30 December 2011

สิ่งมหัศจรรย์ที่เหนือความมหัศจรรย์

            ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณีเสมอ              
                              ความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)

            จงยึดมั่นในตักวา (ความยำเกรง) ต่อเอกองค์ อัลลอฮฺ อย่างสัจจริง และจงอย่ากลับไปหาอัลลอฮฺ(เสียชีวิต)จนกว่าจะดำเนินตนให้อยู่ในอิสลามอย่างสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺสั่ง และงดเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่า

“และอัลลอฮ์นั้นคือ(เจ้านาย)ผู้ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง(ออกจากความหลงผิด ไปสู่สิ่งถูกต้อง) และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น บรรดา(เจ้านาย)ผู้ช่วยเหลือของพวกเขาก็คือ อัฎ-ฎอฆูต(หมายถึงชัยฎอนและอื่น ๆ) โดยที่พวกมันจะนำพวกเขาออกจากแสงสว่างไปสู่ความมืด (ออกจากสิ่งที่ถูกต้องไปสู่สิ่งที่ผิด) ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรก โดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล
(อัล-บากอเร๊าะฮฺ อายัต 257)

          จากอายัตที่อ่านพระองค์ทรงชี้แนะหลักคิดอยู่อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ

1.      อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นเจ้านายที่แท้จริง ที่ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธาเสมอ ดังนั้นผู้ศรัทธาจึงไม่อาจใช้คำว่า
เจ้านายโดยพร่ำเพรื่อ ซึ่งต่างกันกับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาซึ่งเจ้านายของพวกเขานั้นคือ อัฎ-ฎอฆูต หมายถึง
ชัยฎอนรวมทั้งสิ่งอื่น ๆ ที่นอกจากอัลลอฮฺอีกด้วย
      2.      จะเห็นความแตกต่างในภารกิจที่ชัดเจนระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ปฏิเสธศรัทธา โดยบรรดาผู้ศรัทธานั้นจะหนี 
ออกห่างจากความหลงผิดเข้าสู่ความจริงที่ถูกต้องซึ่งเทียบได้กับแสงสว่าง ในขณะเดียวกันบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นจะดำเนินภารกิจที่ตรงข้ามกัน โดยที่พวกเขาจะชักชวนผู้คนออกห่างออกจากสิ่งที่ถูกต้องและไปทำในสิ่งที่ผิด  และนี่คือ “ปรากฏการย้อนศร” ที่กำลังได้รับการเชิดชูจากคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบัน

จากอายัตข้างต้นในทางภาษาพบคำที่น่าสนใจอยู่ 2 คำคือคำว่า "الظلمات" ในรูปพหูพจน์และ "النور" ในรูปอกพจน์โดยมุฟัซซีรีนกล่าวว่า เมื่อคำในรูปพหูพจน์ที่มีนัยเชิงจำนวนที่มากกว่า มาพบกับคำในรูปเอกพจน์ที่มีความหมายตรงข้ามกันนั้น จึงเป็นการตรงข้ามกันระหว่างสิ่งที่ทรงคุณค่า"الفاضل"กับสิ่งที่ถูกทำให้มีคุณค่า"المفضول" หรือระหว่างสัจธรรม"الحق"กับความเท็จ"الباطل" ดังนั้นจำนวนมากจึงไม่ได้เป็นบรรทัดฐาน หรือตัวชี้วัดความถูกต้อง หรือ ความดี แต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันแม้จะเป็นจำนวนน้อยก็ตามแต่ทรงคุณค่ายิ่งในอัลลอฮฺหากอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง

อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวอีกว่า

          “และหากเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดินแล้ว พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงทางจากทางของอัลลอฮฺไป พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการนึกคิดเอาเอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดนอกจากพวกเขาจะคาดคะเนเอาเองเท่านั้น”
                                                                                                        (อัล-อันอาม อายัต 116)

           القرطبيมีความเห็นว่าในคำว่า “พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงทางจากทางของอัลลอฮฺไป”นั้น หมายความว่า หลงทางออกไปจากแนวทางของการตอบแทนจากอัลลอฮฺ โดยที่พวกเขาจะไม่สนใจต่อการตอบแทนในวันอาคีรัตของอัลลอฮฺแต่พวกเขาจะมุ่งหาผลประโยชน์ที่พวกเขาคาดหวังเอาเองในโลกนี้เท่านั้น ผลตอบแทนในเชิง ‘Meritหรือเชิงบาปบุญ คุณโทษ จะไม่ส่งผลแต่ประการใดในสำนึกพวกเขา 
         เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสังคมที่ถูกครอบงำทางความคิดเช่นปัจจุบัน ที่ได้รับการหล่อหลอมให้มีความเชื่อว่าผลตอบแทนในรูปประโยชน์เฉพาะหน้าหรือในลักษณะ “บริโภคนิยม” ดังปรากฏในโลกทุนนิยมเสรี และประชาธิปไตยสุดขั้วนั้น กำลังจะนำพาสังคมส่วนใหญ่ออกไปจากบรรทัดฐาน บาปบุญ คุณโทษจากอัลลอฮฺ แล้วไปสู่บรรทัดฐานที่เขาทึกทักกันเองว่าดี ถูกต้อง ซึ่งแต่ละคนแต่ละกลุ่มก็จะสร้างมาตรฐานขึ้นเองตามอำเภอใจ

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)
       
ในสังคมปัจจุบันได้ปรากฏให้เห็นสิ่งที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เหนือความมหัศจรรย์(أعجب العجائب) ขึ้นแล้ว และที่สำคัญเป็น “ปรากฏการณ์ย้อนศร” ในอิสลามอีกด้วยเมื่อเราพบว่า

·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับว่าเป็นมุสลิมแต่ไม่เคยเรียนศาสนา และเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ในอิสลาม
       o  เรียนมาตลอดชีวิตเพื่อให้มีชีวิตที่ดีในโลกนี้แต่ไม่เคยสนใจที่จะเรียนศาสนาเพื่อชีวิตที่ดีทั้งในโลกนี้และในโลกอาคีรัต
·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับว่าเป็นมุอฺมิน (ผู้ศรัทธา)ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่รู้จักพระเจ้า ไม่รู้จักมลาอีกัตของพระองค์ กฎกำหนดสภาวะของพระองค์ ตลอดทั้งวันกียามัตที่จะมาถึง
       o  ชอบพูดตามคนอื่นที่ว่าศาสนาใด ๆ ก็ดีหมดทุกศาสนา เพราะสอนให้คนทำดีจึงทำทุกอย่างเพื่อหาปัจจัยยังชีพและลาภยศโดยไม่สนใจถูกผิด ฮาลาล ฮารอมบาปบุญคุณโทษ
·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ศรัทธาในอัลลอฮฺ ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่เชื่อฟังปฏิบัติ และเกรงกลัวอัลลอฮฺ
       o  ยึดระบบการเงินที่อาศัยดอกเบี้ยมาเป็นช่องทางประกอบอาชีพทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว
       o  ฉ้อราษฎร์บังหลวง เรียกรับเงินใต้โต๊ะ หารายได้ในทางลับโดยอ้างว่าเป็นธรรมเนียมที่ใคร ๆ ก็ทำ
·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าตนเป็นอุมมัต (ประชาชาติ) นบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ.)แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามนบี แล้วยังนำคนอื่นมายึดมั่นเชื่อถือเป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวัน เช่นกรณี
       o  วัยรุ่นหนุ่มสาวส่วนใหญ่ที่ตามกระแสแฟชั่น ยึดเอาแบบอย่างจากดารา นางแบบนายแบบในการแต่งกาย ตัดแต่งทรงผมโดยไม่สนใจหลักคำสอนในศาสนา
       o  วัยรุ่นหนุ่มสาวบางคนที่หลงกระแสตะวันตกมั่วสุม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพย์ยาเสพย์ติด ทำผิดประเวณี แล้วทำแท้ง                    
        
อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่า
 “และจากหมู่ชนนั้น มีผู้กล่าว่า เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลกแล้ว ทั้ง ๆ ที่พวกเขาหาใช่เป็นผู้ศรัทธาไม่”(หมายถึงพวกมุนาฟิกที่ศรัทธาแต่เพียงคำพูด แต่หัวใจปฏิเสธศรัทธา)
                                                                                                      (อัล-บากอเร๊าะฮฺ อายัต 8)

              สภาวการณ์ดังกล่าวนี้กำลังตอกย้ำให้เรามีความมั่นใจว่าศาสนาอิสลามเท่านั้นเป็นศาสนาที่แท้จริง จากที่ท่านรซูลลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ)ได้กล่าวไว้ล่วงหน้ามาก่อนนับพันปีซึ่งได้ปรากฏเป็นความจริงแล้วในปัจจุบัน ดังที่ท่านอบูฮูร็อยร็อฮฺ (รฏียัลลอฮูอันฮู) กล่าวว่า ท่านรซูลลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ) กล่าวว่า

         “อิสลามนั้นเริ่มต้นด้วยภาวะแปลกแยก แล้วหลังจากนั้นก็จะหวนกลับสู่ภาวะแปลกแยกอีกครั้ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ที่แปลกแยก(จากคนหมู่มากที่ทำผิดศาสนา)”
                                                                                                      รายงานโดยอบูฮูร็อยร็อฮฺ

           รูปธรรมของความแปลกแยกดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้จาก “ปรากฏการณ์ย้อนศร” ในอิสลามที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน กล่าวคือ
 ·       เมื่ออุมัตอิสลามปฏิเสธที่จะปฏิบัติละหมาด จ่ายซะกาต หยุดยั้งความชั่ว และเชิญชวนกันทำอิบาดะฮฺ แม้แต่คนในครอบครัว
·       เมื่ออุมัตอิสลาม ญาฮิลฺ(อวิชา)ในข้อกำหนด บทบัญญัติอิสลาม เช่น ฮาลาล-ฮารอม ถูก-ผิด (ศ็อฮฺ-บาตัลฺ) อีกทั้งยังทำเป็นไม่รู้และไม่รับรู้ในสิ่งต่าง ๆที่ตนต้องปฏิบัติ และไม่เกรงกลัวที่จะทำในสิ่งที่ตนไม่ค่อยแน่ใจ
·       เชื่อมั่นในระบบดอกเบี้ย อีกทั้งยังพยายามอธิบายวิธีการเอาชนะปัญหาเศรษฐกิจด้วยระบบดอกเบี้ยอย่างเก่งกล้าสามารถ และด้วยหลักเหตุผลที่นำมาทำให้เชื่อได้ว่าปราศจากดอกเบี้ยเศรษฐกิจประเทศชาติ และโลกต้องล้มลงแน่นอน เสมือนหนึ่งท้าทายอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของอัลลอฮฺ
·       ยาเสพย์ติด เหล้า บุหรี่ไม่สามารถจะห้ามได้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อหลักสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศชาติ
·       สิ่งที่ชอบด้วยหลักศาสนากลายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เลวร้าย และสิ่งที่ผิดแปลกไปจากหลักศาสนากลับกลายเป็นสิ่งที่ดี เป็นที่เชิดชูยกย่อง อาทิ
     o  การทำผิดประเวณีเป็นสิ่งที่สังคมรับได้ การลงโทษคนทำผิดประเวณีในประเทศมุสลิมบางประเทศกลับถูกประณาม
     o  เปิดเอารัตในบรรดาสตรี และบุรุษที่เกินขอบเขตจนกลายเป็นเสน่ห์อีกแบบหนึ่งในวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบโดยไม่รู้สึกสะทกสะท้านต่อหลักคำสอนของศาสนา
     o  รวมทั้งการที่ผู้ชายแต่งกายเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงแต่งกายเป็นผู้ชายจนถึงขนาดผ่าตัดแปลงเพศ แล้วออกมาเรียกร้องสิทธิความชอบธรรมให้สังคมเห็นใจยังอุตสาห์สนับสนุน
·       สัจธรรมและความเท็จถูกเกลือกกลั้วผสมผสานกันจนยากที่จะแยกออกได้
·       เพิ่มดีกรีความเชื่อมั่นต่อหลักกฎหมายของมนุษย์ที่ไม่เคยมั่นคงตั้งอยู่เหนือบทบัญญัติของอัลลอฮฺ

            อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวไว้เพื่อเป็นการปลอบใจท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม เนื่องจากถึงแม้ว่าท่านนบีจะมีความห่วงใยต่อการอีมานของพวกเขาและทุ่มเทกำลังความสามารถในการชี้แนะแก่พวกเขาก็ตาม พวกเขาก็จะไม่ศรัทธาต่อท่านนบี เพราะพวกเขายังคงดื้อดันในความตั้งใจเดิม คือ ปฏิเสธศรัทธา ว่า
                       “และส่วนใหญ่ของมนุษย์จะไม่ศรัทธาต่อเจ้า ถึงแม้เจ้าปรารถนาอย่างยิ่งก็ตาม”
ซูเราะฮฺยูซุฟ อายัตที่ 103

ซึ่งคนในลักษณะดังกล่าวไม่ได้เป็นคนส่วนน้อยแต่เป็นคนส่วนมากที่อาศัยกระแสส่วนมากอย่างโอหัง ไม่เกรงกลัวคำพิพากษาในวันอาคีรัต โดยอัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงยืนยันว่า

“และโดยแน่นอน ส่วนมากของชนรุ่นก่อนหน้าพวกเขาได้หลงผิด(ไปแล้ว)”

ซูเราะฮฺ อัศศ็อฟฟาต อายัตที่ 71

             และในที่สุดพวกเขาก็จะพบกับความเจ็บปวดเป็นที่สุดเมื่ออัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกำชับไว้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า

และเจ้า(ท่านนบี)จงอย่าละหมาดให้แก่คนใดในหมู่พวกเขาที่ตายไปเป็นอันขาด และจงอย่ายืนที่ (ใกล้) หลุมศพของเขาด้วย แท้จริงพวกเขานั้นได้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ และพวกเขาได้ตายลง ขณะที่พวกเขาเป็นผู้ละเมิด(กุฟรฺ)
                                                                                                ซูเราะฮฺ อัตเตาบะฮฺ อายัตที่ 84

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)
 
                 ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
           “ผู้ใดที่อัลลอฮฺประสงค์ให้เขานั้นกลายเป็นคนดี อัลลอฮฺจะทรงให้เขามีความเข้าใจในศาสนา”

             อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวถึงคุณค่าของความรู้และการศรัทธาที่เมื่ออยู่ควบคู่กันก็จะสามารถปกป้องมนุษย์ได้ และจะเป็นผู้ได้รับรางวัลอันใหญ่หลวงในอาคีรัต ว่า :

“แต่ทว่าบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในความรู้ในหมู่พวกเขา(ชาวยิวบางคน) และบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น (อุมัต นบีมูฮัมมัด) พวกเขาย่อมศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า และสิ่งที่ถูกประทานลงมาก่อนเจ้า และบรรดาผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และบรรดาผู้ชำระซะกาต และบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลกชนเหล่านี้แหละเราจะให้แก่พวกเขาซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง
ซูเราะฮฺ อัน-นิซาอฺ อายัตที่ 162

             อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงชี้แนวทางให้แก่คนที่หลงผิดไปแล้วได้มีความสำนึกแล้วกลับสู่แนวทางที่ถูกต้องด้วยการทำดี เนื่องจากการทำดีนั้นสามารถจะลบล้างความผิดได้ โดยกล่าวว่า :

 “และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ตามปลายช่วงทั้งสองของกลางวัน(หมายถึงละหมาดศุบฮ์และอัศร) และยามต้นจากกลางคืน(หมายถึงละหมาดมักริบและอีชาอ์) แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลายนั่นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก (ผู้รำลึกคือผู้ที่อยู่ในแนวทางที่เที่ยงธรรม และดำรงรักษาไว้ซึ่งการละหมาด ดังนั้น การรักษาไว้ซึ่งการละหมาดก็ดี และการทำความดีอย่างอื่น ๆ ก็ดี เป็นข้อเตือนสำหรับผู้รักการตักเตือนและเป็นการชี้แนะแก่ผู้ที่รักการชี้แนะไปสู่ความดี)
                                                                                                        ซูเราะฮฺ ฮูด อายัตที่ 114

 และสำหรับผู้ใดก็ตามที่ประสงค์จะขอลุแก่โทษจากการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติ และเขาปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อัลลอฮ์ ตะอาลา จะทรงรับการขออภัยโทษของเขา และเขาจะได้รับความโปรดปราน ณ ที่พระองค์

“และผู้ใดกลับเนื้อกลับตัวและกระทำความดี แท้จริงเขากลับเนื้อกลับตัวเข้าหาอัลลอฮ์อย่างจริงจัง”
                                                                                                ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน อายัตที่ 71

         ขออัลลอฮฺจงประทานความศิริมงคลแก่ท่านและข้าพเจ้า ด้วยอัล-กุรอานอันประเสริฐ และยังประโยชน์แก่ข้าพเจ้าและท่านด้วยหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรอานและคำตักเตือนที่หลักแหลม และจงตอบรับจากข้าพเจ้าและท่านจากการอ่านอัล-กุรอาน เพราะแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้
         ข้าพเจ้าขอลุแก่โทษจากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และแก่ท่านพร้อมทั้งบรรดามุสลีมีนทั้งหญิงและชาย และมุอฺมีนีนทั้งหญิงและชาย ขอได้โปรดให้อภัยแก่พวกเราด้วยเถิด อามีน

เชิญส่งความเห็นของท่านไปที่ : mipandan@gmail.com

26 December 2011

ธุรกิจเครือข่ายไม่เป็นที่อนุญาตในอิสลาม(พีระมิด+mlm)

ทัศนะของนักกฎหมายอิสลามต่อการประกอบธุรกิจแบบเครือข่ายนักกฎหมายอิสลามได้ให้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการทำธุรกิจแบบเครือข่ายจากกรณีของบริษัทบิสเนสและอื่นๆ โดยเป็นการตอบคำถามทั้งในรูปของทัศนะส่วนบุคคลและสภาหรือที่ประชุมนักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งส่วนหนึ่งของทัศนะดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

1-มัจมะอฺ อัลฟิกฮฺ อัลอิสลามี (สภานิติศาสตร์อิสลาม)ได้ให้คำวินิจฉัยว่า-การเข้าร่วมกับบริษัทบิสเนสและอื่นๆที่เป็นบริษัทธุรกิจแบบเครือข่ายไม่เป็นที่อนุญาตในศาสนาอิสลามเพราะถือว่าเป็นการพนัน-ระบบของบริษัทบิสเนสและบริษัทอื่นที่คลายกันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงนายหน้าตามที่บริษัทอ้างด้วยเหตุนี้ทางสภาจึงขอเสนอให้ฝ่ายต่างๆที่รับผิดชอบให้ใบอนุญาตในประเทศมุสลิมทำการยึดใบอนุญาตคืนจากบริษัทที่ดำเนินการในรูปเครือข่ายดังกล่าว.และควรสอบถามสภานิติศาสตร์อิสลามก่อนที่จะดำเนินการอนุญาตในเรื่องดังกล่าว.(12)

2- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถาวรแห่งที่ประชุมนักหะดีษ ( لملتقى أهل الحديث اللجنة الدائمة)ได้กล่าวถึงธุรกิจระบบเครือข่ายว่า “แท้จริงแล้วการทำธุรกิจประเภทนี้เป็นที่ต้องห้าม ทั้งนี้เพราะเป้าหมายหลักของธุรกิจนี้คือเม็ดเงินไม่ใช่สินค้า เม็ดเงินอาจจะเป็นล้านในขณะที่ราคาสินค้าไม่เกินร้อย คนมีสติทุกคนหากมีการเสนอระหว่างสองสิ่งดังกล่าว แน่นอนเขาจะต้องเลือกเม็ดเงิน ด้วยเหตุนี้บริษัทจะใช้วิธีโฆษณาสินค้าโดยการบอกถึงจำนวนเม็ดเงินที่ใหญ่ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับและจูงใจด้วยกำไรที่เกินคาดเทียบกับราคาสินค้าที่เล็กน้อย ดังนั้นสินค้าที่ขายจึงเป็นเพียงฉากและทางที่จะไปสู่เม็ดเงินและกำไร. (13)

3- ศูนย์ฟัตวาภายใต้การดูแลของ ดร.อับดุลลอฮฺ อัลฟะกีฮฺ ได้ตอบคำถามของผู้ถามว่า “หลังจากที่เราได้ศึกษาระบบของบริษัท(ที่ท่านถาม)พบว่าไม่เป็นที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมกับบริษัทนี้เพื่อหากำไรผ่านการโฆษณาและค้าขายสินค้าของบริษัท เพราะว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมไม่ได้มีเป้าหมายในสินค้า แต่มีเป้าหมายในเม็ดเงินที่จะได้จากการหาสมาชิกใหม่ และพวกเขาอาจสำเร็จได้เงินที่เท่าหรือมากกว่าที่ลงทุนไป หรืออาจไม่ได้อะไรเลยและนี้ก็คือการพนันนั้นเอง ธุรกรรมนี้อยู่ระหว่างการได้และเสีย และสินค้าเป็นเพียงตัวกลางจึงไม่มีผลใดๆเลย(14).

4- คำประกาศของที่ประชุมสมัชชาคณะกฎหมายอิสลามมหาวิทยาลัย อัซซัรกออฺครั้งที่6 ซึ่งมีการจัดประชุมเมื่อวันที่23-25 เดือนญุมาดิลอาคิเราะฮฺ 1425 ฮิจเราะฮฺ ตรงกับวันที่ 12/8/2004 ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในปัจจุบัน ซึ่งในหัวข้อที่8 ที่ประชุมมีมติดังนี้ สมัชชามีความเห็นว่า “การทำธุรกรรมกับบริษัทที่ทำธุรกิจแบบเครือข่ายต่างๆที่มีการดำเนินการในรูปแบบพีระมิดไม่เป็นที่อนุญาตเพราะธุรกิจรูปแบบนี้ประกอบด้วยธุรกรรมที่มีการพนัน(มุกอมะเราะฮฺ) ความไม่ชัดเจน (ญะหาละฮฺ) หลอกลวง (ตัฆรีร) และทำให้แรงงานเยาวชนสูญสินไปกับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาและสังคมอย่างแท้จริง และเพราะเหตุว่ามันนำมาซึ่งกำไรอันน้อยนิดแต่การขาดทุนที่มากมาย. พร้อมกันนี้ทางสมัชชาได้ประกาศจุดยืนให้ฝ่ายที่มีอำนาจรับผิดชอบทบทวนการอนุญาตให้บริษัทประเภทนี้ได้ประกอบการเพราะมีผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ(15).

5- ดร.สามี สุวัยลิม ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์อิสลาม ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับบริษัทควิสท์(Quest)ของฮองกง ซึ่งมีรูปแบบคือเมื่อบุคคลพอใจกับบริษัทหรือสินค้าของบริษัท เขาก็จะลงทะเบียนในเว็บไซท์ของบริษัท โดยกรอบรายละเอียดของตัวเองและหมายเลขของผู้แนะนำ พร้อมกับจ่ายค่าลงทะเบียนสิบดอลลาร์และรับหมายเลขรหัสของตัวเองโดยถูกบรรจุภายใต้สายของผู้แนะนำ การลงทะเบียนเพียงอย่างเดียวจะยังไม่มีแต้ม เมื่อบุคคลนั้นซื้อสินค้าจะถูกบันทึกแต้มให้แก่ผู้แนะนำโดยที่สินค้าแต่ชนิดจะมีแต้มต่างกันเมื่อสะสมแต้มถึงหกแต้มผู้แนะนำก็จะได้เงิน250ดอลลาร์ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆซึ่งดร.สามีได้ตอบว่าธุรกิจรูปแบบนี้ก็คือธุรกิจแบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม) (16) นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับธุรกิจแบบเครือข่ายโดยยังมีคำวินิจฉัยจากอีกหลายท่านหลายเว็บไซท์ซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นว่าการดำเนินธุรกิจแบบเครือข่ายนั้นเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม.

สรุป
สาเหตุที่ห้ามเพราะ
•เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย

•ไม่ได้ค้าขายสินค้า แต่เป็นการค้าขายเงินต่อเงิน

•สินค้าไม่ไ้ด้มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา

•มีลักษณะเข้าข่ายการพนัน หรือเสี่ยงโชค

และเท่าที่เห็นนั้น บ่งบอกได้ประการหนึ่งว่า มิได้ห้ามการขายตรงทั้งหมด เพราะการขายตรงมีหลายรูปแบบ ที่ห้ามชัดๆ ตอนนี้ก็คือธุรกิจที่เข้าข่ายในสี่ประการข้างต้น

12 December 2011

การลอบสังหารคอลีฟะห์อุษมานอิบนิอัฟฟาน



โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ
อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม


อลีฟะฮ์อุษมานรู้สึกว่าสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้นได้เกิดความระส่ำระสายขึ้นแล้ว และเพื่อระงับเรื่องนี้ ในฤดูฮัจญ์ (ฮ.ศ. 34) ท่านได้เชิญชวนผู้ครองแคว้นต่างๆ เข้าปรึกษาหารือ ผู้ครองแคว้นคนหนึ่งต้องการให้คอลีฟะฮ์ใช้วิธีการที่รุนแรงในการปราบปราม แต่คอลีฟะฮ์ไม่ต้องการ เกรงว่าจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงยิ่งไปกว่านี้ มุอาวียะฮฺผู้กุมอำนาจสูงสุด ในดินแดนที่ยึดมาได้อย่างกว้างขวางนั้นยินดีที่จะส่งกองทัพที่เข้มแข็งจากซีเรียไปปราบแต่คอลีฟะฮ์ก็ปฏิเสธ ด้วยการให้เหตุผลว่า ท่านไม่ต้องการสร้างความลำบากใจแก่ชาวเมืองมะดีนะฮฺ หรือต้องทำให้ มักกะฮฺต้องเปื้อนเลือด (หากเกิดการสู้รบขึ้น) ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานส่งคณะฑูต 4 ท่าน ไปยังดินแดนต่างๆ ของฝ่ายกบฏเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ที่แท้จริง บุคคลทั้งสามได้แจ้งแก่ท่านว่าเหตุการณ์ทั้งหลายอยู่ในภาวะปกติแก่ทูตที่ส่งไปยังอียิปต์ แต่อัมมาร์บุตรยาซิรฺไม่เดินทางกลับมา อาจเป็นไปได้ว่าเขาได้รับการจูงใจหรือคล้อยตามพวกกบฏเหล่านั้น

ความเคลื่อนไหวจากฝ่ายกบฎ ไม่อาจระงับยับยั้งได้อีกแล้ว แม้ว่าการกบฏที่เกิดขึ้นนั้น มีความขัดแย้งกับหลักการเบื้องต้นของศาสนาอิสลาม และได้ล่วงเกินมติในที่ประชุมเพื่อทำการเลือกคอลีฟะหฮฺ โดยคณะที่ถูกแต่งตั้งจากคอลีฟะฮ์อุมัร

ในปี ฮ.ศ. 35 กลุ่มกบฎในอียิปต์ กูฟะฮฺ และบัศเราะฮฺได้เคลื่อนพลพร้อมๆ กัน มุ่งสู่มาดีนะฮฺจำนวนรี้พลทั้งสิ้นเกือบ 3000 คน

กองกำลังจากอียิปต์ภายใต้การนำของมุฮำหมัดบุตรอบูบักรฺ (บางข่าวก็กลาวว่าเป็น อัล-ฆอฟิกีอิบนุฮัรบ์) โดยในขณะบุคคลเหล่านั้น ได้มีผู้ติดตามชื่ออับดุลลอฮฺ บุตรซอบารฺอยู่ด้วย

ส่วนกองกำลังจากกุฟะอิ ก็อยู่ภายใต้การนำของซัยต์บุตรเซาฮานอัลอับดิ และกองกำลังจากบัศเราะศฺ ภายใต้การนำของฮุกัยมฺบุตรยะบาละห์อัลอับดิ ผู้ที่มาจากอียิปต์มีความสำพันธ์กับท่านอาลีผู้ที่มาจากกุฟะฮฺมีความสัมพันธ์กับซุบัยร์และผู้ที่มาจากบัศเราะฮฺมีความสัมพันธ์กับฎ็อลฮะฮฺ ในสถานการณ์ที่ต่างกันและไม่ไกลไปจากเมืองมาดีนะฮฺ พวกเขาได้แจ้งความจำนงให้ คอลีฟะฮ์ปลด มัรวาน บุตร อัล-หะกัมออกจากตำแหน่ง และเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆก็ต้องเปลี่ยนเป็นบุคคลอื่นๆ เช่นกัน พวกเขาต้องการให้เศาะฮาบะฮฺ ที่พวกเขาได้ติดต่อไว้ ขึ้นดำรงตำแหน่งเหล่านั้นแทน (ท่านอาลีในอียิปต์ อัซ-ซุบัยรฺที่กูฟะและฎ็อลฮะฮฺที่บัศเราะฮฺ) เศาะฮาบะฮฺทั้งสามท่านดังกล่าวต่างก็ทราบดีถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าด้วยคุณธรรมอันดีงามของพวกเขา ทำใหัท่านคอลีฟะฮ์อุษมานแก้ไขยินยอมทีจะแก้ไขสถานการณ์ทั้งหมด แต่ความต้องการของฝ่ายกบฏเรื่องสุดท้ายนั้น บรรดาศอฮาบะหฮฺทั้งสามต่างก็ได้ปฏิเสธแม้ว่าพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนจากบุคคลเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สถานการณ์ก็คืนกลับสู่ภาวะปรกติ ฝ่ายกบฏก็เดินทางกลับเมืองเดิมของพวกเขา

ในบรรดากบฏเหล่านั้น กลุ่มที่มาจากอียิปต์ ได้รับความสำเร็จมากกว่ากลุ่มอื่น เพราะหัวหน้าของพวกเขามูฮำหมัด บุตรอบูบักร (เมื่อท่านอลีได้ตอบปฎิเสธไปแล้ว) ได้รับการรับรองจากคอลีฟะฮ์เพื่อให้เขาครองอียิปต์แทน อับดุลลอฮฺบินสะอด์ พร้อมกับคณะเหล่านั้น

คอลีฟะฮ์ได้ส่งบุคคลจากฝ่ายมูฮายีรีนและอัรศอร ไปเป็นพยานและเป็นฑูตสันติเจรจาเพือให้เกิดความปรองดองระหว่างกัน (หากจะได้รับการต่อต้านขัดขวางจากเจ้าผู้ครองแคว้นขณะนั้น คือ อับดุลลอบุตรสะด์)

ในระยะนี้คอลีฟะฮ์ก็ยินยอมผ่อนปรน ต่อท่านอาลีและยินยอมจะรับฟังคำแนะนำจากท่าน โดยปฏิเสธที่จะฟังคำแนะนำจากมัรวานอีกต่อไป และคำสำหรับเรื่องนี้ คืนกลับเข้าสู้สัจจะธรรมและความยุติธรรม “เตาบะ”) ได้กระทำขึ้นที่มัสยิดนะบะวีย์ ตามคำร้องขอของท่านอาลีท่ามกลางประชาชนเป็นจำนวนมาก

ในความเป็นจริงนั้นท่านคอลีฟะฮ์อุษมานไม่เคยไม่เคยมีความกินแหนงแครงใจกับท่านอาลีเพราะท่านอาลีเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ มีความบริสุทธิ์ใจอย่างสม่ำเสมอ

ซัยยิดะหฮฺอาอีฉะฮฺและอัมรบุตรอัล-อาศ ก็ได้ประจักษ์ ถึงการเตาบะฮฺ (กลับตัว) ของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน ต่อพฤติกรรมที่ล่วงมาแล้วข้างต้นความลับถูกเปิดเผย แต่ทว่าในขณะเดินทางกลับระหว่างทางกลับนั้น (ภายในเวลา3วัน)คณะผู้ที่มาจากอียิปต์ได้เผชิญกับบุคคลผู้หนึ่งซึ่งขี่อูฐผ่านไปอย่างรวดเร็วผ่านหน้าพวกเขาไป และอูฐที่เขาขี่เป็นอูฐของคอลีฟะฮ์ กาฬบุตรเป็นผู้ขับอูฐตัวนั้น พวกเขาจึงต่างก็มีความสงสัยว่าน่าจะมีสาส์นของคอลีฟะฮ์ คณะที่มาจากอียิปต์จึงเข้าขัดขวาง และค้นพบสาส์นฉบับหนึ่งแนบซุกอยู่ภายใต้กล่องไม้ไผ่เล็กๆห่อหุ้มด้วยเงินประทับตราของคอลีฟะฮ์ สาส์นฉบับนั้นได้นำส่งไปยังอับดุลลอลบุตรสะด์ เจ้าผู้ครองแคว้นอียิปต์บางส่วนของประโยคต่างๆ ในสาส์นนั้นได้เขียนคำว่า (ยังไม่ได้ใส่จุดและยังไม่มีตัวสระ เป็นอักขระในอัลกุรอานและเป็นภาษาอาหรับในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน) อันเนืองมาจากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความโกธรแค้น ความเหน็ดเหนื่อย และความสงสัยต่างๆ นานา เพราะการเดินทางในระยะที่ไกลมากนั้นทำให้พวกเขาสื่อความหมายว่า

“เมื่อมูฮัมหมัดบุตรอบูบักรได้มาถึงเขาและได้ถูกฆ่าตายทันที” ไม่ใช่สื่อความถึงการ “ถูกรับรอง” (ซึ่งความจริงแล้วในประการหลังเป็นความหมายอันแท้จริงจากท่านคอลีฟะฮ์อุษมานที่จะให้ผู้ครองแคว้นอียิปต์ขณะทำการรับรองการแต่งตั้งมูฮัมหมัดบุตรอบูบักรเป็นข้าหลวงแทนท่าน) เมื่อคำดังกล่าวมีความหมายที่อาจจะแปลเป็นหลายนัยเช่นนั้น (ตามความเข้าใจในสภาพดังกล่าว)คณะบุคคลที่มาจากอียิปต์ต่างก็กริ้วโกรธต่อท่านคอลีฟะฮ์ที่ปฎิบัติไม่เป็นไปตามวาจาเดิมที่มี่ต่อพวกเขา เพราะเหตุอะไรหรือท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจึงได้เปลี่ยนความคิดเช่นนั้นด้วยการตัดสินให้ประหาร เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาก็คิดว่าท่านคอลีฟะฮ์อุษมานใช้วิธีการอันก้าวร้าวและรุนแรงเกินกว่าเหตุ

ดังนั้น พวกเขาจึงกลับจากมะดีนะฮ์เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่า สาส์นฉบับนั้นมาจาผู้ใดกันแน่ ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้ปฎิเสธว่าสาส์นฉบับนั้นตนไม่ได้เป็นผู้เขียน พร้อมกับคำสาบานว่าตนไม่ได้มีความประสงค์เช่นนั้น

ตามหลักภาษาอาหรับ (ซึ่งควรแก่การยอมรับ) จะพบว่าคอลีฟะฮ์เป็นผู้เขียนขึ้นมาเองอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการให้ความหมายว่า “เป็นที่รับรอง”ไม่ใช่ความหมายว่า “ต้องฆ่า”(qutila) และคำนี้ ก็ยังเปลี่ยนเป็นความหมายอย่างอื่นได้อีกแต่ย่อมไม่เป็นการสมควรที่เคาะลีฟะฮ์จะยอมรับในสถานการณ์ดังกล่าวเพราะ “ภัยอันตรายจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”พร้อมกันนั้นท่านก็ได้ตระหนักถึงความเข้าใจผิดต่อสาส์นฉบับนั้นได้ดี รวมทั้งความหมายอันแท้จริง ถ้าหากว่าอักษรภาษาอาหรับในตอนนั้น มีเครื่องหมายจุดหรือสระแล้วก็ย่อมจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อันเป็นสาเหตุให้คอลีฟะฮ์ท่านหนึ่งต้องถูกฆาตกรรม

นักประวัติศาสตร์บางคนก็ได้กล่าวอ้างว่ามัรวานเป็นผู้เขียนขึ้น เพราะเขาคนเดียวเท่านั้นที่สามารถใช้เครื่องหมายประทับตราของคอลีฟะฮ์ และเขาอีกเช่นกันที่อยู่กับคอลีฟะฮ์ตลอดเวลา และนักประวัติศาสน์บางคนได้กล่าวว่า ศัตรูของคอลีฟะฮ์เป็นผู้ร่างสาส์นฉบับนั้น อาจจะเป็นอิบนูซอบาอ (เจ้ากาฬบุตร) ก็ได้

