03 May 2010
มุมมุสลิม: นครปัตตานีหรือเขตบริหารพิเศษ :ความจริงจากพื้นที่ (2)
ความชัดเจนในเอกลักษณ์ทั้งสองประการดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความสับสนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาพอสมควรมีคนเป็นจำนวนมากปรารภว่าชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ไม่มีความรู้สึกเป็นไทยเท่าที่ควร จึงเกิดความพยายามในฝ่ายของรัฐที่จะส่งเสริมให้ชาวมุสลิมเหล่านี้มีความรู้สึกเป็นไทยแต่เราลืมไปว่า คำว่าไทยในความหมายที่ใช้อยู่ในขณะนี้มีสองความหมายด้วยกัน คือไทยในความหมายของสัญชาติ และไทยในความหมายของเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์
ความเป็นไทยในความหมายของเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์หมายถึง ความเป็นไทยที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชีวิตและดำรงชีวิตมาโดยตลอดบนพื้นฐานของศาสนาพุทธหรือวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นความเป็นไทยในแง่นี้ ชาวมุสลิมในสามหรือสี่จังหวัดภาคใต้จึงได้รับความลำบาก เพราะเขามีชาติพันธุ์เป็นมลายู และมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำสังคม
แต่ความเป็นไทยในแง่ของสัญชาติ ชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้รับได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะว่าความเป็นไทยในแง่นี้ย่อมหมายถึงผู้ใดหรือกลุ่มใดก็ได้ ที่กอปรขึ้นมาเป็นประเทศเดียวกัน อาณาจักรเดียวกันภายใต้กฎหมาย และลัทธิการเมืองเดียวกัน อีกทั้งมีความผูกพันกับชาติบ้านเมืองที่ตนดำรงร่วมอยู่
ประเทศอื่นๆ หลายประเทศซึ่งประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์มิได้มีปัญหาในทำนองนี้หรือไม่ต้องมีความสับสนกับปัญหาทำนองนี้เพราะว่าประเทศเหล่านี้มีชื่อประเทศแยกออกจากชื่อของชาติพันธุ์ เช่น ประเทศมาเลเซียสิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์สหรัฐอเมริกา
ยกตัวอย่างประเทศมาเลเซีย ซึ่งประกอบด้วยชาวมลายู ชาวจีน ชาวอินเดีย ทุกกลุ่มสามารถอ้างความเป็นมาเลเซียนได้หมดอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำหรับประเทศไทยเมื่อพูดถึงความเป็นไทย ก็จะต้องมีคำถามต่อไปว่าเป็นไทยในแง่เชื้อชาติหรือในแง่สัญชาติ
เมื่อประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้มีเอกลักษณ์ 2 ระดับ ดังกล่าวนี้แล้ว ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้จึงแบ่งได้สองลักษณะเช่นเดียวกัน นั่นคือปัญหาทั่วไปและปัญหาชาติพันธุ์
ปัญหาทั่วไปหมายถึงปัญหาซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไปสำหรับคนไทยทั้งประเทศไม่ว่าเป็นกลุ่มเหล่าใดหรือในภูมิภาคไหน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น
ส่วนปัญหาชาติพันธุ์ หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุ์หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีชาติพันธุ์มลายู
เมื่อข้อเท็จจริงของประชาชนและปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเช่นนี้แล้ว คำว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเอกสารชิ้นนี้หมายถึงปัญหาชาติพันธุ์เท่านั้น และในการวิเคราะห์และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะจำกัดเฉพาะในความหมายและขอบเขตดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าปัญหาชาติพันธุ์จะมีลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดจากปัญหาทั่วไป แต่ก็หาใช่ว่าจะสามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด อันที่จริงแล้ว ปัญหาทั้งสองลักษณะนี้มีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่หลายด้าน ดังนั้น ในการวิเคราะห์และเสนอแนะต่างๆ อาจจะต้องอ้างอิงและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันตามความจำเป็น แต่ปัญหาที่เราประสงค์จะวิเคราะห์และมุ่งเน้นคือปัญหาชาติพันธุ์
เมื่อเราได้กำหนดขอบข่ายของปัญหาชัดเจนอย่างนี้แล้ว คำถามที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้คืออะไร คือปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากปัญหาสามจังหวัดภาคใต้เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันในสังคมเดียวกัน ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด คือปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ คือปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวไทยมุสลิมและรัฐบาลซึ่งเป็นไทยพุทธ ปัญหาความขัดแย้งอาจจะปรากฏขึ้นตั้งแต่ในระดับอ่อนเป็นการแสดงออกโดยท่าทีและกิริยา วาจา ไปจนถึงในระดับรุนแรงเช่น การปะทะด้วยอาวุธดังที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นต้น
อนึ่ง การแสดงออกถึงความรุนแรงดังกล่าว ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับทุกคนหรือโดยทุกคนในชาติพันธุ์ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะส่งผลกระทบหรือมีความหมายทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนหนึ่ง รังแกชาวบ้านที่เป็นมุสลิม ในบริบทของกลุ่มชาติพันธุ์ ก็มีการตีความได้โดยง่ายว่ารัฐบาลซึ่งเป็นไทยพุทธรังแกชาวไทยมุสลิม และอาจจะสั่งสมในโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์อีกเป็นเวลานานสาเหตุของปัญหารแก้ปัญหาที่ได้ผลยั่งยืนควรจะต้องแก้กที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุหรือที่ผลของปัญหา อันที่จริงแล้ว ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ในขณะนี้นั้น เป็นผลที่มาจากสาเหตุรอบด้านในสังคมซึ่งสะสมขึ้นมาอย่างสลับซับซ้อนและต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ดังนั้น ถ้าประสงค์จะแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ให้ได้ผลยั่งยืนถาวรจำเป็นจะต้องเน้นการแก้ไขที่สาเหตุ
และนี้คือกรอบของการศึกษาวิเคราะห์และการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ของคณะกรรมาธิการชุดนี้คือ
การมุ่งประเด็นที่สาเหตุของปัญหาโดยเชื่อว่าถ้าดำเนินการแก้ไขที่สาเหตุอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ปัญหาความขัดแย้งซึ่งกำลังจะรุนแรงขึ้นทุกขณะนั้น จะทุเลาเบาบางและหายไปในที่สุด
ต่อไปนี้จะได้นำเสนอการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวสาเหตุของปัญหาเกิดจากสองฝ่ายที่ปฏิบัติกันมาผิดๆ มาโดยตลอดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชาติพันธุ์ หรือชาวไทยมุสลิมสิ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือความพยายามในการมองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ นั้น มาจากชาวไทยมุสลิมเท่านั้นเช่น การขาดความสำนึกในความเป็นไทย การกระด้างกระเดื่อง การฝักใฝ่ต่างประเทศ การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ การมองปัญหาแบบนี้นอกจากไม่ถูกต้องด้วยหลักวิชาการแล้ว ยังไม่เป็นธรรมต่อชาวไทยมุสลิมอีกด้วย
อันที่จริงแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ นั้น อาจจะมาจากทางฝ่ายของรัฐและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยซึ่งจะต้องตั้งคำถาม เช่น
มีนโยบายที่ถูกต้องหรือไม่เกี่ยวกับชาวไทยมุสลิม เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอะไรที่เป็นการกดขี่ข่มเหงหรือไม่ คนไทยโดยทั่วไปแสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามหรือปฏิบัติการลำเอียงอย่างใดหรือไม่ โครงสร้างของรัฐมีลักษณะกีดกันเพื่อมิให้ชาวไทยมุสลิมมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือการศึกษาหรือไม่
ตราบใดที่สิ่งเหล่านี้ยังมีอยู่ การแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้คงไม่มีทางที่จะหมดไปหรือคลี่คลายลงได้
สรุปแล้วในการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหานั้น จะต้องกระทำจากทั้งสองทางคือ ทางฝ่ายของชาวไทยมุสลิมและทางฝ่ายของรัฐและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และวิธีการแก้ไขก็ต้องปฏิบัติการทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกันการไม่ยอมรับในความแตกต่างของเอกลักษณ์าเหตุพื้นฐานที่สุดที่นำไปสู่ความขัดแย้งสคือการไม่ยอมรับในความแตกต่างในเอกลักษณ์ทางศาสนาวัฒนธรรมระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิม
เราจะต้องยอมรับข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่าชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธนั้นมีความแตกต่างในด้านศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม และในเรื่องทางสังคมหลายประการ
ความแตกต่างดังกล่าวนี้ ทำให้ไทยมุสลิมมีความคิดและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันจากไทยพุทธอย่างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างในบางเรื่องมีลักษณะตรงกันข้ามอย่างเห็นได้ชัดตัวอย่างเช่น ในเรื่องการแต่งกาย อาหารการกินการครองเรือน การยึดเหนี่ยวและพิธีกรรมของชีวิตในด้านต่างๆ
จริงอยู่ ความแตกต่างบางอย่างสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเข้าหากันได้ แต่ความแตกต่างหลายอย่างพาดพิงกับบริบททางศาสนาซึ่งไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะในฝ่ายของศาสนาอิสลาม การปรับเปลี่ยนที่เกี่ยวกับคำสอนในเรื่องพื้นฐาน (อะกีดะฮ์) ของศาสนาถึงแม้จะเป็นเพียงน้อยนิดจะกระทำมิได้ นอกจากจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาสนาได้อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเทศะเท่านั้น
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 เม.ย. 2553
ข้อมูลจาก deepsouthwatch.org
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment
ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda