่าประเทศราชไม่เคยขึ้นต่อสยามแต่ผู้เดียว
ดังนั้น ขอบข่ายอำนาจของเจ้าพ่อใหญ่อย่าง สยาม พม่า เวียดนามจึงซ้อนทับกันเป็นแถบเบ้อเริ่ม เพราะต่างมีประเทศราชร่วมกัน อำนาจซ้อนทับแบบนี้ไม่เป็นปัญหาต้องแบ่งปันกันหรือรบราฆ่ากันเพราะทุกรัฐ สมัยเก่าขอแค่ประเทศราชยอมสวามิภักดิ์และจ่ายค่าคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นใช้ได้
แต่ครั้นทุกรัฐรับธรรมเนียมสมัยใหม่จากฝรั่งในปลายศตวรรษที่ 19 ที่ไม่ยอมรับอำนาจเหนือดินแดนแบบซ้อนทับอีกต่อไป และถือการครอบครองดินแดนเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องแย่งชิงกันว่าดินแดนของประเทศราชเป็นของใครกันแน่แต่ผู้เดียว ความขัดแย้งระหว่างสยามกับอังกฤษ ฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การพยายามแข่งขันกันช่วงชิงดินแดนประเทศราชมาเป็นของตนแต่ผู้เดียว กรณี “เสียดินแดน” คือผลของการแย่งชิงกันแล้วสยามแพ้ สยาม“ไม่ได้ดินแดนมาเป็นของสยามแต่ผู้เดียว” ฝรั่งชนะจึงได้ไป
ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมของรัฐไทยสมัยใหม่จึงแย่ยิ่งกว่าเจ้ากรุงเทพฯแบบก่อนศตวรรษที่ 20 เสียอีก คือ หลงคิดว่าประเทศราชเป็นของตนแต่ผู้เดียวมาแต่โบราณ ครั้นแย่งดินแดนประเทศราชกันแล้วแพ้เขา จึงเรียกว่า “ไทยเสียดินแดน”
4. เข้าใจผิดว่า ดินแดนของรัฐสมัยเก่ากำหนดชัดเจนแน่นอนว่าตรงไหนของใคร จึงสามารถพูดได้ว่า ไทยเสียดินแดนไปกี่ครั้งกี่ตารางกิโลเมตร
ความจริง – จากที่อธิบายมาข้างต้นคงเห็นแล้วว่า อำนาจดินแดนของรัฐสมัยเก่ามีทั้งซ้อนทับกันและโดยมากไม่กำหนดขอบเขตดินแดน ชัดเจน ดินแดนของรัฐสยามสมัยใหม่ที่ชัดเจนมีเส้นเขตแบ่งปันเพิ่งเกิดขึ้นมาก็ต่อ เมื่อแย่งชิงกันจบด้วยกำลังทหาร (ซึ่งสยามสู้ฝรั่งไม่ไหว) สยามจึงไม่เคยเสียดินแดนที่ไม่เคยเป็นของตน
ในเมื่อไม่เคยเป็นเจ้าของดินแดนประเทศราช ไม่เคยเป็นเจ้าพ่อใหญ่แต่ผู้เดียวด้วยซ้ำไป แถมอำนาจเหนือดินแดนไม่มีขอบเขตชัดเจน การ “เสีย ดินแดน” แท้ที่จริงแล้วจึงเป็นการเสียอำนาจแบบเจ้าพ่อแบบโบราณ คือ ไม่สามารถอวดอ้างความเป็นอธิราชได้อีกต่อไป เรียกให้เขาอ่อนน้อมไม่ได้แล้ว เรียกเก็บผลประโยชน์ก็ไม่ได้เช่นกัน ในจารีตแบบรัฐราชาธิราชหรือรัฐเจ้าพ่อแบบสมัยเก่านั้น นี่เป็นการเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินอย่างที่สุดประเภทหนึ่ง ความเจ็บปวดของเจ้ากรุงเทพฯจึงเป็นเรื่องของการที่พระองค์เสียพระเกียรติยศ อย่างสาหัส ไม่ใช่การ “เสียดินแดน” ในแบบที่เราวัดกันออกมาได้เป็นตารางกิโลเมตร
กล่าวโดยสรุป ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมเรื่องการ “เสียดินแดน” มีองค์ประกอบทางปัญญาสำคัญ 2 ประการ คือ
1.ต้องอ้างว่าเป็นเจ้าของดินแดนประเทศราชมาแต่โบราณซึ่งเป็นทัศนะประวัติศาสตร์ของเจ้ากรุงเทพฯ และต้อง ถือเอาความเจ็บปวดของเจ้ากรุงเทพฯมาเป็นของตนด้วย
2.ต้องอ้างว่าเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวแบบชาตินิยมของรัฐชาติสมัยใหม่
องค์ประกอบทั้งสองประการเริ่มประมวลเข้าด้วยกันวาทการวาทกรรมการ “เสีย ดินแดน” โดยฝีมือของนักชาตินิยมอย่างหลวงวิจิตรวาทการและอีกหลายคนร่วมสมัยกับเขา โดยเริมผลิตมาตั้งแต่ประมาณต้นทศวรรษ 2470 (ก่อนการเปลี่ยนแปลง 2475 เล็กน้อย) และกลายเป็นส่วนสำคัญของลัทธิชาตินิยมของรัฐไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อันนำไปสู่การ “เรียกร้องดินแดนคืน” ในปี 2483และกรณีดังกล่าวมีผลให้วาทกรรมและความเข้าใจประวัติศาสตร์ (ผิดๆ) เรื่องการ “เสียดินแดน” ฝังแน่นในสังคมไทย
วาทกรรมและประวัติศาสตร์การ “เสีย ดินแดน” เป็นประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมตัวพ่อ คือ ทั้งทรงพลัีง เป็นฐานอย่างหนึ่งที่มีส่วนก่อรูปก่อร่างความคิดชาตินิยมของไทยตั้งแต่เริ่ม และยังคงเป็นฐานรากค้ำจุนชาตินิยมของไทยมาจนทุกวันนี้ แถมยังเป็นฐานภูมิปัญญาไทยอย่างหนึ่งที่ให้กำเนิดอุดมการณ์ ความเชื่อ วาทกรรมชาตินิยมอีกมากมาย
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีเอกสาร power point ชุดหนึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวาง เสนอว่า “ไทยเสียดินแดน” มาทั้งหมด 14 ครั้ง นี่เป็นตัวอย่างผลผลิตของประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมตัวพ่อที่สามารถผลิต โฆษณาชวนเชื่อเหลวไหลได้อย่างไม่มีขีดจำกัด อ้างไปได้เรื่อยว่าปีนัง ทวาย มะริด ตะนาวศรี ฯลฯ เป็นของไทยแต่เสียไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แม้แต่นักชาตินิยมรุ่นหลวงวิจิตรวาทการยังไม่เคยเพ้อเจ้อไปไกลขนาดนั้น คือในระยะแรกที่วาทกรรมการ “เสีย ดินแดน” เริ่มปรากฏตัวนั้น อย่างมากก็เสนอว่าเสีย 3-5 ครั้งและทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการแย่งชิงกับฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยิ่งนานวัน จำนวนครั้งและดินแดนที่อ้างว่าเสียไปกลับมากขึ้นทุกที เพราะตัวเลขเหล่านี้ไม่มีหลักฐานหลักเกณฑ์ใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงการมอมเมาให้ไพร่ราษฎรหลงผิดงมงายกับประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม เอาความแค้นของเจ้ากรุงเทพฯและความคลั่งชาติมาเป็นความคิดของตน ยอมไปตายแทนเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองไทย
คนที่ยังหลงงมงายกับประวัติ ศาสตร์การ “เสียดินแดน” ก็เท่ากับยังหลงเชื่อประวัติศาสตร์แบบที่เจ้ากรุงเทพฯและพวกอำมาตย์ชาตินิยม ต้องการ มีแต่คนที่รับใช้เจ้าจนตัวตายรับใช้เจ้านายห้วปักหัวปำเท่านั้นแหละที่เที่ยวป่าวร้องอยู่ในกรุงเทพฯให้ไพร่ราบทหารเกณฑ์ไปตายแทน
ชาตินิยมที่กำลังบ้าคลั่งอยู่ในขณะนี้ก็เป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมเรื่อง “เสีย ดินแดน” ปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศเป็นมรดกตกทอดจากยุคอาณานิคมอย่างไม่ต้องสงสัย แถมยังมีอีกหลายแห่งรอบชายแดนประเทศไทย ไม่ใช่แค่ชายแดนกัมพูชา ที่ไม่มีทางแก้ตกง่ายๆ หรืออาจคาราคาซังแก้ไม่มีทางหมดสิ้นก็เป็นได้ เพราะรากเหง้าของปัญหามาจากระบบความสัมพันธ์ของรัฐแบบสมัยก่อนไม่ถือดินแดน ที่ชัดเจนตายตัว กับความสัมพันธ์แบบรัฐชาติสมัยใหม่ที่ถืออธิปไตยเหนือดินแดนที่ชัดเจนตายตัว เป็นเรื่องใหญ่ เข้ากันไม่ได้
การวางตัวเป็นเจ้าพ่อใหญ่อย่างที่ ทำมาค่อนศตวรรษและกำลังทำอยู่ในขณะนี้ อย่างเก่งก็ชนะได้ชั่วคราว แล้วก็ต้องรบอีกครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่ได้ช่วยให้ปัญหาคลี่คลายลงเลยสัก นิด และหากจะใช้วิธีนี้คงต้องรบกับเพื่อนบ้านทุกด้ายตลอดแนวชายแดน เพราะมีปัญหาทั้งนั้น
การป่าวร้องว่าเขตแดนเป็นมรดกตกทอดจากยุคอาณานิคม เราจึงต้องไม่ยอมรับแผนที่ฝรั่ง ศาลฝรั่ง เขตแดนแบบฝรั่ง และจึงชอบธรรมที่จะไปเอาดินแดนคืนมา นี่เป็นเหตุผลแบบราชาชาตินิยมวิปลาศแบบสุดๆ คือ ถือว่าไทยยังเป็นเจ้าพ่อที่อ้างความเป็นใหญ่และเป็นเจ้าของดินแดนที่ไม่เคย เป็นของตน นี่ก็เป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมตัวพ่อ
คนที่กล่าวหาว่าคนอื่น “โง่” 3-4 ชั้นหลงตามฝรั่งในเรื่องเส้นเขตแดนจนเสียดินแดนให้เขมร คือพวกเกลียดตัวกินไข่ เพราะ ชาติ ชาตินิยม อธิปไตยเหนือดินแดนแบบที่พวกเขาโฆษณาชวนเชื่ออยู่ ล้วนเป็นของที่ไทยรับเอามาจากฝรั่งทั้งนั้น ในเมื่อเราหลีกไม่พ้นที่จะต้องอยู่กับมาตรฐานความสัมพันธ์กันแบบรัฐชาติสมัย ใหม่ที่เริ่มมาจากฝรั่ง เราก็ควรรู้เท่าทัน รู้จักปรับตัว ไม่งมงายไปกับชาตินิยมหรือประวัิติศาสตร์อันตรายอย่างการ “เสียดินแดน” คนพวกนี้เที่ยวกล่าวหาคนอื่นว่าหลงฝรั่ง แต่กลับเสพติดงมงายกับสิ่งอันตรายที่ฝรั่งยุคอาณานิคมและยุคฟาสซิสต์ทิ้งไว้ ให้สังคมไทย หยุดหลอกลวงประชาราษฎรไปตายแทนลัทธิราชาชาตินิยมเสียที หาทางออกที่มีอารยธรรมกว่าสงครามไม่ดีกว่าหรือ หรือว่าราชาชาตินิยมหมดท่าแล้ว จึงต้องใช้วิถีทางอนารยะบ้าคลั่งอย่างที่พยายามทำกันอยู่
หมายเหตุ:จากบทความเดิมชื่อ:“เสียดินแดน” เป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน (เพราะ “ไทย” ไม่เคยเสียดินแดน)
13 February 2011
เยเมน ส่อเค้าตามรอยตูนิเซีย อียิปต์ หลังประชาชนจำนวนมากออกมาชุมนุมต้านปธน.
ประชาชนชาวเยเมนหลายพันคนได้ออกมาชุมนุมกันบนท้องถนนของกรุงซาน่า นครหลวงของประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ลาออกจากตำแหน่งในทันที
ประธานาธิบดีซาเลห์ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 แต่หลังจากถูกประชาชนชุมนุมต่อต้านจากกระแส "ปฏิวัติดอกมะลิ" ในโลกอาหรับ เขาจึงให้คำมั่นสัญญาว่าจะลงจากตำแหน่งหลังจากหมดวาระในปี พ.ศ.2556 และจะไม่ส่งมอบอำนาจในการเป็นผู้นำให้แก่บุตรชายของตนเองอย่างแน่นอน
ในการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ ประชาชนชาวเยเมนได้รับแรงบันดาลใจสำคัญจากชาวอียิปต์ที่เพิ่ง "ประสบความสำเร็จ" ในการขับไล่อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ออกจากตำแหน่ง โดยผู้ชุมนุมบางส่วนกู่ตะโกนว่า "หลังจากมูบารัค, ตอนนี้ก็ถึงคราวของอาลี" และ "ปฏิวัติเยเมน หลังปฏิวัติอียิปต์"
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลกับผู้สนับสนุนรัฐบาล โดยมีกลุ่มชายฉกรรจ์ใช้อาวุธมีดและท่อนไม้มาทำร้ายร่างการผู้ชุมนุมที่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีซาเลห์ลาออก ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนได้ทำร้ายร่างกายกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตำรวจเยเมนได้จับกุมประชาชนจำนวน 10 คนไปคุมขัง หลังจากพวกเขาได้ออกมาร่วมเฉลิมฉลองบนท้องถนน เพราะทราบข่าวว่าอดีตประธานาธิบดีมูบารัคแห่งอียิปต์ได้ประกาศสละตำแหน่ง
Subscribe to:
Posts (Atom)