บ้านของคอลีฟะฮ์ถูกล้อม

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คณะที่ก่อการปฏิวัติจึงบังคับให้ท่านอุสมานลาออกจากตำแหน่งและให้มอบมัรวานแก่พวกตน แต่คอลีฟะฮ์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ เขาได้ลั่นวาจาออกไปว่า “ฉันจะไม่ถอดเสื้อคลุม (คิลาฟัต) ซึ่งอัลลอฮฺได้สวมใสไว้ให้”

ต่อมาบ้านของคอลีฟะฮ์ก็ถูกล้อม ในเวลานั้นเองผู้คนจากบัศเราะฮฺและกูฟะฮฺก็ได้ปรากฏตัวขึ้น การติดต่อได้กระทำกันอย่างรีบด่วน เพราะเวลานั้นเป็นช่วงฤดูฮัจญ์ ฝ่ายคอลีฟะฮ์เองก็ได้ส่งคณะฑูตหลายคณะออกจากเมื่องมะดีนะฮฺเพื่อส่งข่าวไปให้ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นในระยะแรก (30 วันของการเริ่มต้น) เคาะลีฟะฮ์ ยังได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านของท่านได้เพื่อกระทำหน้าที่เป็นอีหมามในการละหมาดและสามารถใช้น้ำจากบ่อของท่าน บิอ์รุเราะมะฮฺ และยังได้ตักดีรฺ ให้นมาซร่วมกับฝ่ายก่อการกบฏ จากนั้นท่านยังได้ประกาศต่อหน้าพวกเขา และยังปรึกษาหารือกับบรรดาหัวหน้ากบฏเหลานั้นด้วย สำหรับท่านอาลีนั้นมีความยุ่งยากใจเป็นอย่างมาก ท่านทำหน้าที่ประณีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายเพราะบางขณะท่านก็ถูก คอลีฟะฮ์ทอดทิ้ง และบางขณะก็ถูกเรียกตัวมาผ่อนคลายบรรยากาศของการเจรจา

อย่างไรก็ตามวันหนึ่งได้เกิดการทะเลาะกันอย่างรุนแรงระหว่างท่านคอลีฟะฮ์อุษมานกับฝ่ายก่อการกบฏทำให้พวกเขาขว้างก้อนหินไปที่ร่างของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานสงบแน่นิ่งอย่างไม่รู้ตัว จากนั้นร่างของท่านก็ถูกนำเข้าไปที่บ้านของท่าน นับตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นต้นไปเมืองหลวงคือมาดีนะก็ได้รับการคุกคามและสถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว เคาะลีฟะฮ์ก็ไม่ได้ออกจากบ้านไปไหนอีก บ้านของท่านถูกปิดล้อมรอบด้านและถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด บรรดาวัตถุปัจจัยประจำวันคือ น้ำและอาหารถูกห้ามไม่ให้นำเข้าไปในบ้านของคอลีฟะฮ์ (เกิดขึ้นในสิบวันสุดท้าย)

ในระยะนี้ผู้คนส่วนมากต่างก็ได้ขอร้องให้ท่านอาลีทำหน้าที่เป็นอีหมามในมัสยิดอัน-นะบะวีย์ แต่ท่านก็ปฎิเสธ ด้วยเหตุผลที่ว่าคอลีฟะฮ์ ยังอยู่และท่านยังขอร้องให้พวกกบฏเหล่านั้นรีบปล่อยคอลีฟะฮ์เสีย เพื่อทำหน้าที่เป็นอีหม่ามให้แก่พวกเขา สำหรับผู้ที่รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลในบ้านของคอลีฟะฮ์ให้พ้นจากภัยคุกคามของพวกกบฎ คือท่านอาลี และในเวลาต่อมาท่านก็ได้มอบหน้าที่นี่แก่บุคคลอื่น รวมทั้งอาซันและฮุซัยด์ (บุตรชายของท่าน) อัซซุบัยร์บุตรเอาวาม อับดุลลอบุตรอัยซุบัยร์ อับดุลลอบุตรอุมัร มุฮำหมัดบุตรฏ็อลฮะฮฺ อบูฮุรอยเราะและคนอื่นๆ โดยพวกเขาได้เปลียนหน้าที่รักษาการที่หน้าประตูเข้าออกที่บ้านคอลีฟะฮ์ท่านอาลีผู้ซื่อสัตย์ได้ขออนุญาตคอลีฟะฮ์เพื่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อพวกกบฏแต่ได้รับการคัดค้านจาก คอลีฟะฮ์ ท่านอ้างว่าไม่ต้องการเห็นการนองเลือดระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง

ในเวลาเดียวกันนั้น ข่าวได้ไปถึงซีเรีย มุอาวียะฮฺซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับคอลีฟะฮ์ ได้เสนอให้คอลีฟะฮ์ย้ายไปอยู่ซีเรียหรือที่มะกะฮฺ หรือถ้ามีความจำเป็นแล้วท่านจะส่งกำลังไปควบคุมบ้านของคอลีฟะฮ์ แต่ข้อเสนอของมุอาวียะฮฺได้รับการปฏิเสธจากคอลีฟะฮ์ เคาะลีฟะฮ์ผู้ก้าวย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว ได้ก้าวขึ้นไปชั้นบนของบ้านหลายครั้ง พร้อมกับพยายามร้องตะโกนขึ้นเสียงดังเพื่อที่จะให้พวกกบฏแยกตัวออกไป และไม่กระทำการใดๆ ในขณะเดียวกันท่านมัรวานเองก็ไม่แสดงความจริงใจออกมาให้เห็นว่าเขาจะปกป้องอารักขาและให้ความปลอดภัยแก่คอลีฟะฮ์อย่างไร เขาได้แต่ตะโกนพร้อมเสียงอันดังพร้อมด้วยคำพูดที่รุนแรงเพื่อที่ว่าพวกกบฏเหล่านั้น จะได้แยกย้ายตัวเองกลับไป โดยไม่ต้องไปฟังคำขอร้องและข้อเสนอใดๆ ของพวกเขาและภายในบ้านของ คอลีฟะฮ์เองภรรยาของท่านคือนาอีละฮฺ (ก่อนนี้นับถือศาสนาคริสต์) ได้เสนอให้ท่านคอลีฟะฮ์ทำความสนิทสนมกับท่านอาลี และพยายามห่างไกลจากมัรวานและลูกสมุนของเขา

ในชีวิตของนบี นั้นได้เคยกล่าวไว้ว่า จะต้องเกิดการฟิตนะฮฺในระยะเวลาอันใกล้กับท่าน และเหตุการณ์ณ์ต่างๆได้บงบอกว่าการฟิตนะฮฺ(การฆ่า)นั้นจะเกิดขึ้นในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมานและก่อนที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจะถูกสังหาร ท่านได้ฝันไปว่า ท่านได้รับเชิญจากนบี เข้าร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน (ซึ่งท่านนบีก็ได้สิ้นชีพไปแล้ว เป็นเครื่องหมายบงที่ว่าท่านจะได้พบกับท่านนบี ในอาลัมบัรฺซัล-ปรภพ) หลายสัปดาห์ผ่านไปเหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นโดยมีคนกลุ่มน้อยจากพวกกบฏได้เข้าไปในบ้านของท่านทางประตูหลัง พวกเขาเผชิญหน้ากับคอลีฟะฮฺและทำท่าจะสังหารคอลีฟะฮฺ แต่พวกเขากลับหยุดชะงักเพราะใจไม่กล้าพอที่จะสังหาร คอลีฟะฮ์ในขณะนั้น พวกเขาจึงเดินออกไปอย่างเงียบๆ

ในขณะนั้นเป็นช่วงของการทำพิธีฮัจย์ บรรดาผู้คนที่มาจากทั่วทุกแห่งหนของแผ่นดินอาหรับต่างก็เดินทางเข้าสู่มะกะฮฺและมาดีนะฮฺ เมื่อเป็นนี้ฝ่ายกบฏจึงดำเนินการตามแผนเพื่อสังหารคอลีฟะฮ์ ก่อนที่กำลังการช่วยเหลือจากฝ่ายอื่นจะมาถึง ชั่วขณะนั้นกลุ่มกบฏก็ไม่อาจรอคอยได้อีก พวกเขาพากันมุ่งตรงเข้าสู่บ้านของคอลีฟะฮ์ จากนั้นก็ได้ปีนขึ้นไปทางด้านหลังและได้เผชิญหน้ากับคอลีฟะฮ์ของพวกเขากรูกันเข้ามาตี แทง และบั่นคอของคอลีฟะฮ์ ขณะที่คอลีฟะฮ์กำลังอ่านอัล-กุรอ่านในมุศฮัฟของท่าน (ฉบับอุสมาน) ทั้งๆที่กำลังถือศีลอดในวันศุกร์ นาอิละฮฺก็รีบเร่งเข้าไปช่วยสามีของนาง แต่ก็ไม่สำเร็จ นอกจากนี้นิ้วมือของนางก็ยังถูกพวกกบฏตัดจนขาด บัดนี้วิญญาณของคอลีฟะฮ์ ได้ออกจากเรือนร่างไปแล้วและทรัพย์สินมีค่าในบ้านก็ถูกริบไปจนหมดหยดเลือดของคอลีฟะฮ์อุษมานกระเซ็นลงบนมุศฮัฟอัลกุรอานอันพิสุทธิ์ที่ท่านกำลังเปิดอ่านอยู่นั้นก่อนที่มืออันมีเกียรติของท่านจะมีโอกาสปิดมุศฮัฟฉบับนั้น

ขณะที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถูกสังหาร ท่านอาลีอยู่ในมัสยิดนะบะวีย์ และท่านได้รับรู้ข่าวร้ายที่นั้น อย่างไม่คากฝันมาก่อน

ถ้ามองตามหลักการศาสนาแล้วย่อมเป็นการหะรอม (ต้องห้ามทางศาสนา)ในการคิดคดและก่อการกบฏต่อคอลีฟะฮ์ ผู้ซึ่งสามารถดำรงการปกครองตามคัมภีร์อัลกุรอานได้ที่สำคัญที่สุดก็คือหากได้มีการสังหารและช่วงชิงทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการบริจาคอย่างบริสุทธิ์ใจด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นการฮะรอมยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผ่นดินอันบริสุทธิ์อัลมาดีนะซึ่งกำลังอยู่ในเดือนหะรอม (ฤดูการของการประกอบพิธีฮัจย์) อีกด้วย

อัลอุสตาซ ฟารีด วัจญ์ดี ได้กระทำการที่เกินไป ด้วยการฆาตรกรรมคอลีฟะฮ์ครั้งนี้ ตามความคิดของเขาการบังคับให้คอลีฟะฮ์ สละอกจากตำแหน่ง ก็ย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว

ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานสิ้นชีวิตเพราะถูกสังหารในเวลาเกือบค่ำ หรือกลางคืนของวันที่ 18 ซุลฮิจยะฮฺ ฮ.ศ.35-20 พฤษภาคม ค.ศ. 656 โดยในขณะนั้น ท่านมีอายุได้ 82 ปี

29 November 2011

ความประเสริฐของเดือนมุฮัรรอม

เดือนมุฮัรรอมเป็นเดือนหนึ่งในบรรดาสี่เดือนที่ต้องห้าม(อัลอัชฮุรุลหุรุม) ดังพระกำหนดที่ถูกระบุในซูเราะตุตเตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 36 ซึ่งมีใจความว่า

        إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُوْرِ عِنْدَ اللهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرَا فِيْ كِتَابِ اللهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ

“แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม...”

ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายว่า สี่เดือนที่ต้องห้ามนั้นคือ เดือนซุลกะอฺดะฮฺ ซุลฮิจญะฮฺ มุฮัรรอม และรอญัับมุฎ็อร โดยสามเดือนแรกเป็นสามเดือนต่อเนื่องกัน แต่เดือนรอญับที่ถูกแยกมาเป็นเดือนที่ต้องห้ามระหว่างเดือนญุมาดาอัลอาคิเราะฮฺกับเดือนชะอฺบาน เพราะในประวัติศาสตร์ของอาหรับก่อนยุคอิสลาม ชาวเผ่ารอบีอะตุบนุนิซารได้เรียกเดือนรอมฎอนว่าเดือนรอญับ และถือเป็นเดือนต้องห้ามแทนเดือนรอญับของเผ่ามุฎ็อร ซึ่งเดือนรอญับของมุฎ็อรเป็นการกำหนดที่ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ จึงทำให้ท่านนบีเน้นในการกำหนดเดือนต้องห้ามว่าเป็นเดือนรอญับของมุฎ็อร

ส่วนเดือนมุฮัรรอมนั้นนอกจากเป็นเดือนต้องห้ามแล้ว ยังมีความประเสริฐอีกหลายประการดังต่อไปนี้

1. การถือศีลอดในเดือนมุฮัรรอม

เป็นการถือศีลอดที่มีความประเสริฐยิ่ง ซึ่งมีตำแหน่งรองจากเดือนรอมฎอน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

أَفْضَلُ الصِّيَامِ بَعْدَ رَمَضَانَ شَهْرُ اللهِ المُحَرَّم

ซึ่งมีใจความว่า “การถือศีลอดที่ประเสริฐยิ่งหลังจากเดือนรอมฎอน คือการถือศีลอดเดือนของอัลลอฮฺที่ต้องห้าม(อัลมุฮัรรอม)” (บันทึกโดยอิมามมุสลิม อบูดาวู้ด และติรมีซีย์)

ดังนั้น ผู้ใดมีความสามารถที่จะถือศีลอดในเดือนมุฮัรรอมทุกวัน เกือบทุกวัน หรือบางวัน ก็เป็นการดีในการให้เกียรติเดือนที่ต้องห้ามนี้ หากไม่สามารถถือศีลอดหลายวัน ก็ให้ปฏิบัติความประเสริฐประการต่อไป

2. การถือศีลอดวันที่ 10 มุฮัรรอม ที่เราเรียกกันว่า อาชูรออฺ

ซึ่งเป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า
أَنَا أَحَقُّ بِمُوْسَى مِنْكُمْ فَصَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ

“ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน(โอ้ชาวยิว)” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)

บรรดานักปราชญ์อิสลามชี้แจงว่า ในช่วงแรกการถือศีลอดวันอาชูรออฺ(สิบมุฮัรรอม)เป็นวาญิบ(จำเป็นต้องปฏิบัติ) เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีการใช้ให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นการถือศีลอดฟัรฎูของมุสลิม แต่หลังจากที่มีบทบัญญัติใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นฟัรฎู แล้วท่านนบีก็ไม่ได้บังคับให้ถือศีลอดในวันนี้ แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน เช่น

سُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَةَ

ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม)

ดังนั้น บรรดาอุละมาอฺจึงมีความเห็นตรงกันถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ แต่อุละมาอฺส่วนมากมีความเห็นชอบให้ถือศีลอดวันตาซูอาอฺไปด้วย คือวันที่ 9 ของเดือนมุฮัรรอม (ตาซูอาอฺ) ซึ่งท่านนบี ได้กล่าวว่า

                               لَئِنْ بَقِيْتُ إِلَى قَابِلٍ َلأَصُوْمَنَّ التَّاسِعَ وَالعَاشِر  

“หากฉันมีชีวิตถึงปีหน้า แน่นอน ฉันจะถือศีลอดวันที่เก้าและวันที่สิบ” (บันทึกโดยอิมามอะหมัด)

และอุละมาอฺบางท่านมีความเห็นชอบให้ถือศีลอดวันที่ 11 รวมไปด้วย เพราะมีหะดีษบทหนึ่งบ่งชี้ถึงการถือศีลอดวันก่อนอาชูรออฺและวันหลังอาชูรออฺ แต่เนื่องจากหะดีษนี้มีสายสืบอ่อนมาก(ฎออีฟญิดดัน) จึงไม่ควรนำมาใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ

3. การทำอิบาดะฮฺ ทำความดี และละเว้นความชั่วทุกชนิด

เดือนมุฮัรรอมถือเป็นวาระสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอัลลอฮฺได้ทรงกำชับบรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้อธรรมตัวเองในเดือนที่ต้องห้าม หมายถึง ไม่ให้ละเมิดกรอบสิ่งที่ต้องห้าม และไม่ให้ละเว้นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

สำหรับเดือนมุฮัรรอมมีความประเสริฐบางประการที่บางกลุ่มบางลัทธิได้เชื่อถือ แต่หาได้มีหลักฐานรับรองในความประเสริฐนั้นไม่ เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

•ความเชื่อว่าวันที่ 10 มุฮัรรอมเป็นวันที่ท่านนบีนูหฺได้รับความปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วยเรือลำใหญ่ ที่อัลลอฮฺทรงสอนให้ท่านนบีนูหฺสร้างเพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ศรัทธา ซึ่งหะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่ในระดับที่เชื่อถือมิได้ ดังนั้น ทางความศรัทธาไม่อนุญาตให้เชื่อในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนรองรับ

•ความเชื่อว่าวันที่ 10 มุฮัรรอมนั้นให้ทำขนมหรือแจกขนมชนิดหนึ่งชนิดใด โดยเชื่อว่าการทำขนมเฉพาะให้วันที่สิบมุฮัรรอมนั้นมีความประเสริฐเป็นพิเศษ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้มีความคลาดเคลื่อนและผิดหลักการใน 2 ประเด็น

◦ประเด็นแรก คือ เป็นการกระทำที่ไม่มีหลักฐานรองรับ และการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดถ้าเราเชื่อว่ามีผลบุญ (เช่นเชื่อว่าทำขนมในวันอาชูรออฺมีผลบุญเป็นพิเศษ) ถ้าไม่มีหลักฐานในการกระทำนั้นๆ ก็จะถือว่าเป็นบิดอะฮฺที่ต้องละทิ้ง

◦ประเด็นที่สอง คือ เป็นพฤติกรรมที่ถูกริเริ่มด้วยกลุ่มอันนะวาศิบ คือกลุ่มที่เกลียดชังท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ และอะหฺลุลบัยตฺ(ครอบครัวและลูกหลานของท่านนบี) กลุ่มเหล่านี้ได้แสดงความดีใจในการเข่นฆ่าท่านอัลหะซัยนฺ อิบนุอะลี (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ในวันที่ 10 มุฮัรรอม จึงทำขนมและแจกเพื่อแสดงความยินดีในเหตุการณ์นั้น และกลุ่มนะวาศิบก็จะเป็นกลุ่มตรงข้ามกับกลุ่มชีอะฮฺร่อวาฟิฎ กล่าวคือ กลุ่มชีอะฮฺร่อวาฟิฎจะรักอะหฺลุลบัยตฺอย่างเลยเถิด และกลุ่มนะวาศิบจะเกลียดอะหฺลุลบัยตฺโดยไม่มีเหตุผล และระหว่างสองกลุ่มก็จะมีอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺที่รักใคร่อะหฺลุลบัยตฺตามขอบเขตของอิสลามและด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง

•ความเชื่อของกลุ่มชีอะฮฺร่อวาฟิฎ ว่าต้องไว้ทุกข์ในวันที่ 10 มุฮัรรอม เพื่อแสดงความเสียใจในการเสียชีวิตของอัลหุซัยนฺ อิบนุอะลี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์กลุ่มชีอะฮฺได้พัฒนาพฤติกรรมนี้จนกระทั่งเป็นเทศกาลและเอกลักษณ์ของชีอะฮฺโดยเฉพาะ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆในวันไว้ทุกข์นี้ แต่สิ่งที่น่าอัปยศอย่างยิ่งและเป็นการทำลายหลักการอัลอิสลาม คือการทำร้ายร่างกายตัวเองในวันที่ 10 มุฮัรรอม ตามถนนและสถานที่สาธารณะ ซึ่งกลุ่มชีอะฮฺจะถือว่าเป็นการแสดงพลังของพวกเขา และจะออกมาชุมนุมตามสถานที่สาธารณะต่างๆ และจะมีการตบหน้าตบอก หรือใช้อาวุธต่างๆในการทำร้ายตัวเองจนเลือดไหล เพื่อบรรลุจุดประสงค์ของพวกเขา คือรู้สึกถึงความเจ็บปวดที่ท่านอัลหุซัยนฺ อิบนุอะลี ได้ประสบ พฤติกรรมดังกล่าวกลุ่มชีอะฮฺจะปฏิบัติกันทั่วโลก แม้กระทั่งในประเทศไทย ถึงแม้ว่ามีนักปราชญ์ของกลุ่มเขาได้ประกาศว่าการกระทำดังกล่าวเป็นอุตริกรรมที่ไม่อนุญาตให้กระทำโดยเด็ดขาด แต่ชีอะฮฺโดยทั่วไปยังยืนหยัดในการแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ โดยไม่คำนึงถึงชื่อเสียงของชาวมุสลิม ดังนั้นอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺต้องประกาศความไม่เห็นด้วยกับลัทธิชีอะฮฺ รวมถึงประกาศประณามพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อให้สังคมรับรู้ว่าผู้มีพฤติกรรมนั้นไม่ใช่มุสลิมที่แท้จริง
--------------------------------------------------------------------------------
Islam in Thailand.org

27 November 2011

DIASPORA MELAYU 'KEDAH-SEGENTING KERA'



Suara : Sdr.Mahmud ,penduduk kg.Akan Phanij,Ranong,Thailand. Beliau merupakan generasi ke-3 daripada generasi awal,Panglima Abdullah Kg.Jerai, Kedah.

Rakaman ini milik ruangan radio 'Anjung Minda' Radio Bina,Pej.Majlis Agama Islam Wialayh Yala.FM89.75MHz.

22 November 2011

AGAMA DAN KEBUDAYAAN MELAYU SEMPADAN SELATAN THAI

Ust.Hj.Muhamad Suhaimi Bin Hj.Ismail

Muqaddimah

Dengan Nama Allah yang maha pemurah lagi amat mengasihani.Segala puji-pujian milik Allah tuhan semesta alam.Selawat dan Salam kepada junjungan besar, Muhamad Salallahu alaihi wasallam.


Kejayaan bangsa Melayu-Islam di Asia Tenggara kelihatannya milik masa lalu.Periode ini ditandai oleh dominasi orang Melayu di bidang perdagangan dan mengontrol pelayaran, mempunyai kekuasaan dan pengaruh politik yang amat besar, datang dengan semangat misi keagamaan. Mereka adalah orang-orang yang berbudaya, terpelajar, arsitek tata internasional yang mengontrol lebih dari separuh bola dunia waktu itu. Proses pembentukan budaya dan perumusan sistem budaya dan sistem perumusan sosial berlangsung sejalan dengan proses Islamisasi, sehingga Islam semakin terintegrasi dalam kehidupan masyarakat Melayu.


Sejak hadir sebagai satu kekuatan di Nusantara tepatnya ketika kerajaan-kerajaan Islam terbentuk sekitar abadd ke 11-18. Hal ini terbukti apabila lahirnya ulama Patani yang mengembang pengaruhnya keseluruh alam Melayu Nusantara. Tradisi intelektual,sebagai satu bentuk pertanggung jawaban budaya lahirnya sejalan dengan proses Islamisasi di tanah Melayu Patani.


Kini, budaya Melayu berada di persimpangan jalan.banyak masalah dan tantangan yang harus dihadapi baik internal mahupun eksternal, ditambah dengan adanya tanggapan dan reaksi yang berbeda-beda. Pemiliknya senantiasa merasa kebingungan, bahkan “mungkin” kehilangan arah. Banyak kebencian emosional telah menjadi warisan yang jika tidak diarahkan secara tepat dapat mengakibatkan kehilangan identitinya.Paling ketara ,seni nyanyian, seni tari dan hiburan yang bersifat kemodenan.Panduan dan arahan yang terperinci perlu dibuat oleh pengkaji social dan juga para intelektual baru.


Kebudayaan Melayu



Sejarah kebudayaan Melayu mengikut “Sejarah Melayu” atau “Sulalatus Salatin” bermula dari kawasan Sungai Melayu. Social formation Melayu bermula dari Tribal organization berkembang menjadi chiefdom seterusnya menjadi kingdom. Seluruh kerajaan dan kesultanan Melayu yang terdapat dalam sejarah tersebar ke seluruh wilayah pesisir dan maritime-based. Dua kerajaan Melayu yang besar dalam sejarah Funan dan Srivijaya pada awal-awal Karun Masihi merupakan kerajaan maritime bukannya kerajaan yang agrarian based atau yang land based.

Kerajaan Melayu yang lain seperti Pasai,Aru,Inderagiri,Rokan,Tungkal, Melaka, Aceh,Johor-Riau-Lingga,Pontianak,Brunei,Sambas,Sulu dan yang lain juga merupakan maritime-based kingdom yang hidup dengan kekuatan perdagangan, namun disedari juga terdapatnya kerajaan Melayu yang agrarian-based. Kerajaan dan kesultanan Melayu tersebut yang menghidupkan semangat, jiwa,nyawa kebudayaan Melayu.


Teras kepada seluruh semangat,jiwa dan nyawa itu ialah “adat Melayu”. Adat sebagai konsep lebih awal digunakan di dalam seluruh perbendaharaan kata Melayu,kerana kata budaya baru sahaja digunakan sebagai terjemahan culture. Terjemahan budaya dari culture barangkali muncul selepas wujudnya cultural contact antara Melayu dengan bahasa Inggeris.


Adat ialah satu konsep yang menjelaskan keseluruhan cara hidup Melayu di Alam Melayu. Orang Melayu di mana jua berada akan menyebut fenomena budaya mereka sebagai “…. Ini adat kaum..” Masyarakat Melayu mengaturkan kehidupan mereka dengan adat agar setiap anggota adat hidup beradat, seperti adat alam, hukum adat, adat beraja, adat bernegeri, adat berkampung, adat memerintah, adat berumah tangga, adat bercakap dan sebagainya. Adat adalah fenomena keserumpunan yang mendasari kebudayaan Melayu,muncul di dalam hidup great tradition dan little tradition Melayu, sama ada yang maritime atau pun yang agrarian.


Dari sudut lain adat juga merupakan struktur yang menghubung seluruh kehidupan manusia Melayu, yang menegaskan sifat, diri, keperibadian, identiti atau jati diri manusia, masyarakat dan budaya Melayu. Adat adalah jati diri yang menyatu padukan, menyimpul dan mengikat hubungan seluruh anggota masyarakat. Lantaran itu kedudukan seseorang Melayu bukan ditentukan oleh keturunan (bangsa), kekayaan, kealiman, gaya hidup, ketinggian ilmu pengetahuan, tetapi ditentukan oleh pelaksanaan yang “beradat”, “tahu adat”, dan “cukup ajar”. Satu kehalusan perlakuan, sikap,tindakan,tutur-kata,bersyakhsiah tinggi, bernormal, beretika, berakhlak mulia, seperti yang telah ditetapkan oleh adat Melayu.


Adat sebagai usaha memanusiakan Melayu terpancar di dalam takrif Melayu yang tercatat di dalam naskhah “Adat Raja-Raja Melayu” (Tardjan Hadidjaja,1952:76-77). Adat Raja-Raja Melayu antara lain menyatakan;


a) Melayukan diri(Husnul Khuluki) : iaitu merendahkan diri, tiada mahu membesarkan diri, baik dari segi adab-tartib, bahasa pertuturan,perjalanan dan kedudukan


b) Tidak mamang (Tawadhu'): iaitu lemah lembut tidak berlebih – lebihan, tidak berkurangan.


c) Orang yang majlis (Ummatan wasatan): iaitu pertengahan (sederhana) sama ada perlakuan, perbuatan,perkataan, pakaian,makanan,dan perjalanannya


d) Adab pandai menyimpan diri (warak) : pandai mengawal kata-kata, penglihatan dan pandangan dari perkara yang keji.


