27 January 2010
แถลงการณ์อังกฤษสั่งแบนเครื่องตรวจระเบิดลวงโลกทุกชนิด นักวิทย์ชำแหละชิ้นส่วนพบแต่ความว่างเปล่า
The ADE 651, produced by ATSC (UK), is advertised as a hand-held "remote portable substance detector" that is claimed to be able to detect from a distance the presence and location of various explosives, drugs, and other substances. The device has been sold to a number of countries in the Middle and Far East, including Iraq, for as much as $60,000 per unit. The Iraqi government is said to have spent £52m ($85m) on the devices. However, investigations by the BBC and other organisations have reported that the device is little more than a "glorified dowsing rod" with no ability to perform its claimed functions. The export of the device to Iraq and Afghanistan has been banned by the British Government, and the managing director of the company which manufactures it, 53-year-old Jim McCormick, has been arrested on suspicion of fraud.The use of the device by Iraqi and Pakistani security forces has become a major international controversy. The virtually identical Global Technical GT200 device, which is widely used in Thailand, has also come under scrutiny in the wake of the revelations about the ADE 651
Read more(http://en.wikipedia.org/wiki/ADE_651)
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
เปิดแถลงการณ์ของทางการอังกฤษ ตอกย้ำห้ามจำหน่ายเครื่องตรวจระเบิดลวงโลกทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะ ADE-651 ส.ส.อิรักจี้รัฐบาลเลิกใช้ นายกฯอิรักรับลูก สั่งสอบทันที ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เมืองผู้ดีชำแหละอุปกรณ์ฉาว พบแต่ความว่างเปล่าและแผ่นกันขโมย
ความคืบหน้ากรณีรัฐบาลอังกฤษสั่งห้ามส่งออกและจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ADE-651 ไปยังประเทศอิรักและอัฟกานิสถาน หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังเข้าจับกุมและดำเนินคดีกับตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าวเพราะพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถใช้งานได้จริงนั้น
ล่าสุด กระทรวงธุรกิจนวัตกรรมและทักษะของอังกฤษ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีสำนักข่าวบีบีซี ตรวจสอบพบว่าเครื่องมือตรวจระเบิดของบริษัทเอทีเอสซี ที่จำหน่ายไปทั่วโลก โดยเฉพาะอิรัก ไม่สามารถใช้ได้ผล โดยระบุว่า ผลการทดสอบแสดงว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในเครื่อง ADE-651 และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ไม่เหมาะสมในการตรวจหาระเบิด แต่เนื่องจากเครื่องมือชนิดนี้ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีทางทหาร จึงไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตในการส่งออก และโดยปกติรัฐบาลอังกฤษก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบการขายและการใช้งานในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่ากังวลที่มีผู้นำอุปกรณ์ดังกล่าวไปใช้ตรวจหาระเบิด ทันทีที่องค์กรควบคุมการส่งออก และนายปีเตอร์ แมนเดลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจนวัตกรรมและทักษะ รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้น จึงได้เร่งให้มีการเข้มงวดในการส่งออก และจะมีผลตั้งแต่สัปดาห์นี้ โดยรัฐบาลจะออกคำสั่งภายใต้กฎหมายควบคุมการส่งออกปี 2545 ห้ามการส่งออกอุปกรณ์ประเภทนี้ไปยังอิรักและอัฟกานิสถาน
เหตุผลในการห้ามส่งออกอุปกรณ์ดังกล่าวไปแค่ 2 ประเทศข้างต้น เนื่องจากอำนาจทางกฎหมายในการควบคุมสินค้าประเภทนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่ออังกฤษและกองกำลังพันธมิตรที่ปฏิบัติการอยู่ใน 2 ประเทศนี้
มีรายงานว่า สถานทูตอังกฤษในกรุงแบกแดด (เมืองหลวงของอิรัก) แสดงความกังวลเกี่ยวกับเครื่อง ADE-651 ต่อเจ้าหน้าที่อิรักไปแล้ว และเสนอให้ความร่วมมือต่อการตรวจสอบใดๆ ที่อาจนำไปสู่ความกระจ่างว่า อุปกรณ์ชนิดนี้ถูกนำไปขายให้กองทัพในฐานะเครื่องมือตรวจจับระเบิดได้อย่างไร
ส.ส.อิรักจี้เลิกใช้-นายกฯสั่งสอบ
ทางด้านหนังสือพิมพ์อาหรับ ไทมส์ ของอิรัก รายงานว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิรักจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้กองทัพอิรักเลิกใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ADE-651 หลังจากรัฐบาลอังกฤษระบุว่า เครื่องดังกล่าวไม่สามารถตรวจจับวัตถุระเบิดได้จริง โดย นายฮุสเซ็น อัล-ฟาลูจี ส.ส.อิรัก เสนอให้รัฐสภาสั่งเรียกคืนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดดังกล่าว และเรียกร้องเงินคืนด้วย
ที่ผ่านมา อิรักทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อซื้อเครื่อง ADE-651 ให้ทหารและตำรวจที่ประจำตามจุดตรวจต่างๆ ใช้ เพื่อตรวจจับวัตถุระเบิดในรถยนต์ โดยเจ้าหน้าที่อิรักรายหนึ่งระบุว่า การทดสอบก่อนใช้แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพ
รายงานข่าวระบุว่า กองทัพสหรัฐไม่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ ซึ่งจำหน่ายอย่างแพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ขณะที่เจ้าหน้าที่กองทัพสหรัฐ ยังเคยเรียกร้องให้กองทัพอิรักหันไปพึ่งสุนัขดมกลิ่นตรวจหาวัตถุระเบิด และการอบรมทหารและตำรวจมากขึ้นแทน
อย่างไรก็ดี พันเอกซาตาร์ จาบาร์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อ คณะกรรมการวัตถุระเบิด กระทรวงกลาโหมอิรัก ยืนยันว่า อุปกรณ์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพ เคยช่วยกองกำลังมาหลายครั้ง และผ่านการทดสอบก่อนนำเข้า เพียงแต่ทหาร ตำรวจมักนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องเท่านั้น
กระนั้นก็ตาม นายนูรี อัล-มาลิกี นายกรัฐมนตรีอิรัก สั่งไต่สวนเรื่องนี้ทันที รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงกลาโหม และเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ทำสัญญาซื้อหรือให้คำปรึกษาเรื่องการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว พร้อมตั้งคำถามว่า เหตุใดเจ้าหน้าที่อิรักถึงสามารถทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทผู้ค้าที่ไม่มีที่ตั้งหรือไม่ได้จดทะเบียนตั้งสำนักงานในอังกฤษอย่างบริษัทเอทีเอสซี
นักวิทยาศาสตร์ชำแหละชิ้นส่วนเครื่องลวงโลก
ด้าน สำนักข่าวบีบีซี ได้ทำการแกะชิ้นส่วนเครื่องตรวจระเบิด ADE-651 เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือ ผลปรากฏว่าไม่พบชิพคอมพิวเตอร์ วงจรไฟฟ้า หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายในการ์ดที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องนี้แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวประจำรายการข่าวภาคค่ำ "นิวส์ไนท์" ของบีบีซี นำการ์ดของเครื่อง ADE-651 ไปให้ นายมาร์คัส คูห์น ผู้เชี่ยวชาญประจำห้องทดลองคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แกะพิสูจน์ และพบว่าในการ์ดซึ่งมีหน้าที่ตรวจจับระเบิดทีเอ็นที ไม่มีอะไรบรรจุอยู่เลย มีเพียงแผ่นกันขโมยที่มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดแปะเอาไว้เท่านั้น
นายคูห์น กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่เครื่องนี้จะสามารถตรวจจับอะไรได้ และการ์ดตัวนี้ก็ตรวจจับทีเอ็นทีไม่ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งไม่มีโปรแกรมอะไรในการ์ด ทั้งเมมโมรี และไมโครชิพ จึงไม่มีทางที่จะเก็บข้อมูลได้ไม่ว่าจะรูปแบบใด
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่า เครื่องมือตรวจสอบวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ไม่เหมือนกับเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่บริษัทในอังกฤษผลิตและฝ่ายความมั่นคงของอังกฤษจับกุมเพราะไม่มีคุณภาพ โดยพล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม ว่า เครื่องมือตรวจสอบวัตถุระเบิด จีที 200 กับเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่บริษัทในอังกฤษผลิต ไม่เหมือนกัน ขอยืนยันว่าใช้มานานแล้วที่กองร้อย และไม่ใช่เฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)ที่ใช้ ตำรวจก็ใช้ ทุกหน่วยงานใช้หมด ยืนยันไม่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ มั่นใจได้ คงไม่ต้องชี้แจงอะไร เพราะเป็นคนละอันกัน
ด้าน พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา ประธานกรรมาธิการ(กมธ.)การทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กมธ.ทหาร ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง และตั้งข้อสังเกตไปแล้วตั้งแต่เมื่อ 3 เดือนก่อนว่าเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 ไม่น่าจะใช้ได้ผล มีการชี้แจงว่าตรวจ 10 ครั้ง จะเจอแค่ 2 ครั้งถือว่าต่ำมาก การตรวจหาวัตถุระเบิดต้องใช้องค์ประกอบกับคนที่เป็นผู้ใช้เป็นหลัก ทำให้ไม่มีความเสถียร ไม่เหมาะกับการใช้งานที่เสี่ยงอันตราย อีกทั้งราคาแพงเกินจริง ประเทศต่างๆที่เคยใช้ยกเลิกใช้กันหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่ประเทศด้อยพัฒนาและไทยเท่านั้น
“ผมไม่รู้ว่าตอนนี้กองทัพไทยถูกต้ม หรือตั้งใจอยากโดนต้มกันแน่ เพราะราคาที่สูงถึงเครื่องละ 1.2 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนไม่น่าจะถึง 4 แสนบาท ทำให้คิดได้ว่าที่ตั้งใจซื้อเพราะผู้ใหญ่ของกองทัพหวังค่าคอมมิสชั่นเท่านั้น ผมกำลังพิจารณาจะตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในวันที่ 28 มกราคมนี้”พ.ต.ท.สมชาย กล่าว
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment
ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda