06 May 2011

สรุปภาพรวมสภาผู้แทนราษฎรฉบับไทยๆ หลับเป็นกิจวัตร โดดร่มเป็นอาจิน

ปิดฉากแบบไม่ประทับใจตามเคย สำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดทิ้งทวนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในการพิจารณาสารพัดร่างกฎหมาย เมื่อวันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทั้งที่เป็นการประชุมครั้งสุดท้าย ก่อนการยุบสภาฯ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง แท้-แท้ ปรากฎว่า องค์ประชุม ยังคงล่มซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ต่อเนื่องกันมาถึง ครั้งที่ 7 (แล้วนะ) น่าเสียดายแทนเงินภาษีประชาชนหาเช้ากินค่ำ อย่างเราๆ ที่ต้องจ่ายสารพัดค่านู่นนี่ โดยส่วนหนึ่งก็ถูกหักมาเป็นงบประมาญจ่ายค่าจ้างให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน ล่าสุด เมื่อต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมานี่เอง ก็เพิ่งมีการปรับเงินค่าจ้าง ให้กับ บรรดา ส.ส. เหล่านี้ เบ็ดเสร็จ เงินค่าตอบแทนในตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบเน็ตๆ อยู่ที่ 71,230 บาท ต่อเดือน ไม่รวมเงินประจำตำแหน่งที่มีให้อีกต่างหาก 42,330 บาท นี่เฉพาะเงินเดือน ส.ส. นะ แต่ถ้า เป็นระดับ รัฐมนตรี เงินเดือน 73,240 บาท + เงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท ส่วน รองนายกรัฐมนตรี เงินเดือน 74,420 บาท เงินประจำตำแหน่ง 45,000 บาท และในหน้าที่ผู้นำของประเทศ อย่าง นายกรัฐมนตรี เงินเดือน 75, 590 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ยิ่งตำแหน่งสูง ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบทวีคูณ (นะ) ในวิกิพีเดีย บัญญัติ ความหมายของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ไว้ว่า " เป็นตัวแทนของประชาชน ที่เข้าไปทำหน้าที่ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยปัจจุบัน กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรของไทย มีส.ส.จำนวนทั้งสิ้น 480 คน ส.ส. บางส่วนอาจต้องไปทำหน้าที่รัฐมนตรี กรณีนี้สมาชิกภาพของส.ส.ผู้นั้นก็จะหมดไป ทำให้ตำแหน่งส.ส.ในสภาว่างลง ในกรณีที่เป็น ส.ส. ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม หรือหากเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ก็ให้เลื่อนลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อพรรคขึ้นมาเป็นส.ส.แทน เพื่อให้จำนวนส.ส.ทั้งหมดครบ 480 คน บทบาทหน้าที่ของ ส.ส. นอกจากเป็นผู้แทนของประชาชน ในการประสานความช่วยเหลือ เจื้อจุน ราษฎร ในพื้นที่ของตนเองแล้ว คงหนีไม่เว้นการชี้แจง ตรวจสอบ ร่วมกันพิจารณาวาระต่างๆ เพื่อผลักให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ไม่ได้มีแค่การถกเถียง " ขณะที่ รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย ก็เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง ส.ส. ประเทศไทย มีคุณสมบัติ ครบตามที่ระบุไว้หรือเปล่า ?? ดูกันชัด ๆ หันกลับไปดู นางลิเซีย รอนซุลลี ส.ส.อิตาลี ที่กระเตงลูกน้อย คล้องเชือกที่ไหล่ทำเป็นเปล มาร่วมประชุมสภา ระหว่างการลงมติของรัฐสภาอียู เมื่อเดือนก.ย. 2010 ที่ผ่านมา เป็นภาพสุดน่าประทับใจและฮือฮาไปทั่วโลก กับจิตสำนึกในหน้าที่ของเธอ ในฐานะ เป็น ส.ส. ตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่คุณแม่ ควบคู่ไปด้วย อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ทราบว่า ตัวอย่างเล็กๆ กรณีนี้ จะพอช่วยให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ละอายแก่ใจบ้างหรือเปล่า ? เบิกหน้า ฟ้าใหม่ หลังนายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาไปแล้ว ผ่านการเลือกตั้ง และได้รัฐบาลชุดใหม่มาบริหารราชการแผ่นดิน (ที่อาจจะคง ส.ส.หน้าเดิมๆ ในสภาฯ ) หวังว่า ทุกคนคงทำหน้าที่ของตัวเองให้ครบถ้วนกระบวนความ ตามเงินว่าจ้างของประชาชนที่ไว้ใจมอบคะแนนเสียงมากกว่าที่จะมานั่งหลับ พูดจายั่วโมโหชวนทะเลาะ หรือ เล่นกีฬาโดดร่มกันเป็นว่าเล่น แบบที่แล้วๆมา อย่าให้เพียง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำหน้าที่ควบคุมองค์ประชุม ดำเนินวาระต่างๆ ในอาคารรัฐสภา ทำหน้าที่คุ้มกับ เงินเดือน 75,590 บาท + เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท แต่เพียงผู้เดียว ก็แล้วกัน.... ข่าวจากมติชนออนไลน์

No comments:

Post a Comment

ความเห็นของคุณ
Pendapat Anda