Apapun yang dikemukakan ini,ialah elemen keunggulan diri dan perwatakan Melayu. Perwatakan yang budiman adalah citra,pembawaan,gaya Melayu, yang sudah sebati dengan kemelayuan. Budi pekerti, budi bahasa, budiman merupakan teras kemanusiaan,moraliti dan etika Melayu yang berpaksikan ketauhidan atau ketuhanan. Adat dan budi sebagai elemen unggul Melayu ini yang mampu meletakkan kembali darjat, harkat, dan martabat manusia Melayu di tempat tinggi, dunia dan akhirat. Ciri-ciri keunggulan inilah yang menjadikan Melayu itu Melayu

Kebudaayaan Islam

Sebelum kedatangan Islam, budaya Melayu adalah budaya tempatan yang berteraskan kepercayaan tentang Alam dan Hindu - Budha. Telah wujud beberapa kerajaan Melayu seperti kerajaan Melayu Palembang dan Kerajaan Melayu Singapura. Kerajaan Melayu Seri Vijaya dan Langkasuka di Patani. Budaya Melayu Islam mula diasaskan di bumi Patani melalui kedatangan para ulama dari Parsi,dan Rantau Arab,telah mengembangkan Islam dengan jayanya di sini. Namun tidak sama seperti yang berlaku di Melaka,di Patani agama Islam tersebar luas bermula dari masyarakat madani terlebih dahulu sebelum bergerak masuk ke istana untuk golongan bangsawan, jarak masa keislaman oleh rakyat dan raja adalah antara masa kurang lebih 300 tahun. Manakala Melaka Islam diasaskan mula dari istana dan diikuti oleh masyarakat awam. Antara ciri-ciri utama budaya Melayu yang telah disesuaikan denga Islam ialah;


1. Berasaskan konsep “Ilmu”.

Sebelum muncul Islam, budaya Melayu adalah berteraskan sistem kepercayaan tempatan, iaitu dalam bentuk animisme berkait rapat dengan kepercayaan dalam agama hindu – budha. Dalam sistem ini dilihat hubungan dengan mitos alam, yang menyebabkan pemikiran rasional tidak berkembang , bila pemikiran rasional tidak berkembang, para intelektual juga terhambat dan bila Islam datang maka muncullah tradisi baru iaitu budaya intelektual yang berteraskan akidah Islamiah mengambil alih budaya lama. Budaya yang mengiktirafkan golongan intelektual ahli fikir, ilmuan yang kemudian dikenali sebagai “Ulama”


Terdapat dalam surah al-Baqarah ayat 247 Allah (subhanahu wata’ala) berfirman; Maksudnya: “Nabi mereka mengatakan kepada mereka: "Sesungguhnya Allah telah mengangkat Thalut menjadi rajamu". Mereka menjawab: "Bagaimana Thalut memerintah kami, padahal kami lebih berhak mengendalikan pemerintahan daripadanya, sedang dia pun tidak diberi kekayaan yang banyak?" (Nabi mereka) berkata: "Sesungguhnya Allah telah memilihnya menjadi rajamu dan menganugerahinya ilmu yang luas dan tubuh yang perkasa." Allah memberikan pemerintahan kepada siapa yang dikehendaki-Nya. Dan Allah Maha Luas pemberian-Nya lagi Maha Mengetahui”.

Selain ini, supaya hamba Nya (subhanahu wata’ala) tidak menjadi mangsa kepada jin-jin dan syaitan yang dilaknat. Allah (subhanahu wata’ala) berfirman didalam surah al-Ana’am ayat 100; Maksudnya : “Dan mereka (orang-orang musyrik) menjadikan jin itu sekutu bagi Allah, padahal Allah-lah yang menciptakan jin-jin itu, dan mereka membohong (dengan mengatakan): "Bahwasanya Allah mempunyai anak laki-laki dan perempuan", tanpa (berdasar) ilmu pengetahuan. Maha Suci Allah dan Maha Tinggi dari sifat-sifat yang mereka berikan”.

Dalam surah Yusuf ayat 22, Allah berfirman ;Maksudnya: “Dan tatkala dia cukup dewasa, Kami berikan kepadanya hikmah dan ilmu. Demikianlah Kami memberi balasan kepada orang-orang yang berbuat baik”.

2. Berasaskan konsep “Tauhid”

Penyerapan anasir Hindu – Budha telah mempertingkat tanggapan budaya beragama mereka kepada tahap mistik dan simbolik yang amat tinggi dari apa yang dapat difahami oleh shamanisme Melayu yang lebih bersifat pemujaan nenek moyang (poyang), animisme tempat dan kawasan serta animatisme semangat bagi pelbagai benda. Sistem dan kepercayaan daripada benua India meningkat tanggapan dan kefahaman terhadap alam semesta yang lebih luas dengan watak dan kuasa luarbiasa yang lebih agung serta kosmologi yang lebih kompleks.


Asas daripada tauhid kepada Allah (mahasuci dan maha tinggi) sekaligus berjaya melepaskan mereka dari kemelut pemujaan kepada benda, nenek moyang jambelang dan hantu syaitan yang dipercayai mereka dari dahulu kala.


Didalam surah al-Anbiya’ ayat 92, Allah berfirman yang bermaksud “Sesungguhnya (agama tauhid) ini adalah agama kamu semua; agama yang satu dan Aku adalah Tuhanmu, maka sembahlah Aku.”


3. Konsep “kenabian”


Justru, kemasukan Islam ke alam Melayu tidak ubah seperti proses subversive, yang menebang dari akar umbinya kepercayaan bersumberkan alam animism serta Hindu Budha, yang masak mekar dalam minda orang-orang Melayu setiap lapisan masyarakat. Islam tidak hanya menukar tetapi juga menokok tambah pelbagai sistem yang diperlukan oleh semua manusia, sistem yang dibina semula antaranya seperti ; Aqidah,Pergaulan, Jual beli dan Nikah kahwin.


Kedatangan para Nabi dan Rasul yang diutuskan Allah untuk semua kaum berjaya memimpin manusia membersihkan aqidah mereka dari pengaruh dewa dewi Hindu yang berfungsi sebagai kuasa ketuhanan itu sendiri. Demikian juga pelbagai bentuk roh, jin, syaitan,hantu jembalang serta mambang Melayu.


Dalam surah al-Hajj ayat 52 Allah berfirman; Maksudnya : “Dan Kami tidak mengutus sebelum kamu seorang rasul pun dan tidak (pula) seorang nabi, melainkan apabila ia mempunyai sesuatu keinginan, syaitan pun memasukkan godaan-godaan terhadap keinginan itu, Allah menghilangkan apa yang dimasukkan oleh syaitan itu, dan Allah menguatkan ayat-ayat-Nya. Dan Allah Maha Mengetahui lagi Maha Bijaksana”

Dalam konteks ini, Islam telah menukar norma sistem nilai dan spirit orang Melayu bersesuaian dengan ajaran Sunnah Al-Nabawiyah itu, seperti yang terdapat didalam masyarakat Mealyu kini antaranya seperti ;

           1. Sistem khilafah, yang dijelmakan sebagai pemerintahan beraja dalam konteks melayu. Nabi Muhamada (saw) telah menganjurkan sistem politik yang lebih telus adil dan saksama berdasarkan contoh daripadanya dan para Khulafa urrasyidin. Sistem Raja yang sedia ada di Patani mula berubah kepada Raja yang bergelar “Zillullah fil alam” yang membawa makna Raja yang menjaga perintah Allah dimuka bumi

           2. Rasulullah pembawa rahmat kasih sayang dan rendah diri, sikap berpada dengan apa yang ada, “Qanaah”. Melalui konteks ini orang melayu tidak suka bising walaupun dalam keadaan susah dan merana. Budaya Melayu tidak suka meminta pertolongan daripada pihak berkuasa dalam hal rizki dan kehidupan sendiri. Lainlah pula dengan golongan yang lain dalam masyarakat Thai di bahagian-bahagian lain seperti timur laut, utara dan bahagian tengah, jika hasil pertanian mereka tidak dapat dijual atau dijual denganharga yang merugikan mereka akan tunjuk perasaan serta melakukan mogok menuntut supaya pemerintah membayar ganti rugi mereka. Hal seperti ini tidak berlaku di bahagian selatan Thai walaupun hasil pertanian mereka tidak dapat dijual dengan harga yang memuaskan, buah dokong yang pada mulanya bernilai melebihi daripada 100 TB / kg. kini dijual sekadar 15-20 TB. sahaja.

           3. Berbudi Bahasa, Allah berfirman dalam surah Lukman ayat 19; Maksudnya : “Dan sederhanalah kamu dalam berjalan dan lunakkanlah suaramu. Sesungguhnya seburuk-buruk suara ialah suara keledai”.


Dalam konteks ini pepatah melayu berbunyi

“Cakap siang pandang-pandang, cakap malam perlahan-lahan”


Membawa maksud supaya berhati-hati semasa bercakap dengan orang kerana percakapan yang sembarang boleh membawa akibat yang buruk.


Antaranya lagi seperti


“Air yang dingin juga yang dapat memadamkan api”


maksudnya perkataan yang lemah lembut juga yang dapat mendinginkan hati orang yang sedang marah.

-bersambung-