08 September 2009

บวรศักดิ์ชี้ทางออก วิกฤตภาคใต้

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 8กันยายน2552 พาดหัวข่าว บวรศักดิ์ชี้ทางออก สองวิกฤตไทย ใครได้ฟัง ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า บรรยายหัวข้อ "วิกฤตการณ์สยาม มุมมองและทางออก" ให้นายก อบจ.หลายจังหวัดฟังที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อหลายวันก่อน คงรู้สึกตรงกันว่า ช่างเข้ากับอุณหภูมิร้อนแรงทางการเมืองในช่วงนี้ ดร.บวรศักดิ์บอกว่า มีอยู่ 2 กรณีหลักที่ถือเป็นวิกฤตการณ์ของเมืองไทยในขณะนี้ วิกฤตการณ์ แรก ได้แก่ เหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางส่วนใน จ.สงขลา ที่ทำให้ทั้งพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม ต้องสังเวยชีวิตไปแล้วเกือบ 4,000 ราย ถือเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง อีก วิกฤตการณ์ คือ ความขัดแย้งทางการเมือง ที่ขยายตัวบานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งทางสังคม โดยมีคนสวมสีเสื้อกลุ่มหนึ่งต่อต้านการกลับมาของอดีตนายกฯ และคนสวมสีเสื้ออีกกลุ่ม พยายามสนับสนุนให้อดีตนายกฯกลับมา ซึ่งวิกฤตการณ์นี้ ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงโดยง่าย "การมองปัญหา ต้องแยกมองทีละเรื่อง ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ เราจะนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะมีความขัดแย้งในเชิงอัตลักษณ์มาช้านาน พี่ น้องไทยมุสลิมที่นั่น มีวัฒนธรรม ศาสนา และประเพณีต่างจากไทยพุทธ การมีอัตลักษณ์ร่วมหรือต่างกัน ส่งผลถึงความไว้วางใจ และความเชื่อมั่น" ดร. บวรศักดิ์ บอกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้พยายามแก้ความขัดแย้งดังกล่าว ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เช่น กำหนดให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล รวมทั้งจัดโครงสร้างบริหารจัดการ โดยให้มี ศอ.บต.เป็นแกนหลัก แต่จู่ๆ รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ สั่งรื้อโครงสร้างอำนาจในการบริหารจัดการของ ศอ.บต. เปลี่ยนไปใช้กลไกตำรวจ ลงไปรับผิดชอบแทน ทำให้ "เจ้าภาพ" ที่มีอยู่เดิมถูกลดบทบาทลง ขณะที่เจ้าภาพรายใหม่ คือตำรวจ มิได้มีทักษะในการบริหารจัดการความขัดแย้งที่มีมาช้านาน จึงยิ่งทำให้ความขัดแย้งกระพือขึ้นไปอีก "ผมเชื่อว่า แนวทางการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งยอมรับความหลากหลายในวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา พี่น้องไทยมุสลิมสามารถคงอัตลักษณ์ของตนไว้ได้ จะไม่นำไปสู่ความแตกแยกของรัฐสยาม หนทางนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพียงแต่จะเกิดขึ้นเมื่อไรไม่ทราบ แต่ก็เชื่อว่า ก่อนผมตายคงได้เห็น" ดร. บวรศักดิ์ ว่า วิกฤตการณ์สยามอีกเรื่อง ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้วิกฤตการณ์แรก ใครจะคาดคิดว่า จากความขัดแย้งทางการเมือง ได้ลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งทางสังคม ขนาดคนในหมู่บ้าน ชุมชนเดียวกัน หรือแม้แต่ในครอบครัวเดียวกัน ยังแตกแยกความคิดออกเป็น 2 สี 2 ฝ่าย คือเหลือง กับแดง คำถามก็คือ วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น และขยายตัวจนกลายเป็นความขัดแย้งร้าวลึกของคนในชาตินั้น เกิดขึ้นมาจากอะไรแน่ ดร.บวรศักดิ์บอกว่า จุดนี้สำคัญ เพราะถ้าเราวิเคราะห์สาเหตุของโรคต่างกัน การให้ยาหรือแก้ปัญหาก็จะต่างกันไปด้วย " ถ้าเราเชื่อว่า สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งส่วนตัวระหว่างคุณทักษิณและคณะ กับฝ่ายคุณสนธิและคณะ สมมติว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมเลิกรา เรื่องก็น่าจะยุติลง แต่ผมกลับเห็นว่าความขัดแย้งในสังคมไทยเวลานี้จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงใน อีกไม่ช้า" เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า มองว่า เนื่องจากความขัดแย้งดังกล่าว ไม่ใช่ความขัดแย้งส่วนบุคคล แต่เป็น ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง ที่ฝังตัวในสังคมไทยมาระยะหนึ่งแล้ว.... ฯลฯ..... เชิญคลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม

No comments:

Post a Comment

ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda