19 November 2009
Bila Solat Eid Pada Hari Jumaat...
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
Ibnu Taimiyah sewaktu menjawab soalan mengenai dua solat,Jumaat dan Eid bertembungan secara kebetulan sebagai;
Qaul 1. Solat Jumaat selepas solat Eid: Wajib seperti biasa
Qaul ke 2. Solat Jumaat selepas solat Eid:Tidak perlu bagi penduduk luar bandar dan mereka yang berpindah randah.Suatu mafhum dari Usman Ibni Affan telah memberi kemudahan kepada mereka supaya menunaikan solat Zuhri dirumah masing-masing selepas selesai solat Eid.
Qaul ke 3.Yang dianggapkan sebagai yang betul bahawa tidak ada solat jumaat di hari yang sudah berlaku solat raya kerana telah menepati maksud berhimpun dan telah mendengar khutbah, pendapat ini ada sabit pada masa rasulluLLAH
Sila semak dalam bahasa Arab dibawah:
وسئل رحمه الله عن رجلين تنازعا فى العيد إذا وافق الجمعة فقال أحدهما يجب أن يصلي العيد ولا يصلي الجمعة وقال الآخر يصليها فما الصواب فى ذلك
فأجاب الحمد لله إذا اجتمع الجمعة والعيد فى يوم واحد فللعلماء فى ذلك ثلاثة أقوال
أحدها أنه تجب الجمعة على من شهد العيد كما تجب سائر الجمع للعمومات الدالة على وجوب الجمعة
والثانى تسقط عن أهل البر مثل أهل العوالى والشواذ لأن عثمان بن عفان أرخص لهم فى ترك الجمعة لما صلى بهم العيد
والقول الثالث وهو الصحيح أن من شهد العيد سقطت عنه الجمعة لكن على الامام أن يقيم الجمعة ليشهدها من شاء شهودها ومن لم يشهد العيد وهذا هو المأثور عن النبى وأصحابه كعمر وعثمان وابن مسعود وبن عباس وبن الزبير وغيرهم ولا يعرف عن الصحابة فى ذلك خلافوأصحاب القولين المتقدمين لم يبلغهم ما فى ذلك من السنة عن النبى لما اجتمع فى يومه عيدان صلى العيد ثم رخص فى الجمعة وفى لفظ أنه قال أيها الناس إنكم قد أصبتم خيرا فمن شاء أن يشهد الجمعة فليشهد فإنا مجمعون
وأيضا فإنه إذا شهد العيد حصل مقصود الإجتماع ثم إنه يصلي الظهر إذا لم يشهدالجمعة فتكون الظهر فى وقتها والعيد يحصل مقصود الجمعة وفى ايجابها على الناس تضييق عليهم وتكدير لمقصود عيدهم وما سن لهم من السرور فيه والانبساط
فإذا حبسوا عن ذلك عاد العيد على مقصوده بالابطال ولأن يوم الجمعة عيد ويوم الفطر والنحر عيد ومن شأن الشارع إذا اجتمع عبادتان من جنس واحد أدخل احداهما فى الأخرى كما يدخل الوضوء فى الغسل وأحد الغسلين فى الآخر والله أعلم.
انظر مجموع الفتاوى ( 24/ 210- 211)
ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺถูกถามว่า ชายสองคนได้ขัดแย้งกันในประเด็นว่า เมื่อวันอีดตรงกับวันศุกร์ คนหนึ่งกล่าวว่า จำต้องละหมาดอีดและไม่ต้องละหมาดญุมุอะฮฺ อีกคนหนึ่งกล่าวว่า ต้องละหมาดญุมุอะฮฺเช่นเดียวกัน ทัศนะใดที่ถูกต้อง ?
