26 December 2011

ธุรกิจเครือข่ายไม่เป็นที่อนุญาตในอิสลาม(พีระมิด+mlm)

ทัศนะของนักกฎหมายอิสลามต่อการประกอบธุรกิจแบบเครือข่ายนักกฎหมายอิสลามได้ให้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการทำธุรกิจแบบเครือข่ายจากกรณีของบริษัทบิสเนสและอื่นๆ โดยเป็นการตอบคำถามทั้งในรูปของทัศนะส่วนบุคคลและสภาหรือที่ประชุมนักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งส่วนหนึ่งของทัศนะดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

1-มัจมะอฺ อัลฟิกฮฺ อัลอิสลามี (สภานิติศาสตร์อิสลาม)ได้ให้คำวินิจฉัยว่า-การเข้าร่วมกับบริษัทบิสเนสและอื่นๆที่เป็นบริษัทธุรกิจแบบเครือข่ายไม่เป็นที่อนุญาตในศาสนาอิสลามเพราะถือว่าเป็นการพนัน-ระบบของบริษัทบิสเนสและบริษัทอื่นที่คลายกันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงนายหน้าตามที่บริษัทอ้างด้วยเหตุนี้ทางสภาจึงขอเสนอให้ฝ่ายต่างๆที่รับผิดชอบให้ใบอนุญาตในประเทศมุสลิมทำการยึดใบอนุญาตคืนจากบริษัทที่ดำเนินการในรูปเครือข่ายดังกล่าว.และควรสอบถามสภานิติศาสตร์อิสลามก่อนที่จะดำเนินการอนุญาตในเรื่องดังกล่าว.(12)

2- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถาวรแห่งที่ประชุมนักหะดีษ ( لملتقى أهل الحديث اللجنة الدائمة)ได้กล่าวถึงธุรกิจระบบเครือข่ายว่า “แท้จริงแล้วการทำธุรกิจประเภทนี้เป็นที่ต้องห้าม ทั้งนี้เพราะเป้าหมายหลักของธุรกิจนี้คือเม็ดเงินไม่ใช่สินค้า เม็ดเงินอาจจะเป็นล้านในขณะที่ราคาสินค้าไม่เกินร้อย คนมีสติทุกคนหากมีการเสนอระหว่างสองสิ่งดังกล่าว แน่นอนเขาจะต้องเลือกเม็ดเงิน ด้วยเหตุนี้บริษัทจะใช้วิธีโฆษณาสินค้าโดยการบอกถึงจำนวนเม็ดเงินที่ใหญ่ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับและจูงใจด้วยกำไรที่เกินคาดเทียบกับราคาสินค้าที่เล็กน้อย ดังนั้นสินค้าที่ขายจึงเป็นเพียงฉากและทางที่จะไปสู่เม็ดเงินและกำไร. (13)

3- ศูนย์ฟัตวาภายใต้การดูแลของ ดร.อับดุลลอฮฺ อัลฟะกีฮฺ ได้ตอบคำถามของผู้ถามว่า “หลังจากที่เราได้ศึกษาระบบของบริษัท(ที่ท่านถาม)พบว่าไม่เป็นที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมกับบริษัทนี้เพื่อหากำไรผ่านการโฆษณาและค้าขายสินค้าของบริษัท เพราะว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมไม่ได้มีเป้าหมายในสินค้า แต่มีเป้าหมายในเม็ดเงินที่จะได้จากการหาสมาชิกใหม่ และพวกเขาอาจสำเร็จได้เงินที่เท่าหรือมากกว่าที่ลงทุนไป หรืออาจไม่ได้อะไรเลยและนี้ก็คือการพนันนั้นเอง ธุรกรรมนี้อยู่ระหว่างการได้และเสีย และสินค้าเป็นเพียงตัวกลางจึงไม่มีผลใดๆเลย(14).

4- คำประกาศของที่ประชุมสมัชชาคณะกฎหมายอิสลามมหาวิทยาลัย อัซซัรกออฺครั้งที่6 ซึ่งมีการจัดประชุมเมื่อวันที่23-25 เดือนญุมาดิลอาคิเราะฮฺ 1425 ฮิจเราะฮฺ ตรงกับวันที่ 12/8/2004 ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในปัจจุบัน ซึ่งในหัวข้อที่8 ที่ประชุมมีมติดังนี้ สมัชชามีความเห็นว่า “การทำธุรกรรมกับบริษัทที่ทำธุรกิจแบบเครือข่ายต่างๆที่มีการดำเนินการในรูปแบบพีระมิดไม่เป็นที่อนุญาตเพราะธุรกิจรูปแบบนี้ประกอบด้วยธุรกรรมที่มีการพนัน(มุกอมะเราะฮฺ) ความไม่ชัดเจน (ญะหาละฮฺ) หลอกลวง (ตัฆรีร) และทำให้แรงงานเยาวชนสูญสินไปกับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาและสังคมอย่างแท้จริง และเพราะเหตุว่ามันนำมาซึ่งกำไรอันน้อยนิดแต่การขาดทุนที่มากมาย. พร้อมกันนี้ทางสมัชชาได้ประกาศจุดยืนให้ฝ่ายที่มีอำนาจรับผิดชอบทบทวนการอนุญาตให้บริษัทประเภทนี้ได้ประกอบการเพราะมีผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ(15).

5- ดร.สามี สุวัยลิม ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์อิสลาม ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับบริษัทควิสท์(Quest)ของฮองกง ซึ่งมีรูปแบบคือเมื่อบุคคลพอใจกับบริษัทหรือสินค้าของบริษัท เขาก็จะลงทะเบียนในเว็บไซท์ของบริษัท โดยกรอบรายละเอียดของตัวเองและหมายเลขของผู้แนะนำ พร้อมกับจ่ายค่าลงทะเบียนสิบดอลลาร์และรับหมายเลขรหัสของตัวเองโดยถูกบรรจุภายใต้สายของผู้แนะนำ การลงทะเบียนเพียงอย่างเดียวจะยังไม่มีแต้ม เมื่อบุคคลนั้นซื้อสินค้าจะถูกบันทึกแต้มให้แก่ผู้แนะนำโดยที่สินค้าแต่ชนิดจะมีแต้มต่างกันเมื่อสะสมแต้มถึงหกแต้มผู้แนะนำก็จะได้เงิน250ดอลลาร์ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆซึ่งดร.สามีได้ตอบว่าธุรกิจรูปแบบนี้ก็คือธุรกิจแบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม) (16) นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับธุรกิจแบบเครือข่ายโดยยังมีคำวินิจฉัยจากอีกหลายท่านหลายเว็บไซท์ซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นว่าการดำเนินธุรกิจแบบเครือข่ายนั้นเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม.

สรุป
สาเหตุที่ห้ามเพราะ
•เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย

•ไม่ได้ค้าขายสินค้า แต่เป็นการค้าขายเงินต่อเงิน

•สินค้าไม่ไ้ด้มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา

•มีลักษณะเข้าข่ายการพนัน หรือเสี่ยงโชค

และเท่าที่เห็นนั้น บ่งบอกได้ประการหนึ่งว่า มิได้ห้ามการขายตรงทั้งหมด เพราะการขายตรงมีหลายรูปแบบ ที่ห้ามชัดๆ ตอนนี้ก็คือธุรกิจที่เข้าข่ายในสี่ประการข้างต้น

No comments:

Post a Comment

ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda