08 October 2010
06 October 2010
นักศึกษาฝรั่งเศสมาแนวใหม่ ต่อต้านกฎหมายห้ามบุรก้า
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
สำนักข่าวมุสลิมไทย
สำนักข่าวอัล-อาราบิญา – นักศึกษาหญิงชาวฝรั่งเศส 2 คน ถ่ายทำหนังเพื่อประท้วงการที่รัฐบาลฝรั่งเศส ผ่านกฎหมายห้ามสวมชุดที่แสดงถึงความเคร่งครัดทางศาสนา โดยการแต่งกายคลุมหน้าแต่สวมกระโปรงสั้นเปิดเผยช่วงขา ออกไปเดินตามท้องถนน
นักศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ และการสื่อสาร ระบุในเว็ปไซต์ rue89 ถึงเหตุผลว่า ทำหนังดังกล่าวเพื่อเป็นการล้อเลียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ การผ่านกฎหมายห้ามแต่งกายแบบปิดหน้าของสตรีมุสลิม และเพื่อต่อว่านักการศาสนาหลายคนที่ระบุว่า การแต่งกายเช่นนี้เป็นวัฒนธรรมประเพณี ไม่ใช่ข้อบังคับทางศาสนา
อีกประการหนึ่งพวกเธออยากจะรู้ว่า หากแต่งกายเช่นนี้ออกมาเดินตามถนนแล้วจะพบกับปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไร อย่างไรก็ตาม นักศึกษาทั้ง 2 กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาจะหลู่เกียรติของมุสลิม เพียงแต่ต้องการตั้งคำถามกับนักการเมืองเกี่ยวกับทัศนะของเขาว่า การจำกัดสิทธิ์ในการเลือกแต่งกายนั้นละเมิดรัฐธรรมนูญของประเทศหรือไม่ ซึ่งเธอทั้ง 2 กล่าวว่า เห็นอยู่ชัดๆ ว่ากฎหมายนี้ละเมิดสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญจริง
หมายเหตุ: 1 ใน 2 นักศึกษาดังกล่าวเป็นมุสลิม - www.muslimthai.com
มุสลิมใหม่
ดร.นิติภูมิ นวรัตน์
พฤหัสบดี ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓
๒๓ กันยายน วันนี้ นิติภูมิ นวรัตน์ คนเขียนคอลัมน์เปิดฟ้าส่องโลกและเปิดฟ้าภาษาโลกใน นสพ.ไทยรัฐ ขอแสดงความยินดีต่อราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เนื่องในวันชาติ ห้วงระหว่าง ๑๘.๓๐ – ๒๐.๓๐ น. ของวันนี้ จะมีงานฉลองที่ห้องเลิศวนาลัยบอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ ถนนวิทยุ กทม.
ผู้อ่านท่านครับ ใคร อะไร หรือสิ่งใดถูกโจมตีหนัก ก็มักจะเป็นที่สนใจของผู้คน การถูกโจมตีเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งชักนำให้ผู้คนเข้าไปศึกษาหาข้อเท็จจริง ว่าทำไมถึงถูกโจมตี และทว่าถ้าสิ่งนั้นเป็นของดี ก็จะมีผู้เปลี่ยนใจเข้าไปสวามิภักดิ์ เคารพรักศรัทธาเพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งใดที่คนแห่เข้าไปประจบสอพลอ ขนาดเข้าแถวรอเพื่อจะ ‘อวย’ กันมากมาย ภายหลังผู้คนส่วนใหญ่จะเบื่อหน่าย กลายเป็นของไม่ค่อยมีราคาค่างวดไป
ศาสนาหนึ่งซึ่งถูกตะวันตกโจมตีอย่างหนักหน่วงในห้วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ก็คือ ศาสนาอิสลาม ทว่า ในขณะนี้ กลับเกิดกระแสตีกลับแล้วครับ มีผู้คนดังๆ ผู้คนที่มีชื่อเสียงเรียงนามในโลกตะวันตกจำนวนไม่น้อย กลับละทิ้งความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาเดิม หันมาเข้ารับอิสลาม มุสลิมใหม่ส่วนใหญ่ ในอดีตก็มักจะเป็นผู้ที่เคยสนใจ ว่าทำไมศาสนานี้จึงถูกตี เมื่อเข้าไปศึกษาหาข้อมูลแล้ว ก็เกิดศรัทธา
ทนายความคนดังอย่างนายคีธ มัวริส เอลลิสัน เกิดในครอบครัวคาทอลิกที่เรียนหนังสือเก่งมาก คุณพ่อเป็นจิตแพทย์ มีพี่น้อง ๕ คน จบกฏหมายถึง ๔ คน อีกคนหนึ่งเป็นแพทย์ ภายหลังนายคีธเปลี่ยนมาเข้ารับอิสลาม ใช้ชื่ออิสลามว่า ‘มุฮำมัด’ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิร์ดเทรดใน พ.ศ. ๒๕๔๔ มีกระแสต่อต้านอิสลามไม่น้อยในรัฐมินนิโซตา ทว่านายคีธก็ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้นให้เป็น ส.ส. ของรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ด้วยคะแนนมากถึงร้อยละ ๖๗ อีก ๒ ปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ชนะอีกด้วยคะแนนมากถึงร้อยละ ๘๔
พ.ศ. ๒๕๔๙ คราวนี้นายคีธเขยิบขึ้นมาเล่นการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรัฐสภาของประเทศ ก็ได้เป็น ส.ส. ด้วยคะแนนร้อยละ ๕๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงวาระเลือกตั้งครั้งใหม่ นายคีธได้คะแนนจากผู้ลงคะแนนชาวอเมริกันในเขตเลือกตั้งของตนเองมากถึงร้อยละ ๗๑
พ.ศ. ๒๕๕๑ ส.ส.คีธแห่งรัฐสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาก็เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ก่อนหน้านั้น ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ คีธไปเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และได้เข้าเฝ้ากษัตริย์อับดุลลาห์ คีธให้สัมภาษณ์ว่า กษัตริย์อับดุลลาห์เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และบอกว่า ‘การที่ได้มายืนอยู่ในประเทศเดียวกับที่มีเมืองมักกะฮฺและและเมืองมะดีนะฮฺตั้งอยู่ เป็นสิ่งที่วิเศษสุดสำหรับมุสลิมอย่างข้าพเจ้า’
ในการสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. ในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา คีธปฏิเสธที่จะสาบานตนด้วยคัมภีร์ไบเบิล แต่ใช้คัมภีร์อัล-กุรอาน เล่มที่เป็นของอดีตประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาผู้มีนามว่าเจฟเฟอร์สัน
สมาคมครอบครัวอเมริกันส่งข่าวไปยังสมาชิกทั่วประเทศให้ช่วยกันสนับสนุนบทความที่เขียนโดยนักจัดรายการวิทยุชื่อดังมากที่สุดในประเทศ ผู้มีนามว่า นายเดนนิส เพรกเกอร์ นายคนนี้แกเขียนบทความว่า ‘อเมริกาเป็นผู้กำหนดว่าจะใช้คัมภีร์เล่มใดในการสาบานตน มิใช่นายคีธ เอลลิสัน เป็นผู้กำหนด ดังนั้น ก็ขอให้นายคีธเลือกเอาระหว่างว่าจะต้องสาบานตนต่อหน้าพระคัมภีร์ไบเบิล หรือถ้าไม่ทำ ก็อย่ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา การสาบานตนต่อหน้าคัมภีร์อัล-กุอาน เป็นการบ่อนทำลายอารยธรรมอเมริกัน’
สมาคมครอบครัวอเมริกันแนะนำให้สมาชิกของสมาคมเขียนจดหมาย หรืออีเมล์ถึงสมาชิกสภาคองเกรสในเขตของตัวเอง เรื่องให้ช่วยกันออกกฎหมายกำหนดให้ไบเบิลเป็นเพียงพระคัมภีร์เดียวที่ใช้ในการสาบานตนเป็น ส.ส.
แม้ว่าจะมีอีเมล์ถล่มบานเบอะเยอะแยะ แต่นายคีธก็ไม่เปลี่ยนใจ ส.ส.คีธให้สัมภาษณ์ว่า ‘การใช้อัล-กุรอานในการสาบานตนเป็นการยืนยันถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา และความหลากหลายอันเป็นจุดยืนแห่งรัฐธรรมนูญอเมริกัน’
ขณะนี้ มีกระแสเปลี่ยนจากศาสนาเดิมเข้ามารับอิสลามกันมาก ดร. มุรอด วิลฟรีด ฮอฟมานน์ ผู้ศึกษาปริญญาโททางกฏหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้มาจากครอบครัวคาทอลิก และเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตหลายประเทศ ก็เปลี่ยนไปรับอิสลาม หรืออย่างนักร้องชาวอังกฤษ แคท สตีเวนส์ ก็เปลี่ยนศาสนาแล้วจากศาสนาคริสต์ไปเข้ารับอิสลาม แถมยังเปลี่ยนไปใช้ชื่ออิสลามว่า นายยูซุฟ อิสลาม
นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส เฟรเดริก กานูเต้ ที่ตอนนี้เป็นศูนย์หน้าประจำทีมสโมสรเซบีญ่า เสปน ก็เปลี่ยนไปรับอิสลามแล้วเช่นกัน ยังมีอีกหลายคนครับ เช่น นายโจ ด็อบสัน ลูกชายของอดีตรัฐมนตรีอังกฤษ ตอนนี้เข้ารับอิสลามและเปลี่ยนชื่อไปเป็นนายโจ อาห์เม็ด ด็อบสัน ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากอย่าง ดร.เจฟฟรีย์ แลงก์ ก็กลายเป็นมุสลิมที่เคร่งมาก หรือนายตำรวจหญิงอเมริกัน อย่างลินดา เดลกาโด ตอนนี้ก็เป็นมุสลิมะฮฺที่ทำละหมาดวันละ ๕ ครั้งทุกวัน
เท่าที่ผมตรวจสำรวจรายชื่อและอาชีพ ผู้เข้ารับอิสลามในห้วงช่วงหลังมานี่ ส่วนใหญ่จะเป็นนักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ส่วนหนึ่งเข้าไปศึกษาอิสลามเพราะสงสัย ว่าทำไมศาสนานี้ถึงโดนโจมตีอยู่เรื่อย
ผู้อ่านท่านครับ ในเรื่องการเมืองก็เหมือนกัน บางคนโดนโจมตีทุกวัน ทว่า กลับมีผู้รักและศรัทธาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนจะเต็มประเทศอยู่แล้วในขณะนี้.
05 October 2010
Sastera Islam berasaskan teori Takmilah
Oleh ZUNAIDAH ZAINON
VAKUM akal dan pemikiran sesetengah individu yang berpandangan sempit terhadap agama Islam turut memberi kesan terhadap karya sastera. Sastera adalah medium paling halus yang boleh membawa arus pemikiran dalam masyarakat.
Lalu, apabila kesedaran Islam meningkat dan memberi impak kepada perkembangan sastera Malaysia, ia dilihat sebagai fenomena positif.
Selaras dengan itu, sastera Islam mula dikaji di Malaysia. Shafie Abu Bakar mengutarakan satu konsep iaitu Teori Pengindahan dan Penyempurnaan dalam Rangka Tauhid. Kemudian, beliau menggunakan istilah takmilah dalam Nadwah Sastera Islam Antarabangsa anjuran Dewan Bahasa dan Pustaka (DBP) pada Disember 1993. Beliau membentangkan kertas kerja bertajuk Takmilah: Teori Sastera Islam.
Menurut Pensyarah Kanan Jabatan Bahasa Melayu, Fakulti Bahasa Moden dan Komunikasi, Universiti Putra Malaysia (UPM), Dr. Samsina Abd. Rahman, teori takmilah berdasarkan kepada tujuh prinsip dengan bertunjangkan sifat kamal (kesempurnaan) Allah s.w.t. dan al-kamil Rasulullah s.a.w. dalam membina karya berunsur Islam.
Teori ini bersifat holistik kerana prinsip-prinsipnya melibatkan pelbagai aspek iaitu ketuhanan yang bersifat kamal, kerasulan sebagai insan kamil, keislaman yang bersifat akmal, ilmu dengan sastera yang bersifat takamul, sastera yang berciri estetik dan bersifat takmilah, pengkarya yang mengistikmalkan diri dan khalayak ke arah insan kamil.
Istikmal merujuk kepada pengkarya yang perlu melengkapkan diri mereka dengan ilmu agama, sastera dan ilmu bantu yang lain. Dalam hal ini, sastera boleh berperanan dalam menyempurnakan ilmu lain seperti sains, perubatan, kejuruteraan, geografi dan sejarah. Kebanyakan penulis mempunyai latar belakang berbeza seperti Aminah Mokhtar, seorang jururawat yang menghasilkan karya-karya berunsur agama.
“Karya sastera Islam yang asli bersifat lebih syumul (menyeluruh). Teori takmilah, menurut Shafie, mempunyai dua komponen utama iaitu komponen falsafah dan teknik berkarya,” jelas Samsina yang mengkhusus dalam Kesusasteraan Melayu khusus dalam Puisi Islam, Teori Sastera Islam (Takmilah) dan Kesusasteraan Melayu Mistik (tasawuf).
Beliau berpendapat, perkembangan sastera Islam di Malaysia terbahagi kepada dua. Pertama, penulis muda yang berlatar belakang pendidikan agama yang cenderung menulis tentang Islam. Sudut kedua ialah penulis terkenal yang memilih karya berunsur Islam sesuai dengan peningkatan umur mereka. Antara hasil karya berunsur Islam ialah novel Imam oleh Sasterawan Negara Abdullah Hussin, kumpulan puisi al-Amin karya A. Samad Said yang juga Sasterawan Negara dan novel Muhammad Akhir karya Anas K. Hadi Maja.
“Contohnya, Shamsudin Othman dan Rahimidin Zahari yang aktif melahirkan puisi Islam serta Faisal Tehrani dengan genre cerpen dan novel menunjukkan kesedaran yang tinggi dalam kalangan penulis muda.
“Bagaimanapun, penglibatan penulis wanita dengan karya berunsur Islam tidak begitu ketara kerana kita juga kekurangan penulis wanita,” ujar beliau yang turut aktif melahirkan puisi-puisi berunsur Islam.
Sastera Islam perlu lebih fokus kerana ia membabitkan ilmu agama, fardu ain dan fardu kifayah. Penulis sastera Islam mempunyai tugas berat kerana setiap karyanya akan dipertanggungjawabkan di akhirat. Soal agama bukan perkara yang boleh dipermain-mainkan.
Perkembangan sastera Islam negara dipercayai bermula pada 1930-an. Ia semakin ketara pada 1970-an kerana ketika itulah berlakunya kebangkitan Islam. Melalui kerjasama antara DBP dan persatuan penulis setiap negeri, karya sastera berunsur Islam semakin bercambah dengan kemunculan penulis-penulis yang mempunyai latar belakang pendidikan agama.
sumber: utusan.com.my
Subscribe to:
Posts (Atom)