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺตอบว่า เมื่อวันศุกร์ตรงกับวันอีดในวันเดียวกัน บรรดาอุละมาอฺมีอยู่ 3 ทัศนะ
ทัศนะแรก - การละหมาดญุมุอะฮฺเป็นวาญิบ(จำเป็นต้องทำ)สำหรับคนที่ได้ละหมาดอีดด้วย ดังเช่นทุกวันศุกร์ เนื่องด้วยหลักฐานต่างๆที่บ่งถึงความจำเป็นในการปฏิบัติละหมาดญุมุอะฮฺ (หมายถึงไม่มีข้อเว้น)
ทัศนะที่ 2 - การละหมาดญุมุอะฮฺไม่ต้องปฏิบัติสำหรับชาวชนบทและคนเร่ร่อน เพราะท่านอุษมาน อิบนุอัฟฟาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ อนุโลมให้คนกลุ่มนี้ละทิ้งการละหมาดญุมุอะฮฺเมื่อท่านได้ละหมาดอีดกับพวกเขา(หมายรวมว่า อนุญาตไม่ให้ละหมาดยุมุอะฮฺที่มัสญิด แต่ให้ละหมาดดุฮฺริที่บ้านของตนก็ได้)
ทัศนะที่ 3 - ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกต้องคือ ใครที่ละหมาดอีดแล้วการละหมาดญุมุอะฮฺก็ถูกเว้นไป แต่สำหรับอิหม่ามจำต้องดำรงการละหมาดญุมุอะฮฺเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสงค์จะละหมาดญุมุอะฮฺได้มีที่ละหมาดและสำหรับคนที่ไม่ได้ละหมาดอีด(จะได้มีที่ละหมาดญุมุอะฮฺด้วย) และนั่นคือการปฏิบัติที่มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และสาวกของท่าน อาทิเช่น ท่านอุมัร, อุษมาน, อิบนุมัสอู๊ด, อิบนุอับบาส, อิบนุซุบัยรฺ, และอื่นๆ โดยไม่มีทัศนะอื่นจากเศาะฮาบะฮฺดังกล่าวที่แย้งกับทัศนะนี้ และสำหรับสองทัศนะแรกเขาก็ไม่ได้รับรู้หลักฐานจากซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับกรณีวันศุกร์ตรงกับวันอีด ซึ่งท่านนบีละหมาดอีดและอนุโลม(ให้เว้น)การละหมาดญุมุอะฮฺ และมีอีกสำนวนหนึ่งท่านนบีกล่าวว่า "โอ้ผู้คนทั้งหลาย แท้จริงพวกท่านได้ประสบความดีแล้ว(คือละหมาดอีด) ดังนั้นใครประสงค์ที่จะละหมาดญุมุอะฮฺ(ด้วย)ก็จงปรากฏตัว เพราะเราจะละหมาดญุมุอะฮฺ(ด้วย)"
อนึ่งผู้ที่ละหมาดอีดแล้วจะถือว่าประสบวัตถุประสงค์ของการชุมนุม(ในวันศุกร์) และจำเป็นต้องละหมาดดุฮฺริถ้าไม่ได้ละหมาดญุมุอะฮฺ โดยละหมาดดุฮฺริตามเวลา เพราะการละหมาดอีดนั้นได้บรรลุเป้าหมายของละหมาดญุมุอะฮฺแล้ว และการบังคับให้ผู้คน(ละหมาดญุมุอะฮฺด้วย) เป็นความลำบากสำหรับพวกเขา และอาจขัดกับเป้าหมายของวันอีดที่ส่งเสริมให้สนุกสนานและประพฤติตัว(ตามอัธยาศัย) ซึ่งหากพวกเขาถูกบังคับให้ละหมาดญุมุอะฮฺก็เป็นการทำลายเป้าหมายของวันอีด ซึ่งวันญุมุอะฮฺเป็นอีดและวันอัลฟิฏรฺ(อีดเล็ก)กับวันอันนะหรฺ(อีดใหญ่)เป็นวันอีดเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นนโยบายของพระผู้บัญญัติเมื่อมีอิบาดะฮฺสองชนิดได้ปรากฏพร้อมกันก็จะประสมประสานกันเช่นเดียวกับการอาบน้ำละหมาดที่เข้าอยู่ในการอาบน้ำญะนาบะฮฺ วัลลอฮุอะอฺลัม
(อ้างอิงจาก มัจญฺมูอฺอัลฟะตาวา, ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ เล่ม 24 หน้า 210-211)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment
ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda